รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านคลองลาว

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

โรงเรียนบ้านคลองลาว ตั้งอยู่ เลขที่ 154 หมู่ 7ตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี 22170

e-mail : banklonglao154 @gmail.com โทรศัพท์ 039-460861 เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ มี นางสุชานันท์ รัตนภาค ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองลาว ปีการศึกษา 2563 มีครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งหมด 22 คน (ข้าราชการครู 18 คน ครูอัตราจ้าง 4 คน) นักเรียน 375 คน (อนุบาล 83 คน ประถมศึกษา 292 คน) ข้อมูล 15 ธันวาคม 2563

              จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพของตนเอง (SAR)ปีการศึกษา 2563 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่นๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเลิศ มีผลงานดังนี้

ผลการประเมินตนเองระดับการศึกษาปฐมวัย

     โรงเรียนมีผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ  

          โรงเรียนกำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย 3 ด้าน ได้แก่

1) ด้านคุณภาพของเด็ก ผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

    โรงเรียนบ้านคลองลาวจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560

โดยยึดหลักการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบมอนเตสซอรี ดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ในการพัฒนาเด็กอย่างเต็มศักยภาพ บูรณาการสอนบ้านวิทยาศาสตร์น้อย หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เน้นคุณธรรมตามหลักวิถีพุทธ โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุกฝ่ายเพื่อช่วยพัฒนาเด็ก ให้บรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด มีความพร้อมในการศึกษาระดับประถมศึกษาต่อไป

2) ด้านกระบวนการบริหารและจัดการ ผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

    ผู้บริหารของโรงเรียนบ้านคลองลาว ดำเนินการบริหารโดยใช้หลักการบริหารแบบวงจรเดรมมิ่ง PDCA ในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี หลักสูตรสถานศึกษา สายงานการบริหารออกเป็น 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายบริหารทั่วไป  ฝ่ายบริหารวิชาการ ฝ่ายบริหารบุคคล และฝ่ายบริหารงบประมาณ มีการร่วมคิด ร่วมดำเนินการทุกขั้นตอน กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์อย่างชัดเจน การดำเนินการในรูปคณะกรรมการ ทีมงาน

มีการแต่งแต้งคณะทำงานอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร การจัดทำหลักสูตรที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น วางแผนอัตรากำลังได้ครูเพียงพอครบชั้นเหมาะสมกับจำนวนเด็ก ผู้บริหารส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จับกลุ่ม PLCและมีการนิเทศกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

3) ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

    ครูจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ เด็กได้เลือกเล่น เรียนรู้ตามความสนใจ ครูมีการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล นำผลพัฒนาการทั้ง 4 ด้านมาประกอบในการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ บูรณาการด้วยสื่อมอนเตสซอรี บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา การดำเนินการโครงการพัฒนาผู้เรียนตามแผนปฏิบัติการประจำปี 

ผลการประเมินตนเองระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

     โรงเรียนมีผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ  

         โรงเรียนกำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน3 ด้าน ได้แก่

1) ด้านคุณภาพของผู้เรียน ผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

    โรงเรียนบ้านคลองลาวส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อให้ครูใช้เป็นกรอบในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่ว่า "การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งสอดรับกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  ที่ได้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา

มีความสุข ดังนั้นโรงเรียนบ้านคลองลาวจึงกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน 2 ด้าน ได้แก่

1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ  2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน  ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้  ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ  สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และ มีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย ผู้เรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน  การสื่อสาร และการคิดคำนวณตามเกณฑ์ที่โรงเรียนบ้านคลองลาวกำหนดคิดเป็นร้อยละ100 ในแต่ละระดับชั้น มีการส่งเสริมด้านการอ่านออกเขียนได้ เน้นให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดจำแนกแยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบ โดยใช้เหตุผลในการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล มีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในรูปแบบ โครงการ โครงงาน ชิ้นงาน ผลผลิต เป็นต้น ผู้เรียนมีความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ จัดให้มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง เช่นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องสมุด เป็นต้น ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบรรลุและมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา และก้าวหน้าในผลการทดสอบระดับชาติ สามารถนำความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการ และเจตคติที่ดีในการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น เพื่อเป้าหมายในการทำงานหรืองานอาชีพ โรงเรียนดำเนินการโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่อาชีพ โครงการเศรษฐกิจพอเพียง ผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา โดยโรงเรียนจัดทำโครงการยุวฑูตความดีเฉลิมพระเกียรติ โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ค่ายยุวชนคนดี ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย รวมทั้งภูมิปัญญาไทย ผู้เรียนยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม แสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข เข้าใจผู้อื่น ไม่มีความขัดแย้งกับผู้อื่น โรงเรียนมีการวางแผนยกระดับในเรื่อความสามารถในการคิดจำแนกแยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบ โดยใช้เหตุผลในการตัดสินใจ

2) ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

    ผู้บริหารโรงเรียนกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และพันธกิจ ไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ชุมชน ท้องถิ่น แผนการศึกษาชาติ นโยบายต้นสังกัดที่สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล มีการปรับปรุงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ PDCAคือใช้วงจรการบริหารงานที่มีคุณภาพ  ได้แก่

Plan : การวงแผน , Do : ปฏิบัติ , Check : ตรวจสอบ และ Act : การดำเนินการให้เหมาะสม จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาโดยมีการจัดประชุมกลุ่มระดมความคิดเห็น จากบุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย  พาคิดพาทำ กำหนดกลยุทธ์ของสถานศึกษาที่ชัดเจนในการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน  มีการดำเนินการวิเคราะห์สภาพของปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศติดตามตรวจสอบ ประเมินผลการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพของปัญหา  ความต้องการที่จะพัฒนา และได้มีการกำหนดนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนา    ให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งหลักสูตรสถานศึกษามีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน ตามความต้องการและสนใจของผู้เรียน พร้อมทั้งมีการบริหารอัตรากำลังครู ระบบดูแลช่วยเหลือ จัดหาทรัพยากรทางการศึกษา จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการพัฒนาตามแผนงานที่ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับนำทางในการบริหารจัดการ มอบหมายงานตามความถนัด ความสนใจ การดำเนินการโครงการและกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ มีการกำกับนิเทศติดตาม ประเมินผล รายงานสรุปผลการดำเนินงานและนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปีการศึกษาถัดไป โรงเรียนจัดทำหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูให้มีความเชี่ยวชาญ โดยการศึกษา อบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จับกลุ่ม PLC จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความปลอดภัย สะอาด ร่มรื่น น่ามอง จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้อย่างเพียงพอ เหมาะสม  โรงเรียนมีการวางแผนปรับปรุงการพัฒนาหลักสูตรเชื่อมโยงวิถีชีวิตจริง การจัดการเรียนการสอนแบบควบรวมหรือกลุ่มที่เรียนร่วมด้วย

3) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

     ครูมีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการจัดกิจกรรมตามแบบ Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระ  จัดการเรียนรู้โดยการนำปรัชญาของหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีการสอนซ่อมเสริม  กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ กิจกรรมชุมนุม  โดยให้นักเรียนเลือกตามความถนัดความสนใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการดำเนินชีวิตครูใช้กระบวนการสะเต็ม (Science Technology Engineering and Mathematics Education :STEM Education) จัดกิจกรรมการเรียนรู้  และมีการนำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนมีแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนในเชิงบวก ครูรักเด็ก ให้เด็กรักครู โดยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูและผู้ปกครองมีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปลี่ยนให้ข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน ครูและเพื่อนครูแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ข้อมูลเด็ก  โดยการทำ  PLC ( Professional Learning Community )  โดยมีแบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมผ่านกระบวนการPLC ครูมีการวัด และประเมินผลที่สอดรับกับเป้าหมายตามหลักสูตร  และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนและผู้ปกครองเพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาต่อยอด โดยโรงเรียนมีการดำเนินงานตามโครงการ ดังนี้ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา  โครงการวัดผลและประเมินผล โครงการห้องสมุดโรงเรียน  โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โครงการการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในห้องเรียน โครงการส่งเสริมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง (BBL) เป็นต้น

 

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

รายงานการประเมินตนเอง  (SAR) ระดับปฐมวัย ปีการศึกษา 2563
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก   ระดับ  ดีเลิศ  
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ  ระดับ  ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  ระดับ ดีเลิศ
รายงานการประเมินตนเอง  (SAR) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน   ระดับ  ดีเลิศ  
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ  ระดับ  ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ระดับ ดีเลิศ
 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

 แนวทางการพัฒนาในปีถัดไป
  1)  พัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่ โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น 
  2)  พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบ โดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยน                  ความ  คิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล 
 3)  พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยง องค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
 4)  พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองและ สังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้างสรรค์                 และมี คุณธรรม 
5)  พัฒนาให้นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ กระบวนการต่าง ๆ 
6)  พัฒนาให้นักเรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึก ตามที่สถานศึกษามีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย         มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย 
7)  พัฒนาให้นักเรียนมีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม แสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ ละช่วงวัย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 
8)  มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา 
9)  พัฒนาครูผู้สอนให้เป็นครูมืออาชีพที่มีคุณภาพ 
10) การใช้แผนจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างจริงจัง
11) มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้และมีการวิจัยอย่างต่อเนื่อง
12) มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาสอดแทรกในการจัดการเรียนรู้และนำผลการเรียนรู้มาพัฒนาผู้เรียน อย่างต่อเนื่อง
13) ผู้บริหารมีการส่งเสริมสนับสนุน การปฏิบัติงานของครูผู้สอน และส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมใน การพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง 
14) ผู้บริหารต้องเร่งรัดติดตามการดำเนินงานที่กำหนดไว้ตามเป้าหมายของมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการประเมินผลและนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการบริหาร อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทุกด้านมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น 
15) วางแผนรวบรวมข้อมูล กำกับ ดูแล นิเทศและติดตามเกี่ยวกับงานวิชาการ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน การประกันคุณภาพ ภายในและมาตรฐานการศึกษา การพัฒนาและการใช้สื่อและเทคโนโลยี พัฒนาและส่งเสริมการให้มีแหล่งเรียนรู้ การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการส่งเสริมชุมชน ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ

 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ชื่อโรงเรียนบ้านคลองลาว เลขที่ 154 หมู่ที่ 7 ตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 โทร 039-460861 โทรสาร 039-460861 e-mail klonglao@hotmail.com website www.bkl.ac.th เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เนื้อที่ 11 ไร่ 50 ตารางวา เขตพื้นที่บริการ หมู่ที่ 7, 8, 9, 10  

ปัจจุบันโรงเรียนบ้านคลองลาว เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อนุบาล 2 และอนุบาล 3) และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์ (Vision)

พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ทันยุค ทันสมัย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ ( Mission)

1.จัดการเรียนการสอนให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

2.การจัดการเรียนการสอนทุกสาระการเรียนรู้โดยบูรณาการ STEM เพื่อให้นักเรียนพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

3. ส่งเสริมคุณธรรมนำความรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4.ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนในการพัฒนาการศึกษา

เป้าประสงค์ (Objective)

1. นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

2.นักเรียนมีทักษะและพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ

3. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4. ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน มีบทบาทในการช่วยกันจัดการศึกษา

การระดมทรัพยากร และดูแลนักเรียน

อัตลักษณ์ สุขนิสัยดีมีมารยาทงาม

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 17 0 4 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

โรงเรียนบ้านคลองลาว จัดโครงสร้างหลักสูตร 2 ระดับชั้น ดังนี้

1. ระดับปฐมวัย ใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 บูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนมอนเตสซอรีและบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

2. ระดับประถมศึกษา ใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านคลองลาว ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านคลองลาวพุทธศักราช 2563 ได้นำหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และกรอบหลักสูตรท้องถิ่นของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 มาใช้เป็นกรอบและทิศทางในการจัดทำหลักสูตร สถานศึกษา และจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักเรียนของโรงเรียนบ้านคลองลาวให้มีคุณภาพด้าน ความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยนำมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มากำหนดผลคาดหวังที่ต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ชัดเจนตลอดแนวโดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นและสถานศึกษาร่วมกัน พัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา ทำให้การจัดทำหลักสูตรในระดับสถานศึกษามีคุณภาพและมีความเป็นเอกภาพยิ่งขึ้น ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน อีก ทั้งยังมีความชัดเจนในเรื่องการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ดังนั้นในการพัฒนาหลักสูตรในระดับ สถานศึกษาได้สะท้อนคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งมีกรอบทิศทางในการจัดการศึกษาเพิ่มเติมตามความต้องการของท้องถิ่น ครอบคลุมสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ประกอบด้วย 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย, คณิตศาสตร์ ,วิทยาศาสตร์, สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, สุขศึกษาและพลศึกษา, ศิลปะ ,การงานอาชีพ, และภาษาต่างประเทศ และประวัติศาสตร์ รายวิชาเพิ่มเติม คือ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ,การป้องกันการทุจริต เรียนทุกชั้น รายวิชาเพิ่มเติมเฉพาะ ป.4-6 คือวิชาคอมพิวเตอร์ การจัดการเรียนการสอน หน้าที่พลเมือง ภูมิศาสตร์ บูรณาการกับการเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐาน เป็นหน่วยการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ข้อมูลสิ่งก่อสร้าง โรงเรียนบ้านคลองลาว

1.อาคารเรียน  สปช.105/29   ปีที่สร้าง 2539

2.อาคารเรียน สปช.105/29 ปีที่สร้าง 2551

3.อาคารเรียน สปช.105/29 ปีที่สร้าง 2557

4.อาคารอเนกประสงค์/โรงอาหาร/โรงฝึกงาน 312 ปีที่สร้าง 2522

5.บ้านพักครู กรมสามัญ ปีที่สร้าง2515

6.บ้านพักครู กรมสามัญ ปีที่สร้าง2519

7.ส้วม 401 ปีที่สร้าง 2523

8.ส้วม สปช.602/26 ปีที่สร้าง 2539

9.ส้วมอาคาร สพฐ. 4 (ส้วม 4 ที่นั่ง) ปีที่สร้าง 2559

10.ส้วมอื่นๆ ปีที่สร้าง 2558

11.หอสมุด ปีที่สร้าง 2554


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1UVLJbrRXC6QkXU9hPDPvEtK-7P_GjnmB/view?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

ห้องสมุด ห้องสหกรณ์ แปลงเกษตร สนามฟุตบอล โรงอาหาร ห้องคอมพิวเตอร์ วัด
หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1Btu37ANb8XN3pkHG8GoUk6Dr-tH4JTRD/view?usp=sharing
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา  

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

วิธีการพัฒนา

โรงเรียนบ้านคลองลาว มีการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อมอนเตสซอรี ที่แบ่งการจัดการเรียนรู้เป็น 4 หมวดได้แก่ 1. หมวดชีวิตประจำวัน 2. หมวดประสาทรับรู้ 3. หมวดภาษา 4. หมวดคณิตศาสตร์มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปริมาณเหมาะสมตามวัย มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาคเรียนละ 2 ครั้ง มีกิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธงก่อนเข้าเรียนทุกวัน จัดหา อุปกรณ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย สะดวก พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดที่เป็นอันตราย มีกฎ กติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด มีการจัดกิจกรรมสุขภาพดีมีสุขเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังใหม่ ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสามารถ สนับสนุนให้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในโรงเรียน มีการจัดกิจกรรมเรียนรู้สู่โลกกว้าง เพื่อส่งเสริมให้เด็ก

มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะ กับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองและมีมารยาทในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาด ทั้งภายในและนอกห้องเรียน โดยการจัดกิจกรรมแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันเพื่อนในห้องเรียน ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ได้ โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ ของตน และของส่วนรวม ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักประเพณีวัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย รู้จักทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ครู โดยจัดกิจกรรมวันสำคัญทางชาติ กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันแม่ วันไหว้ครู วันเข้าพรรษา ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยครูได้ดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และมีการจัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น อ่าน ให้เด็กได้แสดงออกตามศักยภาพของตนโรงเรียนได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย โครงการค่ายวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ มีการจัดกิจกรรมหนูรักภาษาไทย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษา มีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้เด็กอ่านนิทานและเล่านิทานที่ตนเองอ่านให้ครูและเพื่อนฟังมีการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่างๆมีการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะโดยการวาดภาพระบายสี การ ฉีก ตัด ปะ ส่งเสริมให้เด็กได้เสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัย จัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก เรียนรู้นอกสถานที่ แก้ปัญหาในสถานการณ์จริง

ผลการดำเนินงาน  

- เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ ร้อยละ 100

- เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ ร้อยละ 100 สังเกตได้จากการกล้าพูด กล้าแสดงออก รู้จักเข้าแถว รอคิว ในการรับประทานอาหาร รู้จักหน้าที่รับผิดชอบ ตามที่ได้รับมอบหมายทั้งในและนอกห้องเรียน ตามเขตพื้นที่รับผิดชอบ ร่าเริง แจ่มใส

- เด็กมีพัฒนาด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ได้ร้อยละ 100 สังเกตได้จากการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน รู้จักเก็บสิ่งของเครื่องใช้ ทั้งของส่วนตัวและส่วนรวม รู้จักยิ้ม ทักทาย อยู่เป็นนิจ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

- เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ คิดเป็นร้อยละ 86.04

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1YGAVDW3-KKY3en9cx3h8dBxUb2zw4fw8/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา  

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

วิธีการพัฒนา

การจัดการศึกษาปฐมวัยของผู้บริหารโรงเรียนบ้านคลองลาวได้มีการ นำพาในการคิดและทำในทุกขั้นตอน ตามระบบวงจรคุณภาพ PDCA โดย กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และ พันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจนมีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัยได้แก่ การจัดการเรียนการสอนตามแนวมอนเทสซอริ มีการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น พิจารณาจากวัยของเด็ก ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ สำหรับด้านระบบกลไก การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัยโดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา โดยให้มีการประสานระดมงบประมาณ สร้างความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนเต็มตามศักยภาพแต่ละบุคคล


ผลการดำเนินงาน  

            โรงเรียนบ้านคลองลาว ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดการเรียนรู้ เช่นจัดให้มีอุปกรณ์ ของเล่น ของใช้เครื่องนอนเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้พอเพียงกับเด็ก โดยจัดให้เหมาะสม สะอาดปลอดภัยให้มีมุมหนังสือที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็ก ให้เพียงพอและเหมาะสมกับวัย จัดให้มีเครื่องเล่นสนาม เครื่องเล่นน้ำ เล่นทรายที่เหมาะสมปลอดภัยจัดให้มีพื้นที่สำหรับแปรงฟันล้างมือ ทำความสะอาดร่างกาย ห้องน้าห้องส้วม พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็ก มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมเน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง พัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยทุกคนล้วนมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยมีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครองมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่มมีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชนมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนดมีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมพร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1qp8mBz5NblUG1Woy3lnka3nEM3fKQ_DE?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา  

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

 วิธีการพัฒนา

            จัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจสังคม และสติปัญญา มีความรู้ คุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข ภายใต้คำว่าเก่ง ดี มีสุข ประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆด้านให้เหมาะสมกับวัย ดังนี้ ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบด้านสังคมเด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ด้านสติปัญญา มีความคิดร่วมยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคีการแบ่งปัน และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกันซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน

ผลการดำเนินงาน  

           ห้องเรียนมีบรรยากาศ แจ่มใสกว้างขวางพอเหมาะมีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใสและมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถาม การสำรวจและการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็กโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปีมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมพร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1A_h8X0ngie-WgAzkgHX5NK8xih23AFxH/view?usp=sharinghttps://drive.google.com/file/d/17i-uFyKQZkFoTk8LdY01UgJppTgELB9Y/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

มีการจัดทำหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ.2560 บูรณาการด้วยการเรียนการสอนตามแนวมอนเตสซอรี่ในบริบทของ สพฐ.และดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามแนวมอนเตสซอรี่ ร่วมกับบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ระดับดีมากกว่า ร้อยละ 80 มีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี

มาตรฐานที่2กระบวนการบริหารและการจัดการ

-มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

- การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

- ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ

 

มาตรฐานที่3การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

- เด็กมีพัฒนาการการอย่างสมดุล

- เด็กเรียนรู้ จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม

- มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้

- ประเมินผลเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1vC7qGmSkgoNm7ms7amswZlD3-Yg3ULT9?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนบ้านคลองลาวส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อให้ครูใช้เป็นกรอบในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่ว่า "การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งสอดรับกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ได้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข ดังนั้นโรงเรียนบ้านคลองลาวจึงกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และ มีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

ผลการดำเนินงาน  

ผู้เรียนมีทักษะในการอ่านการเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณตามเกณฑ์ที่โรงเรียนบ้านคลองลาวกำหนดคิดเป็นร้อยละ 100 ในแต่ละระดับชั้น มีการส่งเสริมด้านการอ่านออกเขียนได้ เน้นให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดจำแนกแยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบ โดยใช้เหตุผลในการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล มีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในรูปแบบ โครงการ โครงงาน ชิ้นงาน ผลผลิต เป็นต้น ผู้เรียนมีความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ จัดให้มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง เช่นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องสมุด เป็นต้น ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบรรลุและมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา และก้าวหน้าในผลการทดสอบระดับชาติ สามารถนำความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการ และเจตคติที่ดีในการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น เพื่อเป้าหมายในการทำงานหรืองานอาชีพ โรงเรียนดำเนินการโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่อาชีพ โครงการเศรษฐกิจพอเพียง ผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา โดยโรงเรียนจัดทำโครงการยุวฑูตความดีเฉลิมพระเกียรติ โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ค่ายยุวชนคนดี ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย รวมทั้งภูมิปัญญาไทย ผู้เรียนยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม แสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข เข้าใจผู้อื่น ไม่มีความขัดแย้งกับผู้อื่น โรงเรียนมีการวางแผนยกระดับในเรื่อความสามารถในการคิดจำแนกแยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบ โดยใช้เหตุผลในการตัดสินใจ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1BJDQzqoZsFEH7dHMJeFWXwH-tSA1p-E6?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์แล้ว ครูที่รับผิดชอบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนจะดำเนินการตามขั้นตอน คือ

1. ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน นิยามตัวชี้วัด พฤติกรรมบ่งชี้ และเกณฑ์การให้คะแนน เพื่อพิจารณาว่าตัวชี้วัดนั้นครอบคลุมและสอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติของวิชา งาน กิจกรรมที่รับผิดชอบหรือไม่

2. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์

3. ศึกษาแนวปฏิบัติในการพัฒนาผู้เรียนว่าจะดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้วยวิธีใด

4. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียนก่อนการพัฒนา

5. สร้างหรือเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม/สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่เลือกดำเนินการตามขั้นตอนที่ 3

6. ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางที่กำหนดไว้และประเมินเป็นระยะๆผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ให้ปรับปรุงพัฒนา แล้วประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

7. รายงานผลการพัฒนา

ผลการดำเนินงาน  ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีคุณลักษณะที่ดีสำหรับการดำรงชีวิตในสังคม  สามารถอยูาร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะพลเมืองไทย
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1BJDQzqoZsFEH7dHMJeFWXwH-tSA1p-E6?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และพันธกิจ ไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ชุมชน ท้องถิ่น แผนการศึกษาชาติ นโยบายต้นสังกัดที่สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล มีการปรับปรุงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ PDCAคือใช้วงจรการบริหารงานที่มีคุณภาพ ได้แก่Plan : การวงแผน , Do : ปฏิบัติ , Check : ตรวจสอบ และ Act : การดำเนินการให้เหมาะสม จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาโดยมีการจัดประชุมกลุ่มระดมความคิดเห็น จากบุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายกำหนดกลยุทธ์ของสถานศึกษาที่ชัดเจนในการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน มีการดำเนินการวิเคราะห์สภาพของปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศติดตามตรวจสอบ ประเมินผลการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพของปัญหาความต้องการที่จะพัฒนาและได้มีการกำหนดนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนา ให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา พร้อมทั้งมีการบริหารอัตรากำลังครู ระบบดูแลช่วยเหลือ จัดหาทรัพยากรทางการศึกษา จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการพัฒนาตามแผนงานที่ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับนำทางในการบริหารจัดการสามารถจัดทำโครงการและกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการกำกับนิเทศติดตาม ประเมินผล รายงานสรุปผลการดำเนินงานและนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปีการศึกษาถัดไป โรงเรียนจัดทำหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูให้มีความเชี่ยวชาญ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความปลอดภัย สะอาด ร่มรื่น น่ามอง จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้อย่างเพียงพอ เหมาะสมโรงเรียนมีการวางแผนปรับปรุงการพัฒนาหลักสูตรเชื่อมโยงวิถีชีวิตจริง การจัดการเรียนการสอนแบบควบรวมหรือกลุ่มที่เรียนร่วมด้วย

ผลการดำเนินงาน  

1 สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของชุมชน ท้องถิ่นและสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ

2 แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายมีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วนทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนใฝ่เรียนรู้

3 ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษามีส่วนร่วมในการร่วมว่างแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา

4 สถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสม เป็นระบบและต่อเนื่องเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

5 สถานศึกษามีสภาพแวดล้อมทางกายภาพทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความปลอดภัย สะอาด ร่มรื่น น่ามอง

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1qp8mBz5NblUG1Woy3lnka3nEM3fKQ_DE?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา  

ครูมีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการจัดกิจกรรมตามแบบ Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระ จัดการเรียนรู้โดยการนำปรัชญาของหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีการสอนซ่อมเสริม กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ กิจกรรมชุมนุมโดยให้นักเรียนเลือกตามความถนัดความสนใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการดำเนินชีวิตครูใช้กระบวนการสะเต็ม (Science Technology Engineering and Mathematics Education :STEM Education) จัดกิจกรรมการเรียนรู้และมีการนำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนมีแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนในเชิงบวก ครูรักเด็ก ให้เด็กรักครู โดยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูและผู้ปกครองมีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปลี่ยนให้ข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนครูและเพื่อนครูแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ข้อมูลเด็กโดยการทำ PLC ( Professional Learning Community ) โดยมีแบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมผ่านกระบวนการPLC ครูมีการวัด และประเมินผลที่สอดรับกับเป้าหมายตามหลักสูตรและให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนและผู้ปกครองเพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาต่อยอด โดยโรงเรียนมีการดำเนินงานตามโครงการ ดังนี้ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาโครงการวัดผลและประเมินผลโครงการห้องสมุดโรงเรียน โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโครงการการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในห้องเรียนโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง (BBL) เป็นต้น

ผลการดำเนินงาน  

จากการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานอยู่ในระดับ ดีเลิศ

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1y4oFNHVsQgYJSz9UqNZkzEmukYqcJwUH?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

 

โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โรงเรียนได้ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และโรงเรียนได้มีการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็งมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

ครูมีความตั้งใจมุ่งมั่นในการพัฒนาการสอนโดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการคิด
ได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
และมีผลการวิจัยในชั้นเรียนของครูทุกคน

สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และมีความปลอดภัย มีผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับดี มีผลการทดสอบระดับชาติของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าระดับประเทศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชนโดยรอบ ผู้เรียนมีวินัย เคารพกฎกติกา มีมารยาททางสังคม


 

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชนโดยรอบ ผู้เรียนมีวินัย เคารพกฎกติกา มีมารยาททางสังคมที่ดี

สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ข้อมูลฐาน 3 ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติจริง ผู้เรียนมีส่วนร่วม เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการเรียนซ่อมเสริมเป็นรายบุคคลให้เต็มตามศักยภาพ มีการใช้เทคโนโลยีทุกชั้น การใช้สื่อการเรียนการสอน มีการประเมินครบทุกด้านตามคุณภาพของผู้เรียน นักเรียนปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ หลีกเลี่ยงยาเสพติด อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ช่วยทำความสะอาดบริเวณ โรงเรียนและชุมชน เป็นผู้ที่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

มีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โรงเรียนได้ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา

ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนมีความตั้งใจ มุ่งมั่น มีจิตวิญญาณความเป็นครูและมีคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาที่มีความตั้งใจและมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และมีความปลอดภัย

มาตรฐานที่ 3 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

จัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ให้นักเรียนเรียนรู้โดยการคิด ได้ปฏิบัติจริง ด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ครูพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีความตั้งใจ มุ่งมั่น ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มเวลาและความสามารถ นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/drive/folders/1vC7qGmSkgoNm7ms7amswZlD3-Yg3ULT9?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/drive/folders/1vC7qGmSkgoNm7ms7amswZlD3-Yg3ULT9?usp=sharing