รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดท่าแคลง

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

โรงเรียนวัดท่าแคลง(ท่าแคลงวิทยาคาร) ตั้งอยู่ ๘๔ หมู่ที่ ๗ ตำบล สนามไชย อำเภอ นายายอาม จังหวัด จันทบุรี ๒๒๑๗๐ อีเมล watthaklangschool@gmail.comเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ มี นางสาวเตือนใจ สุวโจ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน วุฒิการศึกษาปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต (กศ..) สาขาบริหารการศึกษา หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๖-๘๔๔๒๐๘๗ ปัจจุบันมีจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งหมด ๙ คน แยกเป็นข้าราชการครู ๕ คน ครูอัตราจ้าง ๑ คน ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ ๑ คน นักการภารโรง ๑ คน เจ้าหน้าที่ธุรการ ๑ คน จำนวนนักเรียนทั้งหมด ๙๔ คน แยกเป็นนักเรียนปฐมวัย ๒๗ คน นักเรียน ชั้นประถมศึกษา ๖๗ คน (ข้อมูล ณ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๓)

จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพของตนเอง (SAR) ปีการศึกษา 2563 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่น ๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเลิศ มีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้

ผลการประเมินตนเองระดับการศึกษาปฐมวัย  

โรงเรียนมีผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพ  ดีเลิศ

โรงเรียนกำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยจำนวน 3 ด้าน ได้แก่

1) ด้านคุณภาพของเด็ก โรงเรียนวัดท่าแคลง(ท่าแคลงวิทยาคาร) มุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง ตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยโรงเรียนวัดท่าแคลง(ท่าแคลงวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2563 ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2560 - 2563 และแผนปฏิบัติการประจําปี พัฒนาเด็กอย่างเต็มศักยภาพ มีความรัก - เมตตา ชื่อสัตย์ กตัญญู มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย และสํานึกความเป็นไทย โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก บรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากําหนด มีความพร้อมในการศึกษาระดับประถมศึกษาต่อไป

2) ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนวัดท่าแคลง(ท่าแคลงวิทยาคาร) ดําเนินการบริหารและจัดการสถานศึกษาที่ครอบคลุมด้านวิชาการ ด้านครูและบุคลากร ด้านข้อมูลสารสนเทศ ด้านสภาพแวดล้อม สื่อเพื่อการเรียนรู้ และด้านระบบประกันคุณภาพภายใน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีการกํากับ ติดตาม การดําเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา มีการกําหนดวิสัยทัศน์และพันกิจอย่างชัดเจน มีการจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดําเนินการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความความเชี่ยวชาญ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน

3) ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โรงเรียนวัดท่าแคลง(ท่าแคลงวิทยาคาร) ได้ส่งเสริมครูให้จัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ ครูรู้จักเด็กเป็นรายบุคคลและสร้างโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและลงมือกระทําผ่านประสาทสัมผัส จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย มีการติดตามและประเมินผลพัฒนาการเด็กอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมวินัย คุณธรรม จนเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน

ผลการประเมินตนเองระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โรงเรียนมีผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพ  ดีเลิศ

โรงเรียนกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน 3 ด้าน ได้แก่

1) ด้านคุณภาพของผู้เรียน ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพภาพทั่วถึง มีความสามารถด้านวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงาม มีสุนทรียภาพด้านดนตรี ศิลปะและกีฬา โดยมีผลงานที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ภาคภูมิใจและเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน

2) ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ สถานศึกษามีการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา ดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน มีผลงานที่ประสบผลสำเร็จ

3) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษาได้พัฒนาครูผู้สอนให้มีประสิทธิภาพในกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนโดยการพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตร ทักษะการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิด การปฏิบัติจริง การใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ การประเมินตรวจสอบอย่างเป็นระบบ การจัดอบรมผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรม จนเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง ชุมชน

ประเด็นภาพความสำเร็จด้านคุณภาพผู้เรียนสถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ข้อมูลฐาน 3 ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ จัดแหล่งเรียนรู้ภายในให้เหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี มีความกล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เน้นทักษะการทำงานร่วมกัน ทำให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้นจากการประเมินนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนในระดับดีขึ้นไป จำนวน 48 คน คิดเป็น ร้อยละ 71.64 นักเรียนมีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล มีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ จากการเรียนรู้โดย โครงการ/ กิจกรรมพัฒนาการอ่านเขียนภาษาไทย นักเรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย ผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านคิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดีขึ้นไป67คน คิดเป็นร้อยละ 100 กำหนดมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนตามที่ว่า"การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการเพื่อให้บรรลุตามกระบวนการบริหารและการจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ในโรงเรียนวัดท่าแคลง(ท่าแคลงวิทยาคาร) การดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหาผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาโดยใช้ข้อมูลฐานในการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจนในดำเนินการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมายเชื่อมโยงกับชีวิตจริงจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษาดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพตามความต้องการของครูและสถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย และมีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนโดยประเมินภาพความสำเร็จดังนี้ โรงเรียนมีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่โรงเรียนกำหนดชัดเจนสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่นวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาตินโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัดรวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมมีระบบการบริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยนำแผนไปปฏิบัติติดตามตรวจสอบประเมินผลและปรับปรุง พัฒนางานอย่างต่อเนื่องมีการบริหารอัตรากำลังทรัพยากรทางการศึกษาและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีการนิเทศภายในนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนในการวางแผนปรับปรุงพัฒนาและร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษามีการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านเชื่อมโยงวิถีชีวิตจริงและครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายรวมถึงการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มที่เรียนแบบควบรวมและกลุ่มเรียนร่วมด้วย มีการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรตรงตามความต้องการและจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียนจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีคุณภาพมีความปลอดภัยจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนจัดหาพัฒนาและบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม

ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรม อย่างหลากหลาย มุ่งส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning)ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งปรับโครงสร้างรายวิชา สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่างๆ ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ 1 เรื่อง โดยกำหนดประเด็นภาพความสำเร็จด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้ ครูจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงให้นักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ ได้แสดงความคิดเห็น ได้แสดงออก เป็นผู้สามารถสรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน ทำให้เด็กรักการเรียนรู้ และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ครูร่วมกันออกแบบการวัดผลประเมินผลเพื่อตรวจสอบ และประเมินผู้เรียนอย่างมีขั้นตอน ใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม พร้อมทั้งนำผลไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์(PLC)เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและนำไปปรับปรุง /พัฒนาการจัดการเรียนรู้

 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

ระดับปฐมวัย

๑. ด้านคุณภาพของเด็ก 

      ๑) ระดับปฐมวัย ได้รับรางวัลเกียรติบัตร เป็นโรงเรียนคุณภาพมาตรฐานกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับปฐมวัย "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปีการศึกษา ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔

      ๒) ระดับปฐมวัย ได้รับรางวัล การแข่งขันการสร้างภาพด้วยการ ฉีก ตัด ปะภาพ การประกวดวาดภาพระบายสี และการแข่งขันปั้นดินน้ำมัน ในงานวันวิชาการเนื่องในวันสำคัญต่าง ๆ ของสถานศึกษา เช่น วันภาษาไทย วันแม่แห่งชาติ เป็นต้น

๒. ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ
      ๑) สถานศึกษาได้รับรางวัลเกียรติบัตรจากสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ที่ให้การสนับสนุนการจัดการอบรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่ยุวเกษตรกรในโรงเรียน โดยรอบพื้นที่ทุ่งสนสนามไชย สาธารณประโยชน์ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔
      ๒) สถานศึกษาได้รับรางวัลเกียรติบัตรจากการรับรองมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับทอง
      ๓) ผู้บริหารได้บันทึกข้อความตกลงความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา สืบสาน รักษา ต่อยอด เกษตรพอเพียงสู่ท้องถิ่น ระหว่าง โรงเรียนบ้านคลองลาว และ โรงเรียนวัดท่าแคลง(ท่าแคลงวิทยาคาร)
      ๔) สถานศึกษามีอาคารเรียน อาคารประกอบการเรียนที่แข็งแรง มั่นคง ปลอดภัย ห้องเรียนสะอาด มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เช่น สัญญาณอินเทอร์เน็ต เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ เป็นต้น
      ๕) สถานศึกษามีห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นแหล่งเรียนรู้ในการให้บริการผู้เรียน มีระบบสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
      ๖) สถานศึกษามีสนามกีฬากลางแจ้ง ในร่ม สนามเด็กเล่น เพื่อใช้สำหรับจัดกิจกรรมการเรียน การสอน และให้ผู้เรียนได้ออกกำลังกาย
      ๗) สถานศึกษามีสิ่งแวดล้อมที่ร่มรื่น มีแปลงเกษตรพอเพียง โรงเรือนเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ บ่อปลาดุก โรงเพาะเห็ด เพื่อส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวันนักเรียนและให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติและเป็นแหล่งเรียนรู้
๓. ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
      ๑) ครูได้รับการนิเทศการสอนอย่างสม่ำเสมอ
      ๒) ครูผู้สอนได้รับรางวัลครูดีเด่น เนื่องในวันครู ประจำปี ๒๕๖๓
      ๓) ครูผู้สอนได้รับเกียรติบัตรการอบรมพัฒนาตนเองจากหน่วยงานต่าง ๆ

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๑. ด้านคุณภาพของผู้เรียน ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพภาพทั่วถึง มีความสามารถด้านวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงาม มีสุนทรียภาพด้านดนตรี ศิลปะและกีฬา โดยมีผลงานที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ภาคภูมิใจและเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน ดังนี้

     ๑) ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน RT ชั้นประถมศึกษปีที่ ๑ มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าระดับประเทศ

     ๒) สถานศึกษาได้รับรางวัลเกียรติบัตร เป็นโรงเรียนคุณภาพมาตรฐานกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับปฐมวัย "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ๒๕๖๔

     ๓) นักเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ประเภทกีฬา ชักกะเย่อทีม ๘ คน รุ่นอายุไม่เกิน ๑๒ ปี หญิง จากการแข่งขันมหกรรมกีฬานักเรียน จังหวัดจันทบุรี ประจำปี ๒๕๖๔

๒. ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการสถานศึกษามีการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา ดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน มีผลงานที่ประสบผลสำเร็จ ดังนี้

     ๑) สถานศึกษาได้รับรางวัลเกียรติบัตรจากสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ที่ให้การสนับสนุนการจัดการอบรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่ยุวเกษตรกรในโรงเรียนโดยรอบพื้นที่ทุ่งสนสนามไชยสาธารณประโยชน์ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔

     ๒) สถานศึกษาได้รับรางวัลเกียรติบัตรจากการรับรองมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับทอง

     ๓) ผู้บริหารได้บันทึกข้อความตกลงความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา สืบสาน รักษา ต่อยอด เกษตรพอเพียงสู่ท้องถิ่น ระหว่าง โรงเรียนบ้านคลองลาว และ โรงเรียนวัดท่าแคลง(ท่าแคลงวิทยาคาร)

     ๔) สถานศึกษามีอาคารเรียน อาคารประกอบการเรียน ที่แข็งแรง มั่นคง ปลอดภัย ห้องเรียนสะอาด มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เช่น สัญญาณอินเทอร์เน็ต เครื่องฉาย โปรเจคเตอร์ เป็นต้น

     ๕) สถานศึกษามีห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นแหล่งเรียนรู้ในการให้บริการผู้เรียน มีระบบสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

     ๖) สถานศึกษามีสนามกีฬากลางแจ้ง ในร่ม สนามเด็กเล่น เพื่อใช้สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และให้ผู้เรียนได้ออกกำลังกาย

     ๗) สถานศึกษามีสิ่งแวดล้อมที่ร่มรื่น มีแปลงเกษตรพอเพียง โรงเรือนเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ บ่อปลาดุก โรงเพาะเห็ด เพื่อส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวันนักเรียนและให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติและเป็นแหล่งเรียนรู้

๓. ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษาได้พัฒนาครูผู้สอนให้มีประสิทธิภาพในกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนโดยการพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตร ทักษะการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิด การปฏิบัติจริง การใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ การประเมินตรวจสอบอย่างเป็นระบบ การจัดอบรมผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรม จนเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง ชุมชน ดังนี้

     ๑) ครูผู้สอนได้รับการอบรมพัฒนาตนเองอยู่เสมอและต่อเนื่อง

     ๒) มีครูผู้สอนได้รับรางวัลครูดีเด่น เนื่องในวันครู ประจำปี ๒๕๖๔

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

ระดับปฐมวัย

๑. แผนปฏิบัติงานที่ ๑ รับการประเมินคุณภาพภายนอก สมศ. เพื่อพัฒนามาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านคุณภาพของเด็ก ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ และด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญให้มีคุณภาพ

๒. แผนปฏิบัติงานที่ ๒ พัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ให้ตอบสนองความต้องการของเด็กสังคม ชุมชน และวัฒนธรรมไทย เพื่อให้เด็กมีทักษะชีวิต ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย และมีความสุข พัฒนาเด็กโดยองค์รวม เน้นเด็กเป็นสําคัญ ผ่านการเล่นและกิจกรรมที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัย โดยคำนึงถึงความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ 

๓. แผนปฏิบัติงานที่ ๓ พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ มีประสิทธิภาพในการสอน มีระบบนิเทศการสอนให้คำแนะนำช่วยเหลือ เพื่อส่งผลต่อคุณภาพของเด็ก

๔. แผนปฏิบัติงานที่ ๔ จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ เพื่อส่งเสริมศักยภาพเด็กปฐมวัยให้ตรงตามความต้องการของเด็ก ผู้ปกครองและชุมชน

๕. แผนปฏิบัติงานที่ ๕ ปรับปรุงภูมิทัศน์ของโรงเรียน ปรับปรุงห้องเรียน ระบบไฟฟ้า และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๑. แผนปฏิบัติงานที่ ๑ รับการประเมินคุณภาพภายนอก สมศ. เพื่อพัฒนามาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านคุณภาพของผู้เรียน ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ และด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้มีคุณภาพ

๒. แผนปฏิบัติงานที่ ๒ พัฒนาครูผู้สอนให้มีประสิทธิภาพในการสอน มีระบบนิเทศการสอนให้คำแนะนำและช่วยเหลือเพื่อส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน

๓. แผนปฏิบัติงานที่ ๓ ส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของผู้เรียน

๔. แผนปฏิบัติงานที่ ๔ จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นการอ่าน การเขียนในรายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสารได้ดีขึ้น

๕. แผนปฏิบัติงานที่ ๕ ปรุงปรุงห้องเรียน ห้องปฏิบัติการสอนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

โรงเรียนวัดท่าแคลง(ท่าแคลงวิทยาคาร) รหัสสถานศึกษา ๑๐๒๒๐๖๐๑๙๖ ตั้งอยู่ ๘๔ หมู่ที่ ๗ตำบล สนามไชย อำเภอ นายายอาม จังหวัด จันทบุรี ๒๒๑๗๐สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขตอีเมล watthaklangschool@gmail.com เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ เขตพื้นที่บริการ หมู่ 2 หมู่ 6 และ หมู่ 7 ตำบลสนามไชยอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี

ข้อมูลสภาพชุมชน เศรษฐกิจ และสังคมของสถานศึกษา

๑. สภาพชุมชนรอบโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนชนบท ล้อมรอบด้วยทะเล ธรรมชาติที่อยู่อาศัยและสถานที่ราชการ บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ วัด เช่น วัดท่าแคลง สถานศึกษา เช่น โรงเรียนมัธยมท่าแคลงศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อาชีพหลักของชุมชน คือประมง รับจ้าง ค้าขาย เลี้ยงกุ้ง ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักทั่วไป

๒. การศึกษา ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา

ร้อยละ 40.00 ประกอบอาชีพประมง

ร้อยละ 40.00 ประกอบอาชีพรับจ้าง

ร้อยละ 20.00 ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้ง

ร้อยละ 100.00 นับถือศาสนาพุทธ

ฐานะทางเศรษฐกิจ รายได้โดยเฉลี่ยต่อปี 30,000 – 50,000 บาท

 

๓. โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน

โรงเรียนวัดท่าแคลง (ท่าแคลงวิทยาคาร) มีทำเลที่ตั้ง และสภาพแวดล้อมเหมาะสมที่จะเป็นสถานศึกษาบริเวณโรงเรียนมีบรรยากาศร่มรื่น ปราศจากมลพิษ มีรั้วรอบขอบชิด จึงอบอุ่นปลอดภัยสำหรับการเรียนรู้และการทำงาน การคมนาคมสะดวก อยู่ใกล้สถานที่ราชการและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ที่มีอยู่หลากหลายภายในจังหวัดจันทบุรีครูผู้สอน ร้อยละ 100จบการศึกษาระดับปริญญาตรีผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นไว้วางใจ และให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี

ข้อจำกัดของโรงเรียน เนื่องมาจากในเขตบริการของโรงเรียน มีประชากรไม่มากนัก จึงทำให้นักเรียนที่มาเข้าเรียนมีจำนวนไม่มากโดยเฉพาะบริเวณใกล้เคียงโดยรอบนั้น มีโรงเรียนของรัฐบาล อีกหลายโรงเรียนอยู่ในบริเวณเดียวกันการจัดสรรงบประมาณของรัฐที่เป็นไปตามจำนวนของนักเรียน ซึ่งส่งผลให้ งบประมาณและทรัพยากรเพื่อใช้ในการบริหารของโรงเรียนมีความขาดแคลนยากต่อการ บริหารงาน อีกทั้งผู้ปกครองนักเรียน ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะยากจนไม่มีกำลังทรัพย์มาก พอในการสนับสนุนในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ทำให้การพัฒนาโรงเรียนเป็นไปอย่างล่าช้า มีสภาพของความเสื่อมโทรมในทุกด้าน


การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์โรงเรียน

โรงเรียนวัดท่าแคลง(ท่าแคลงวิทยาคาร) สิ่งแวดล้อมดี วินัยเด่น เน้นคุณธรรม นำความรู้ สู่พัฒนาการศึกษา โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่การมีส่วนร่วมของชุมชน

พันธกิจ

          1. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน

          2. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา

          3. ส่งเสริมครูและบุคลากรใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้

          4. ส่งเสริมใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการศึกษา

          5. ส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

          6. ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชนและองค์กรต่างๆ ทุกภาคส่วน

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา

   ซื่อสัตย์ มารยาทดี มีน้ำใจ

เป้าประสงค์

          1.ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมตามศักยภาพ

          2. ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          3. ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาและจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้

          4. การบริหารจัดการศึกษาเป็นไปตามระเบียบแบบแผน มีคุณธรรม โปร่งใส มีส่วนร่วม รับผิดชอบ และคุ้มค่า

          5.นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือและนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ได้จริง

          6. ชุมชนและองค์กรต่างๆทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 5 0 1 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดท่าแคลง(ท่าแคลงวิทยาคาร) พุทธศักราช ๒๕๖๓ ได้กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วย หลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย และหลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรของสถานศึกษา ซึ่งมีแนวปฏิบัติ ดังนี้
๑) หลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย
     โรงเรียนวัดท่าแคลงฯ มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๓ ของโรงเรียนวัดท่าแคลงฯ โดยสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนา บรรลุตามมาตรฐานคุณสมบัติที่พึงประสงค์ ตัวชี้วัด และสภาพที่พึงประสงค์ ภายใต้บริบทที่เป็นอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของโรงเรียนโดยมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
          หลักสูตรปฐมวัย


ช่วงอายุ

อายุ ๔ – ๖ ปี

สาระการเรียนรู้

ประสบการณ์สำคัญ
  - ด้านร่างกาย
  - ด้านอารมณ์ จิตใจ
  - ด้านสังคม
  - ด้านสติปัญญา

สาระที่ควรเรียนรู้
  - เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
  - เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสภาพแวดล้อมเด็ก
  - เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเด็ก
  - เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก

ระยะเวลาเรียน

ปีการศึกษาละ ๒ ภาคเรียน หรือ ๑๘๐ วัน/วันละ ๕ – ๖ ชั่วโมง

          
         การจัดกิจกรรมประจำวัน

ที่

กิจกรรมประจำวัน

ชั้นอนุบาลปีที่ ๒

เวลาเรียน (นาที/วัน)

ชั้นอนุบาลปีที่ ๓

เวลาเรียน (นาที/วัน)

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

๒๐

๒๐

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

๒๐

๒๐

กิจกรรมสร้างสรรค์

๔๐

๔๐

กิจกรรมเสรี

๔๐

๔๐

กิจกรรมกลางแจ้ง

๓๐

๓๐

กิจกรรมเกมการศึกษา

๒๐

๒๐

กิจกรรมต้านทุจริต

๒๐

๒๐

ทักษะพื้นฐานในชีวิตประจำวัน

  - ดื่มนม

  - รับประทานอาหาร

  - ล้างมือ แปรงฟัน

  - นอนพักผ่อน

  - เก็บที่นอน ล้างหน้า

 

๑๐

๑๐

๒๐

๑๒๐

๑๐

 

๑๐

๑๐

๒๐

๑๒๐

๑๐

รวม

๖ ชั่วโมง/วัน

๖ ชั่วโมง/วัน


๒) หลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

     หลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดท่าแคลง พุทธศักราช ๒๕๖๓ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๓) จัดระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖) การศึกษาระดับนี้เป็นช่วงแรกของการศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ทักษะการคิดพื้นฐาน การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุล ทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญาอารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม โดยเน้นจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
     การจัดเวลาเรียน
     หลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดท่าแคลง พุทธศักราช ๒๕๖๓ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๐) ได้จัดเวลาเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยจัดให้เหมาะสมตามบริบท จุดเน้นของโรงเรียน และสภาพของผู้เรียน ดังนี้
ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖) จัดเวลาเรียนเป็นรายปีโดยมีเวลาเรียนวันละ ๖ ชั่วโมง รวม ๒๐๐ วัน/ปี
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดท่าแคลง พุทธศักราช ๒๕๖๓ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๐) ดังนี

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม

เวลาเรียน /ปี

*

ป.๑

ป.๒

ป.๓

ป.๔

ป.๕

ป.๖

รายวิชาพื้นฐาน

* * * * * *

ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

คณิตศาสตร์

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๘๐

๘๐

๘๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
๑) ประวัติศาสตร์
๒) ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
3) เศรษฐศาสตร์
4) ภูมิศาสตร์

๑๒๐
(๔๐)

๘๐

๑๒๐
(๔๐)

๘๐

๑๒๐
(๔๐)

๘๐

๑๒๐
(๔๐)

๘๐

๑๒๐
(๔๐)

๘๐

๑๒๐
(๔๐)

๘๐

สุขศึกษาและพลศึกษา

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

ศิลปะ

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

การงานอาชีพ

๔๐

๔๐

๔๐

4๐

4๐

4๐

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๘๐

๘๐

๘๐

รวมเวลาเรียนพื้นฐาน

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 

 

 

 

 

- กิจกรรมแนะแนว

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

- กิจกรรมนักเรียน
ลูกเสือ-เนตรนารี

 

๔๐

 

๔๐

 

๔๐

 

๔๐

 

๔๐

 

๔๐

- กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

 


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

อาคารเรียน จำนวน2 หลัง

หลังส้วม จำนวน 2 หลัง

สนามเด็กเล่น จำนวน 1 สนาม

สนามฟุตบอล จำนวน1 สนาม

สนามวอลเล่ย์บอล จำนวน 1 สนาม

ห้องสมุด จำนวน 1 หลัง


หลักฐานอ้างอิง :
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

ประเภท

ชื่อแหล่งเรียนรู้

สถิติการใช้ (จำนวนครั้ง/ปี)

แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา

ห้องสมุด

๒๐๐ ครั้ง/ปี

 

ห้องคอมพิวเตอร์

๒๐๐ ครั้ง/ปี

 

ห้องพยาบาล

๒๐๐ ครั้ง/ปี

 

ร้านสหกรณ์โรงเรียน

๒๐๐ ครั้ง/ปี

 

สนามเด็กเล่น

๒๐๐ ครั้ง/ปี

 

โรงอาหาร/โรงครัว

๒๐๐ ครั้ง/ปี

 

สวนเกษตรพอเพียง

๔๐ ครั้ง/ปี

 

บ่อปลาดุก

๔๐ ครั้ง/ปี

 

โรงเรือนเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่

๔๐ ครั้ง/ปี

 

สนามฟุตบอล

๔๐ ครั้ง/ปี

แหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา

วัดท่าแคลง

๑๐ ครั้ง/ปี

วัดสนามไชย

๑๐ ครั้ง/ปี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสนามไชย

๔๐ ครั้ง/ปี

 

ชายหาดคุ้งวิมาณ

๕ ครั้ง/ปี


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  
กระบวนการพัฒนา/วิธีการดำเนินการ
จากการที่โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยโรงเรียนวัดท่าแคลง(ท่าแคลงวิทยาคาร) ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยมีการประเมิน ปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรทุกปีการศึกษา และแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๐ - ๒๕๖๓ ที่มีโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาคุณภาพเด็กโดยองค์รวม ให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ พัฒนาการด้านอารมณ์ - จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ พัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยสถานศึกษาได้พัฒนาคุณภาพของเด็ก ด้านการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัยด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยการจัดรูปแบบการเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง เน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยวิธีการ Active Learning การร่วมมือกันเรียนรู้ และใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา เช่น โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นต้น โดยมีการวางแผนการดำเนินการและกระบวนการพัฒนา ดังนี้
  สถานศึกษาจัดประสบการณ์การที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยมีครูประจำชั้นจบวุฒิการศึกษาปฐมวัยโดยตรง ให้ความดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด จัดบริการอาหารให้เด็กอย่างเพียงพอและถูกหลักโภชนาการ ครูมีการสร้างแรงจูงใจในการบริโภคอาหารที่มีคุณค่า มีการประเมินภาวะโภชนาการเป็นประจำทุกภาคเรียนและได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกคน มีการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กทุกเดือน มีกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะทุกวัน จัดหา อุปกรณ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย สะดวก สะอาด พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดที่เป็นอันตราย มีกฎ กติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก โดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสนามไชย ในการดูแลส่งเสริมและตรวจสุขภาพอนามัยของเด็ก นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสามารถจากกิจกรรมกลางแจ้ง สนับสนุนให้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับอำเภอ รวมทั้งนักเรียนได้รับการปลูกจิตสำนึกในเรื่อง การดูแลสุขภาพ การออกกำลังกายอย่างสมํ่าเสมอ รู้จักป้องกันตนเองจากโรคภัย อุบัติเหตุ และสิ่งเสพติดให้โทษ โดยสถานศึกษาจัดทำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย 
สถานศึกษาส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยวิธีการ Active Learning และการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบการคิดเชิงคำนวณและสะเต็มศึกษา ทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ และสามารถคิดรวบยอด คิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ได้รับการส่งเสริมทักษะด้านการเคลื่อนไหวเต็มตามศักยภาพ มีการทดสอบสมรรถภาพทางกายเป็นประจำทุกภาคเรียน สถานศึกษาจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ กิจกรรมหนูน้อยเข้าวัด กิจกรรมหนูน้อยต้านทุจริต กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา ฯลฯ เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กล้าพูดกล้าแสดงออกตามความสามารถ มีความรับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งยังปลูกจิตสำนึกให้เด็กรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมอบหมายให้เด็กช่วยกันดูแลต้นไม้ และสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาให้อยู่ในสภาพสะอาด เรียบร้อย สวยงามอยู่เสมอ จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้แสดงออกถึงการเป็นผู้นำและผู้ตาม ให้รู้จักการมีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและส่วนรวม เพื่อให้มีพัฒนาการด้านสังคมที่ดีมีระเบียบวินัย เชื่อฟ้งคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครู อาจารย์ มีความซื่อสัตย์ สุจริต รู้จักช่วยเหลือแบ่งปัน มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ประพฤติตน ตามวัฒนธรรมและศาสนาที่ตนเองนับถือ ส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิด ฟัง สังเกต พูด สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง โดยการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง และได้รับการปูพื้นฐานทักษะการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ได้รับการส่งเสริมให้มีทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นทีม เปิดโอกาสให้รู้จักคิด วางแผน ตัดสินใจ สร้างสรรค์ผลงานได้ตามความคิดและจินตนาการ เสริมสร้างลักษณะนิสัยใฝ่เรียนรู้ กล้าพูด กล้าถาม ส่งเสริมให้มีทักษะทางภาษา มีนิสัยรักการอ่าน โดยสถานศึกษาจัดหาหนังสือไว้บริการในห้องสมุดอย่างหลากหลายและมีจำนวนเพียงพอที่เด็กสามารถศึกษาด้วยตนเอง ส่งเสริมให้เด็กอ่านนิทานและเล่านิทานจากมุมหนังสือในห้องเรียนที่ตนเองอ่านให้ครูและเพื่อนฟัง มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่างๆ มีการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะตามความคิดและจินตนาการ โดยการวาดภาพระบายสี การตัด ฉีก ตัด ปะ งานปั้น การเคลื่อนไหวท่าทางตามจิตนาการ การเล่นอิสระ ส่งเสริมให้เด็กใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ และโทรทัศน์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ ส่งเสริมให้เด็กได้เสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัย จัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก เรียนรู้นอกสถานที่ แก้ปัญหาและตัดสินใจในสถานการณ์จริง 
สถานศึกษามีการประเมินผลพัฒนาการเด็กด้วยวิธีการที่หลากหลายและต่อเนื่อง มีการนำผลการประเมินคุณภาพเด็กปฐมวัยจากปีการศึกษาที่ผ่านมา มาพัฒนาผู้เรียนให้มีพัฒนาการสมวัย และรายงาน นำเสนอผลการประเมินคุณภาพเด็กต่อผู้ปกครอง หน่วยงานต้นสังกัด และชุมชน ในหลากหลายช่องทาง ได้แก่ Facebook ของสถานศึกษา กลุ่มไลน์เครือข่ายผู้ปกครอง แผ่นพับ และสมุดรายงานผลพัฒนาการให้ผู้ปกครองทราบอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา SAR ให้หน่วยงานต้นสังกัดในทุกปีการศึกษา จากการดำเนินงานของสถานศึกษา ส่งผลให้การดําเนินงานด้านคุณภาพของเด็กเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด โดยอยู่ในเกณฑ์ประเมินโดยภาพรวมใน ระดับยอดเยี่ยม 

ผลการดำเนินงาน  
ผลการดำเนินงาน/การบรรลุผลสำเร็จ
สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ให้เด็กได้รับประทานอาหารกลางวันและอาหารเสริม (นม) รู้จักล้างมือก่อนรับประทานอาหาร แปรงฟันหลังรับประทานอาหาร บูรณาการกับกิจกรรมประจำวัน กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมกลางแจ้ง จากการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันและกิจกรรมชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเป็นประจำทุกเดือน พบว่าเด็กร้อยละ ๘๔.๖๒ มีน้ำหนักส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดีโดยผ่านกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และกิจกรรมกลางแจ้ง เด็กใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดี ดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนและปฏิบัติตนจนเป็นนิสัย ปฏิบัติตนตามข้อตกลงเกี่ยวกับความปลอดภัย ส่งผลให้การประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ พบว่า เด็กจำนวน ๒๗ คน มีพัฒนาการด้านร่างกาย อยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับ ยอดเยี่ยม
สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ - จิตใจ ให้เด็กนั่งสมาธิก่อนเริ่มกิจกรรมฟังนิทาน/เพลงบรรเลงก่อนนอน บูรณาการกับกิจกรรมประจำวัน กิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเสรี ทำให้เด็กร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสมกับสถานการณ์ เข้าแถวรอตามลำดับก่อน - หลัง ในการทำกิจกรรม ชื่นชมและแสดงความยินดีกับเพื่อนในโอกาสต่าง ๆ ช่วยเหลือแบ่งปันของเล่นของใช้ เคารพสิทธิรู้หน้าที่รับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต ชื่นชมและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว จากผลการดำเนินการโครงการ/กิจกรรม ส่งผลให้การประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ - จิตใจ ควบคุม และแสดงอออกทางอารมณ์ได้ พบว่า เด็กจำนวน ๒๗ คน มีพัฒนาการด้านอารมณ์ – จิตใจ อยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับ ยอดเยี่ยม
สถานศึกษาได้จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม เด็กไหว้และสวัสดีผู้ใหญ่ ทำกิจกรรมเวรกลุ่ม เล่นและเก็บของเล่นด้วยตนเอง บูรณาการกับกิจกรรมประจำวัน กิจกรรมสร้างสรรค์และกิจกรรมเสรี ทำให้เด็กช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีวินัยในตนเอง ร่วมกิจกรรมวันสำคัญของโรงเรียน มีมารยาทปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้และยิ้มทักทาย เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้โดยปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกัน จากผลการดำเนินการโครงการ/กิจกรรม ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม พบว่า เด็กจำนวน ๒๗ คน มีพัฒนาการด้านสังคมอยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับ ยอดเยี่ยม
สถานศึกษาได้จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา โดยมีการประเมินคุณภาพเด็กด้วยวิธีการที่หลากหลายและต่อเนื่อง รวมทั้งมีการนำผลการประเมินคุณภาพเด็กไปพัฒนาผู้เรียน โดยการนำผลการประเมินในปีการศึกษาที่ผ่านมา ซึ่งเด็กมีพัฒนาด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายของสถานศึกษา จึงร่วมกันวิเคราะห์ผลเพื่อดำเนินการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยขึ้น เพื่อใช้แก้ปัญหาให้เด็กมีพัฒนาด้านสติปัญญา ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติและนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนในทุกสัปดาห์ รวมทั้งบูรณาการกับกิจกรรมต่างๆ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์ และกิจกรรมเกมการศึกษา ส่งเสริมการอ่านและการเล่านิทาน ทำให้เด็กสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ เล่านิทานจากเรื่องที่ตนเองชอบ เล่าเรื่องราวที่ตนเองสนใจได้เหมาะสมกับวัย คิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจในเรื่องง่ายๆได้เหมาะสมตามวัย สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการ จากผลการดำเนินการโครงการ/กิจกรรม ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา การประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา พบว่า เด็กจำนวน ๒๗ คน มีพัฒนาการด้านสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับยอดเยี่ยม

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1Xj7jTzxnzURjjJlsGPQU_sQHqit5m5zC/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

กระบวนการพัฒนา/วิธีการดำเนินการ

   สถานศึกษาได้ดําเนินการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยศึกษาสภาพปัญหา ผลการดำเนินงานและผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ในปีการศึกษาที่ผ่านมา เพื่อเป็นข้อมูลในการนำมากำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์  และพันธกิจของสถานศึกษา กำหนดแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปี ด้วยระบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาในรูปแบบหลักสูตรบูรณาการที่มีความเหมาะสมกับวัยของเด็ก และครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และบริบทท้องถิ่น จัดทำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาระดับปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการอย่างเป็นองค์รวม โดยครูจัดสื่อ ของเล่น และมุมประสบการณ์ต่าง ๆ ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพ รู้จักพื้นฐานชีวิตของตนเอง ออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อมและไม่เร่งรัดวิชาการ เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติจริง ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็กปกติและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งการจัดทำหลักสูตรดังกล่าว เป็นความร่วมมือทั้งครู ผู้ปกครอง และชุมชน มีครูผู้สอนที่มีวุฒิและความรู้ความสามารถด้านการศึกษาปฐมวัยโดยเฉพาะ จัดสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก พร้อมทั้งมีสื่อและเทคโนโลยีที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์ที่ได้มาตรฐาน สถานศึกษามีการบริหารจัดการครอบคลุมด้านวิชาการ ด้านครูและบุคลากร ด้านข้อมูลสารสนเทศ ด้านสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ และด้านระบบประกันคุณภาพภายใน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีการกํากับติดตามการดําเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และดำเนินการประเมินหลักสูตรของสถานศึกษา และประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานที่ชัดเจน จัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา SAR ส่งหน่วยงานต้นสังกัดและเผยแพร่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกปีการศึกษา ในหลากหลายช่องทาง ได้แก่ แจ้งรายงานในวาระการประชุมกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและการประชุมผู้ปกครองนักเรียน และช่องทางสื่ออื่นๆ เช่น ทาง Facebook ของสถานศึกษา ทางไลน์กลุ่มผู้ปกครอง ทางวารสาร แผ่นพับ ป้ายประกาศ เป็นต้น จากการดำเนินงานของสถานศึกษา ส่งผลให้การดําเนินงานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด โดยอยู่ในเกณฑ์ประเมินโดยภาพรวมใน ระดับดีเลิศ 


ผลการดำเนินงาน  
ผลการดำเนินงาน/การบรรลุผลสำเร็จ
  สถานศึกษาดําเนินการบริหารและจัดการสถานศึกษาที่ครอบคลุมด้านวิชาการ ด้านครูและบุคลากรด้านข้อมูลสารสนเทศ ด้านสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ และด้านระบบประกันคุณภาพภายใน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีการกํากับติดตามการดําเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยมีการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ส่งเสริมพัฒนาการอย่างเป็นองค์รวม มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัย ได้แก่ การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ได้มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น พิจารณาจากวัยของเด็ก ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ สำหรับด้านระบบกลไก การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
สถานศึกษาได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น เอื้อประโยชน์ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ เช่น จัดให้มีโทรทัศน์เพื่อให้เด็กได้เห็นสิ่งที่เด็กต้องการเรียนรู้ผ่านการค้นหาจากสื่อออนไลน์โดยครู จัดให้มีอุปกรณ์ ของเล่น ของใช้ เครื่องนอน เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้พอเพียงกับเด็ก โดยจัดให้เหมาะสม สะอาด  ปลอดภัย ให้มีมุมหนังสือที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็กให้เพียงพอและเหมาะสมกับวัย จัดให้มีเครื่องเล่นสนาม เครื่องเล่นน้ำ เล่นทราย ที่เหมาะสมปลอดภัย จัดให้มีพื้นที่สำหรับแปรงฟัน ล้างมือ ทำความสะอาดร่างกาย ห้องน้ำห้องส้วม พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็ก มีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน  และท้องถิ่น สถานศึกษามีการบริหารจัดการด้านบุคลากร โดยจัดให้มีอัตราส่วนครูต่อเด็กให้เป็นไปตามเกณฑ์ จัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ มีครูประจำการที่จบการศึกษาปฐมวัย และผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัย ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ครูปฐมวัยมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม  มีทักษะในการจัดประสบการณ์ มีทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติ หรือสื่อที่ผลิตขึ้นในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่น มีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ มีสื่อการเรียนรู้ของเล่นเสริมพัฒนาการ หนังสือนิทาน วิทยุ ลำโพง เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนผ่านทางไกลผ่านระบบดาวเทียม (DLTV) ไปกับการใช้สื่อการเรียนการสอนของสื่อ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ มีอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ และพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการดำเนินงานด้านวิชาการ ด้านครูและบุคลากร ด้านข้อมูลสารสนเทศ ด้านสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ และมีระบบประกันคุณภาพภายใน การรวบรวมผลการประเมินตนเอง (SAR) และนำผลการประเมินไปวางแผนปรับปรุงพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป ซึ่งจากการดำเนินงานส่งผลให้เกิด ดังนี้
๑. สถานศึกษาได้วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ของกระทรวงศึกษาธิการ แล้วนำมาจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ซึ่งครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็กให้บรรลุผลพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านตามศักยภาพ ตลอดจนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ปรากฏเด่นชัด โดยมีการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาในรูปแบบบูรณาการที่มีความเหมาะสมกับวัยของเด็ก และครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน และดำเนินงานนำหลักสูตรไปใช้พร้อมมีการประเมินผลหลักสูตรของสถานศึกษา เพื่อใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขในปีการศึกษาต่อไป
๒. สถานศึกษามีการบริหารจัดการด้านบุคลากร โดยจัดให้มีอัตราส่วนครูต่อเด็กให้เป็นไปตามเกณฑ์ จัดครูที่มีวุฒิการศึกษาปฐมวัย จัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้ครูมีการบริหารชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก และปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง จนเป็นที่พึงพอใจและเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง ในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในระดับปฐมวัยต่อเนื่องทุกปีการศึกษา 
๓. สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ โดยการสนับสนุนครูได้พัฒนาตนเองและวิชาชีพทั้งในและนอกสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพเด็ก การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก และเน้นพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านผ่านกิจกรรมหลัก ๖ กิจกรรม มีการประเมินพัฒนาการของเด็กทั้งแบบรายบุคคลและโดยรวม และนำผลการประเมินให้ผู้ปกครองร่วมพิจารณา เพื่อนำมาพัฒนาเด็กตามความสามารถของเด็กแต่ละคน
๔. สถานศึกษาได้จัดสภาพแวดล้อมและสื่อการเรียนรู้ที่ปลอดภัยและเพียงพอสำหรับเด็ก เช่น มุมประสบการณ์ ห้องสมุด ห้องน้ำ จัดโทรทัศน์ที่สามารถเชื่อมต่อสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ในทุกห้องเรียน สนามเด็กเล่น ห้องดนตรี สวนเกษตรพอเพียง และแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา โดยมีวิทยากรท้องถิ่นที่มีความเชี่ยวชาญมาจัดการเรียนการสอน ได้แก่ วิทยากรสอนดนตรีไทย เป็นต้น
๕. สถานศึกษาจัดหาโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ในห้องเรียนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ เกมการศึกษา เช่น เกมทายเสียงยานพาหนะ เกมทายภาพสัตว์ เพลงสำหรับเด็ก เพื่อให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นในการตรียมเข้าสู่ศตวรรษที่ ๒๑
๖. มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ผู้บริหารเข้าใจถึงปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ให้คำแนะนำคำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่ในการจัดการศึกษา มีการประชุมกลุ่มย่อย และเปิดห้องเรียน (Open Class) ผู้ปกครองและชุมชน ได้มีโอกาสรับรู้ถึงการจัดการเรียนการสอนและเปิดโอกาสให้จัดทำรายงาน ผลการดำเนินงานประจำทุกปี จัดประชุมผู้ปกครองเพื่อแจ้งผลการประเมิน พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยมีการจัดประชุมผู้ปกครอง ปีการศึกษาละ ๒ ครั้ง เพื่อชี้แจงผลการดำเนินงานให้ที่ประชุมรับทราบ มีการนำเสนอผลการดำเนินงานของสถานศึกษาในกิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษา โดยสื่อสารประชาสัมพันธ์ผลงานของสถานศึกษาผ่านสื่อช่องทางรูปแบบต่างๆ ทั้งทางเว็บไซต์และ Facebook ของสถานศึกษา กลุ่มไลน์ผู้ปกครอง ป้ายประกาศ แผ่นพับ เป็นต้น และมีการกำกับติดตาม ประเมินผลให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ เพื่อพัฒนาเด็กร่วมกันจนเป็นที่พึงพอใจของทางสถานศึกษา ชุมชนและผู้ปกครอง นำไปเป็นแนวทางการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีการศึกษาต่อไป

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/17yB8qxZWP6TyH03o6sLirupLEt0YTGdN/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  กระบวนการพัฒนา/วิธีการดำเนินการ
 สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย โรงเรียนวัดท่าแคลงฯ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยมีการประเมิน ปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรทุกปีการศึกษา วิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาเด็กครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ - จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ รู้จักเด็กเป็นรายบุคคลและสร้างโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและลงมือกระทําผ่านประสาทสัมผัส จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้เด็กได้เลือกเล่น เรียนรู้ ลงมือกระทําและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีการติดตาม และประเมินผลพัฒนาการเด็กอย่างเป็นระบบ ครูมีการวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีแบบประเมินพัฒนาการ แฟ้มสะสมผลงานเด็ก มีวิจัยในชั้นเรียนที่นําไปปรับใช้ได้ มีข่าวสารถึงผู้ปกครอง จัดทำแบบบันทึกผลหลังจัดประสบการณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม ป้ายนิเทศ และมีเครื่องมือสำหรับการประเมินหลังการจัดประสบการณ์ จากการดำเนินงานของสถานศึกษา ส่งผลให้การดําเนินงานด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด โดยอยู่ในเกณฑ์ประเมินโดยภาพรวมใน ระดับดีเลิศ  
ผลการดำเนินงาน  
ผลการดำเนินงาน/วิธีการดำเนินงาน
สถานศึกษาบริหารจัดการด้านบุคลากร โดยจัดครูที่มีวุฒิการศึกษาระดับปฐมวัย และจัดประสบการณ์ให้เด็กที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็ก จนทำให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด ครูจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการสมบูรณ์ครบ ๔ ด้าน ครูรู้จักเด็กเป็นรายบุคคล มีการจัดกิจกรรมที่สร้างโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ผ่านการเล่น และการลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ครูสามารถจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกชั้นเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก 
ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ครูมีการประเมินผลเด็กเป็นรายบุคคลและนำผลมาพัฒนาการจัดประสบการณ์ให้เด็ก เพื่อบรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดไว้ จัดการศึกษาปฐมวัยโดยมุ่งเน้นความสำคัญของพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา 
มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม  และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ เพื่อให้เด็กสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ภายใต้คำว่า เก่ง ดี มีสุข โดยครูวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จัดประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น และลงมือปฏิบัติจริงผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ๕ เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุก ๆ ด้านให้เหมาะสมกับวัย ดังนี้ ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการ เพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านอารมณ์ - จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านการแสดงอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปัน มีความรับผิดชอบ ด้านสังคม เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ ด้านสติปัญญา เด็กรู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารเข้าใจ และมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง Active Leaning โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคี การแบ่งปัน และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่เด็ก ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้เด็กรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน ห้องเรียนมีบรรยากาศ แจ่มใส สะอาด ปลอดภัย กว้างขวางพอเหมาะ มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ มีการตกแต่งสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้สดใส และมีสื่อการเรียนรู้ ป้ายนิเทศที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน มีการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ แฟ้มสะสมผลงาน และมีการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็กโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็ก และพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียน เพื่อให้ครูได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการดำเนินงานส่งให้เกิดผลดังนี้
๑. ครูจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงได้เลือกเล่น และลงมือปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมหลัก ๖ กิจกรรม คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเกมการศึกษา โดยบูรณาการกิจกรรมอย่างหลากหลาย การจัดกิจกรรมหน้าเสาธง กิจกรรมกีฬาสี กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา เป็นต้น 
๒. ครูมีการวางแผนการสอนและนำแผนการสอนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยจัดบรรยากาศห้องเรียนให้มีมุมประสบการณ์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในการเรียนการสอนที่เหมาะสม และมีความหลากหลาย เช่น กิจกรรมการทัศนศึกษารอบ ๆ สถานศึกษา และรอบ ๆ ชุมชน จัดกิจกรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก จัดกิจกรรมที่เด็กได้ใช้สื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม มีคอมพิวเตอร์ครูและโทรทัศน์ในห้องเรียนสำหรับให้นักเรียนได้เรียนรู้ เช่น เกมทายเสียง เกมจับคู่ต่างๆ ในห้องเรียนเน้นความสะอาด ปลอดภัย มีอากาศถ่ายเท ครูมีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงโดยการสังเกตพฤติกรรมเด็ก ตรวจผลงานเด็ก ฯลฯ ในกิจกรรมประจำวันและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดโดยผู้ปกครองและ ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินพัฒนาการ และการนำผลมาพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคลและการจัดประสบการณ์ให้เด็กต่อไป
๓. จัดกิจกรรมพัฒนาครูและบุคลากร และกิจกรรมผลิตสื่อการเรียนการสอน โดยครูจัดกิจกรรมหลัก ๖ กิจกรรมตามหลักสูตร ได้แก่ กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมเกมการศึกษา โดยได้รับความร่วมมือจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครอบครัว ชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ครูจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ 
๔. ครูจัดกิจกรรมสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง โดยการพาไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน ได้แก่ วัดในชุมชน ร้านค้าชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ สวนเกษตรพอเพียง บ่อปลาดุกโรงเรียน เป็นต้น ส่งผลให้มีการสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
๕. ครูจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ โดยจัดห้องเรียนให้สะอาด อากาศถ่ายเท ปลอดภัย มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก พื้นที่สำหรับมุมประสบการณ์และการจัดกิจกรรม มีป้ายนิเทศหน่วยการเรียนรู้ เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพบริบทของสถานศึกษา ส่งผลให้มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
๖. ครูมีการตรวจสอบและประเมินเด็กอย่างเป็นระบบ โดยมีการแสดงขั้นตอนการใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมและมีความหลากหลาย แสดงข้อมูลพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงจากการสังเกต สัมภาษณ์พูดคุย ตรวจแฟ้มสะสมผลงานเด็กและบันทึกข้อมูล โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม นำผลการประเมินที่ได้เป็นข้อมูลแจ้งกลับให้แก่ผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ เพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศในการปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ส่งผลให้ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
๗. ครูมีการนำผลการประเมินมาพัฒนาเด็ก โดยการนำผลการประเมินมาวิเคราะห์สาเหตุและปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาวางแผนในการพัฒนาเด็กและดำเนินการตามแผน โดยครูนำผลจากการประเมินและข้อเสนอแนะในปีการศึกษาที่ผ่านมา นำมาปรับปรุงการจัดประสบการณ์ในการพัฒนาเด็กด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม เช่น ในปีการศึกษาที่ผ่านมาเด็กยังมีพัฒนาการด้านสติปัญญา และทักษะพื้นฐานการคิดและการแสวงหาความรู้ ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด จึงได้ดำเนินการวิเคราะห์ปัญหาและดำเนินการจัดโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยและวิทยาการคำนวณขึ้นมาใช้แก้ปัญหา ทำให้เด็กมีทักษะพื้นฐานการคิดและการแสวงหาความรู้ที่เพิ่มขึ้น เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด 
๘. สถานศึกษาจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการนิเทศการสอนระหว่างเพื่อนครูและผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม การจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยให้เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1hSmsgKXq0731Vqs-e5IwnYYdUftNNaPH/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
กระบวนการพัฒนา โรงเรียนวัดท่าแคลง(ท่าแคลงวิทยาคาร) มีจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม ดังนี้
จุดเด่นมาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก 
     เด็กส่วนใหญ่มีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติดได้ มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์ร่าเริง แจ่มใส สนุกสนาน สามารถร่วมกิจกรรมและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ตามกิจกรรมประจำวันได้อย่างดี
จุดเด่นมาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ 
     ๑. ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มีความริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นผู้นําทางวิชาการ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความเสียสละและเป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมยึดหลักธรรมมาภิบาล คํานึงถึงคุณธรรม จริยธรรม ความยุติธรรมและโปร่งใส
     ๒. คณะกรรมการสถานศึกษาปฏิบัติหน้าที่ตามที่กําหนด มีการพิจารณาเห็นชอบการลงนามในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา หลักสูตรสถานศึกษา/แผนปฏิบัติการประจําปี และรายงานการประเมินตนเอง มีการส่งเสริม กํากับ ติดตาม ดูแลขับเคลื่อนการดําเนินงานของสถานศึกษาให้บรรลุผลสําเร็จตามเป้าหมาย รวมถึงมีผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา โดยมีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง มีการร่วมรับฟังการดําเนินงานของฝ่ายต่างๆ ร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอแนะเกี่ยวกับการดําเนินงานของโรงเรียน รวมถึงการพัฒนาการศึกษาเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ศตวรรษที่ ๒๑
     ๓. มีระบบการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบ มีการกำกับติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือ มีการจัดกิจกรรมป้องกัน แก้ไข และพัฒนานักเรียน
     ๔. มีการบริหารจัดการห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงอาหาร ห้องน้ำ อาคารเรียนอย่างมั่นคงและปลอดภัย มีสิ่งอํานวยความสะดวกและความปลอดภัยอยู่ในสภาพใช้การได้ดี สภาพแวดล้อมร่มรื่นและมีแหล่งเรียนรู้สําหรับเด็กที่มีประสิทธิภาพ โดยประสานความร่วมมือจากผู้ปกครอง ชุมชนในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาร่วมกัน
     ๕. มีการจัดห้องสมุด คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาเต็มศักยภาพ
     ๖. สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย และหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาที่ดำเนินงานจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาจนเกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ 
จุดเด่นมาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ 
     ครูจัดทําแผนการจัดประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตร
สถานศึกษา โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาเด็กครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ - จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ผลการดำเนินงาน โรงเรียนวัดท่าแคลง(ท่าแคลงวิทยาคาร) ได้ดำเนินการแล้วพบจุดที่ควรพัฒนา ดังนี้
จุดที่ควรพัฒนามาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก 
     ๑. การมีความคิดรวบยอด การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง
     ๒. การรับประทานอาหารที่เหมาะสม
     ๓. การพัฒนา ปลูกฝังในเรื่องสุขนิสัยที่ดีในการป้องกันตนเองในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID - ๑๙) เช่น การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ล้างมือก่อนออกจากห้องน้ำ ห้องส้วม และการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้เป็นนิสัย การเว้นระยะห่าง การสวมหน้ากากอนามัย เป็นต้น
     ๔. การยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติ
     ๕. การใช้คำพูดขอบคุณ ขอโทษ และการใช้วาจาสุภาพเหมาะสมกับวัย
จุดที่ควรพัฒนามาตรฐานที่ ๒  กระบวนการบริหารและการจัดการ
     ๑. จัดครูให้เพียงพอต่อชั้นเรียน และตรงสาขาวิชาที่จัดการเรียนการสอน 
     ๒. ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ใหม่ ๆ  
     ๓. จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียง  
     ๔. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาให้มากขึ้น
จุดที่ควรพัฒนามาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
     สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษา แต่การประเมินหลังการใช้หลักสูตรยังไม่เป็นระบบ เพื่อการพัฒนาปรับปรุงได้ตรงความต้องการ ตามบริบทของสถานศึกษา เด็ก ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1POsagR69rLEMt2yw4zDylvI7POEBqJCe/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนวัดท่าแคลง มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลาย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ โดยการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรแต่ละกลุ่มสาระ หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา มีการนําหลักสูตรเข้าสู่การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน จัดทําแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนทุกปี โดยมีกิจกรรมและโครงการที่ส่งเสริมผู้เรียนทั้งในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน มีวิทยากรภายนอกเข้ามาให้ความรู้และทักษะต่างๆ รวมถึงมีสื่อการสอนที่เหมาะสม และพร้อมสําหรับการส่งเสริมผู้เรียนทุกระดับชั้น มีการจัดทํารายงานผลการพัฒนาผู้เรียน การรายงานโครงการตามแผนพัฒนาคุณภาพในทุกๆ ปี เช่น โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ที่จะให้มีการประชุมวิชาการ การนิเทศชั้นเรียน เพื่อให้ครูผู้สอนได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ โครงการส่งเสริมพัฒนาการอ่านและเขียนภาษาไทย จะมีกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมผู้เรียน ทั้งด้านการอ่าน การเขียนซึ่งประกอบไปด้วย กิจกรรมการอ่านเขียนคำพื้นฐาน กิจกรรมบันทึกการอ่าน กิจกรรมเขียนตามคำบอก และกิจกรรมภาษาไทยวันละคำ โครงการกิจกรรมวันสำคัญ จะมุ่งเน้นให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆตามวันสำคัญ เช่น วันวิสาขบูชา วันไหว้ครู วันสุนทรภู่ วันภาษาไทย วันอาสาฬหบูชา วันลอยกระทง วันแม่แห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้โรงเรียนวัดท่าแคลงยังมีโครงการที่ฝึกให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ การจัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ที่จะส่งเสริมผู้เรียนทางด้านทักษะ เช่น โครงการวิถีพอเพียงโรงเรียนวัดท่าแคลง ปลูกผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ การเลี้ยงปลาดุก โรงเพาะเห็ดนางฟ้า จัดให้มีโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีกิจกรรม เช่น กิจกรรมอ่านเขียนประโยควันละนิดสะกิดความจำ กิจกรรมอ่านทุกวันสู่ฝันที่ตั้งใจ กิจกรรมหนังสือเล่มเล็ก กิจกรรมเล่านิทานมหาสนุก มีโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ประกอบไปด้วย กิจกรรมจัดหาวัสดุอุปกรณ์ห้องพยาบาล กิจกรรมตรวจสุขภาพนักเรียน กิจกรรมพานักเรียนไปทำฟัน กิจกรรมอาหารเสริมนม กิจกรรมอาหารกลางวัน กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหาร กิจกรรมกำจัดเหา กิจกรรมชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพ โดยมีเป้าหมายให้นักเรียนทุกคนได้รับการส่งเสริมและบริการด้านสุขภาพอนามัยอย่างสม่ำเสมอ

 

ผลการดำเนินงาน  

สถานศึกษาได้ตั้งคณะกรรมการประเมินภายในของสถานศึกษาขึ้นและรวบรวมข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนด้านต่าง ๆ ตามแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน(จำนวน ๖๗ คน) ของสถานศึกษา แล้วนำมาประเมินตามเกณฑ์ของสถานศึกษา พบว่าโรงเรียนวัดท่าแคลง ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.๒๕๖๐) เพื่อให้ครูใช้เป็นกรอบในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย คือจัดการเรียนรู้เป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งสอดรับกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่ได้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนซื่อสัตย์ มารยาทดี มีน้ำใจ ดังนั้นโรงเรียนวัดท่าแคลง จึงกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน ๒ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ๒) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

โรงเรียนวัดท่าแคลง มีผลที่เกิดจากการพัฒนาในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้นสามารถเขียนสื่อสารได้ดี รู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตยสืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญจำเป็นรวมทั้งรู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติดต่าง ๆ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และมีประโยชน์รักการออกกำลังกาย นักเรียนทุกคนสามารถเล่นกีฬาได้อย่างน้อยคนละประเภท ยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม ของสถานศึกษา ของสังคมมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริตรวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างวัย ทั้งนี้โรงเรียนมีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์ ดังนี้

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1pJ9BciMwChWouUrdTfwhGoN9YJgKPRlm/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

นอกจากกิจกรรมตามแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแล้ว โรงเรียนวัดท่าแคลงได้จัดกิจกรรมในห้องเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนเช่น กิจกรรมส่งเสริมความรู้โดยบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น ท่องสูตรคูณ ท่องอาขยาน ฝึกให้นักเรียนได้อ่านทุกวัน ทั้งอ่านเดี่ยว อ่านพร้อมกันและฝึกอ่านตามครู ฝึกสะกดคํา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีการนําเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน แบบฝึกหัดคิดเลขเร็ว เกมคณิตศาสตร์ คณิตคิดในใจ ฝึกให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ การอภิปรายผล การทําบัตรอวยพรในวันสําคัญ เช่น วันแม่ การเขียนย่อความ การเขียนเรียงความ การเล่าข่าว โรงเรียนจัดทําโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เช่น กิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน กิจกรรมการประชุมผู้ปกครอง กิจกรรมการแนะแนวและส่งต่อ โครงการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์เท่าทันเทคโนโลยี มีกิจกรรมการปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อสนับสนุนให้ มีการใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย ทั้งคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สื่อการสอนจากอินเทอร์เน็ต มีห้องคอมพิวเตอร์ เพื่อสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตโดย มีบริการ WIFI ครอบคลุมทั้งโรงเรียนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

มีการเรียนโดยใช้ DLTV รวมไปถึงการใช้กิจกรรมฝึกทักษะอาชีพ ด้วยการนําเศรษฐกิจพอเพียงมาฝึกนักเรียน เช่น การแปรรูปอาหาร ปลูกผัก ตลอดจนมีการส่งเสริมกิจกรรมที่เพิ่มศักยภาพของผู้เรียน เช่น การเข้าร่วมแข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการ จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา เช่น กิจกรรมลูกเสือ ชมรม ชุมนุม ผู้บําเพ็ญประโยชน์ จากกิจกรรมที่โรงเรียนดําเนินการพัฒนา ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการที่สูงขึ้นใน ด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ซึ่งโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีกิจกรรมในห้องเรียนบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรนอกห้องเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายใน ภายนอก สื่อการสอนเทคโนโลยีที่หลากหลาย มีการกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อให้ครู นักเรียน ได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทุกเวลาและโอกาส ทําให้ผู้เรียนมีความสามารถอ่านออก เขียนได้ และคิดคํานวณได้ โดยสามารถท่องสูตรคูณได้ ตามมาตรฐานของแต่ละระดับชั้น วางแผนการทําความสะอาด ประเมินผลการทําความสะอาดเขตพื้นที่ สามารถประเมินผลงานและอธิบายผลงานของตนเองและผู้อื่นได้ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด ทุกระดับชั้นไม่มีนักเรียนซ้ำชั้น และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ สามารถเข้าเรียนต่อ ม.๑ ได้ทุกคน มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากําหนด ผู้เรียนมีคุณธรรมสามารถดํารงตนในสังคม และประพฤติปฏิบัติตามคําสอนของศาสนา สามารถสวดมนต์ไหว้พระอาราธนาศีลได้ เข้าร่วมกิจกรรมเข้าค่ายคุณธรรม เก็บของได้ส่งครูเป็นประจําชั้น ปฏิบัติตนในวันสําคัญต่าง ๆ เช่น ร่วมตักบาตรข่าวสารอาหารแห้งทุกวันพระ และวันสําคัญทางศาสนา สามารถกราบและไหว้ได้ถูกต้อง นอกจากนี้นักเรียนทุกคนปฏิบัติหน้าที่รักษาความสะอาดเขตพื้นที่ในโรงเรียนทุกวัน มีน้ำใจช่วยเหลืองานสังคม เช่น นักเรียนมีจิตอาสาบริการเสริฟน้ำช่วยในงานฌาปนกิจศพและพิธีต่างๆ ในชุมชนทุกงาน ทั้งในและนอกสถานศึกษา นักเรียนชอบเล่นกีฬาทําให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ส่งผลไปถึงครอบครัวและชุมชนมีความพึงพอใจ
ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียนวัดท่าแคลง มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนโดยมีการจัดการเรียนเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง Active Leaning แบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบใช้กระบวนการคิดกระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลักและเน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดโดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป. ๑ พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ผู้เรียนใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูลได้แก่ ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ และมุมห้อง ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน

นอกจากนี้ โรงเรียนวัดท่าแคลงได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขเน้นการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน โดยมีโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาจิตก่อนเรียน กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจิตอาสา กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระ กิจกรรมอบรมธรรมะนักเรียน กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยนักเรียนในโรงเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีวินัยซื่อสัตย์รับผิดชอบและมีจิตสาธารณะมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการดูแลสุขภาวะจิต มีกิจกรรมให้ความรู้เรื่องพิษภัยจากยาเสพติด ส่งเสริมการออกกำลังกาย รวมทั้งจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะอาชีพ เช่น การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ การเลี้ยงปลาดุก การปลูกผักสวนครัว การเพาะเห็ดนางฟ้า เป็นต้น

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1nC5DMChnqq5_RcrvWD4evMeSoMVCifBe/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนได้ดําเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง เพื่อวางแผนร่วมกันกําหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กําหนดพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจําปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ แต่งตั้งคำสั่งมอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน ดําเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ มีการดําเนินการนิเทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผลการดําเนินงานกระบวนการบริหารและการจัดการของสถานศึกษา โดยมีเครื่องมือในการนิเทศ กำกับติดตาม และเกณฑ์การประเมินผลที่ชัดเจนและเป็นระบบ โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ มีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นําไปประยุกต์ใช้ได้ ดําเนินการอย่างเป็นระบบ ตามกระบวนการ GPDCA โดยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ได้แก่ บุคลากรในสถานศึกษา นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ทําให้โรงเรียนมีการกําหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ ได้แก่ กําหนดหลักสูตรสถานศึกษา และแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา เน้นให้ผู้เรียนทุกคนได้รับการพัฒนาจนจบการศึกษา ผู้เรียนที่ด้อยโอกาสและผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้รับการพัฒนาตามศักยภาพ นักเรียนทุกคนมีคุณธรรม และมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาเพื่อใช้ในจัดการเรียนการสอนในรายวิชาเพิ่มเติมในทุกระดับชั้น ซึ่งหลักสูตรมีความสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตําแหน่ง ตามความต้องการ มีการดําเนินงานพัฒนาสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ สื่อเทคโนโลยีและสิ่งอํานวยความสะดวกเพียงพอ ที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้ มีเครือข่ายผู้ปกครองร่วมการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา มีการนิเทศ กํากับ ติดตามและประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสม เป็นระบบและต่อเนื่อง มีการรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ทางเว็บไซต์ ทาง Facebook ของสถานศึกษา และช่องทางอื่นๆ เช่น แผ่นพับ ป้ายประกาศ เป็นต้น
ผลการดำเนินงาน  

เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามกระบวนการบริหารและการจัดการคุณภาพของสถานศึกษา โรงเรียนวัดท่าแคลงได้ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จึงดำเนินการดังนี้

๑. สถานศึกษาทำการวิเคราะห์สภาพปัญหาหรือผลการจัดการศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา เพื่อใช้ข้อมูลในการกำหนดเป้าหมายใหม่ ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและความต้องการของท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการและต้นสังกัด โดยกำหนดเป้าหมายให้นักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาตามระดับการศึกษาที่มีคุณภาพตามหลักสูตร และมีความรู้และทักษะตามระดับชั้น ร่วมระดมความคิดในการปรับ แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี จัดทำโครงการ/กิจกรรมในแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของชุมชน รวมทั้งมีการวางแผนการดำเนินการในปีการศึกษา โดยการกำหนดหลักสูตรสถานศึกษา ประจำปี ๒๕๖๓ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑ (ปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๐)

๒. ดำเนินการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา เชื่อมโยงกับชีวิตจริง จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา ในเชิงกลยุทธ์ ระยะเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๓ โดยมีการประชุมวางแผนปรับปรุงให้เหมาะสมทุกปี ดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพ ตามความต้องการของครูและสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสม มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ซึ่งสะท้อนกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่จะใช้ในการพัฒนานำไปสู่เป้าหมาย นำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาไปปฏิบัติเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี ซึ่งกำหนดจุดเน้นชัดเจนเป็นรูปธรรม กำหนดสถานที่ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ มีการติดตามความก้าวหน้า และมีการตรวจสอบการดำเนินงาน ประเมินผล ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน เพื่อปรับปรุงพัฒนางานอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง โดยจัดครูและบุคลากรที่มีคามรู้ความสามารถครบทุกชั้นเรียน จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนครบวงจร โดยครูศึกษาวิเคราะห์นักเรียนรายบุคคล จากการเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกปีการศึกษา เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคล และมอบหมายจัดทำคำสั่งแต่งตั้งครูประจำชั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการเยี่ยมบ้านนักเรียนโดยให้ผู้ปกครองนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน สถานศึกษามีการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักเรียน ตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถ รวมทั้งเฝ้าระวังป้องกันและการแก้ไขปัญหา และส่งต่อนักเรียนไปในระดับชั้นที่สูงขึ้น มีการบริหารจัดการโดยระบบการนิเทศภายใน เยี่ยมชั้นเรียน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาครูและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง มีการร่วมวางแผนงาน PLCปรับปรุงและพัฒนางานร่วมกันทุกส่วนทุกฝ่าย ทั้งงานวิชาการ งานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษากิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนทุกด้าน โดยให้เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตจริงและครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มนักเรียนปกติและนักเรียนเรียนรวม ส่งเสริมครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ บริหารจัดการโดยจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ รวมทั้งจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ให้พร้อมใช้งาน มีความเหมาะสมและเพียงพอต่อการเรียนการสอน มีการรายงาน เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ผลการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมของสถานศึกษาในรูปแบบต่างๆ ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบ เช่น รายงานการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันเข้าพรรษา วันมาฆบูชา หรือวันสำคัญของชาติ รายงานการจัดกิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน รายงานการแข่งขันกีฬานักเรียน เป็นต้น โดยรายงานทั้งรูปแบบออนไลน์ทาง Facebook ของสถานศึกษา ทางกลุ่มไลน์ผู้ปกครอง และทั้งที่เป็นเอกสาร เช่น วารสารประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ รวมทั้งรายงานในวาระการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วาระการประชุมผู้ปกครองนักเรียน เพื่อรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาในทุกปีการศึกษา

๓. สถานศึกษาได้ดำเนินงานตามแผนงาน มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน มีการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผน ประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบการประเมินที่หลากหลาย เช่น แบบประเมินความพึงพอใจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ โดยสร้างเครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมินที่ชัดเจน แล้วนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ผล สูงหรือต่ำ หรือเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดหรือไม่ รวมทั้งวิเคราะห์จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา อุปสรรคปัญหาในการดำเนินงาน โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผลด้วย ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผู้ปกครองนักเรียน เป็นต้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไปในอนาคต

๔. สถานศึกษามีการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ให้หน่วยงานต้นสังกัดในทุกปีการศึกษา รวมทั้งมีการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ผลงานของสถานศึกษาผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ ทั้งในรูปแบบออนไลน์ เช่น Facebook ของสถานศึกษา ทางกลุ่มไลน์ผู้ปกครอง หรือรูปแบบที่เป็นเอกสาร เช่น วารสาร แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1POsagR69rLEMt2yw4zDylvI7POEBqJCe/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

สถานศึกษามีกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา สร้างโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ การอ่าน การเขียน และการสื่อสาร โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น กิจกรรม Active Learning ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมการสอนได้จริง ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง ครูได้เข้าร่วมอบรมเพื่อพัฒนาวิชาชีพ และนำความรู้มาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ตามที่องค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ จัดขึ้น มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน และครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล จากการออกเยี่ยมบ้าน สังเกต สัมภาษณ์ผู้ปกครองและนักเรียนรวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำผลที่ได้มาให้ข้อมูลป้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด โดยเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดผ่านการปฏิบัติจริง มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ มีรูปแบบการสอนที่หลากหลายตามความแตกต่าง และความสนใจของผู้เรียน เน้นการลงมือปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่การแสดงความคิดเห็น การสรุปองค์ความรู้การนำเสนอผลงาน และการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ในรายวิชาภาษาอังกฤษ ครูผู้สอนจะเน้นการพูดสื่อสารกับผู้เรียนในเรื่องใกล้ตัวที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้ได้จริง

ครูผู้สอนมีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลายในการจัดการเรียนการสอน โดยจะคำนึงถึงความเหมาะสมกับเนื้อหาที่จะสอน และวัยของผู้เรียน เช่น ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ การสอนเรื่องพืชดอก ครูผู้สอนจะสอนโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการใช้สื่อของจริงตามธรรมชาติ ให้ผู้เรียนได้สัมผัสจากประสบการณ์ตรง ครูผู้สอนมีการบริหารชั้นเรียนโดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก เน้นการพูดสื่อสารเชิงบวก สร้างกำลังใจ และความสามัคคี ให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข เช่น การให้รางวัลเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจเมื่อนักเรียนสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จลุล่วง ครูผู้สอนมีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนและวิธีการที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ ประเมินด้วยความเที่ยงตรง และมีวิธีการประเมินอย่างหลากหลาย สอดคล้องกับรูปแบบการสอน เช่น ในการสอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษนั้น ครูผู้สอนจะประเมินทักษะการอ่าน การเขียน การฟังและการพูดก่อน แล้วจากนั้นจึงจัดกระบวนการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้เรียน รวมถึงการประเมินผลตามความเหมาะสมของผู้เรียนด้วย ครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ โดยการนำปัญหาของครูผู้สอนแต่ละคนมาแบ่งปันกัน เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน เช่น การจัดกิจกรรม PLC

ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียนวัดท่าแคลง ดำเนินงานตามระบบนิเทศภายใน มีการนิเทศ เยี่ยมชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.๒๕๖๐) ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง (Active learning)เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา

ครูและบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ ๑๐๐ รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

ครูและบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ ๑๐๐ มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่อ้างอิงมาจาก มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียบ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (DLTV)ครบทุกวิชา ทุกชั้นเรียน มีความสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษา สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้จริง ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา สู่การเรียนการสอนทุกชั้นเรียน มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข

ครูและบุคลากรทางการศึกษา ร้อยละ ๑๐๐ จัดทำบันทึกผลหลังการสอน โดยใช้รูปแบบของทาง มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียบ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (DLTV) และมีการนำผลงานของนักเรียนที่เกิดขึ้นภายหลังการเรียนการสอน จัดแสดงข้อมูลเป็นป้ายนิเทศทุกชั้นเรียน โดยมอบหมายนักเรียนให้มีส่วนร่วมในการแสดงผลงาน ทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคล ส่งผลให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนและการทำงาน

ครูและบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ ๑๐๐ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ PLC เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพระหว่างครูและผู้เกี่ยวข้อง เช่น ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในโรงเรียน โดยมีวิธีการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนครู อย่างเป็นระบบ ดังนี้

ขั้นตอนที่ ๑ การรวมกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

ขั้นตอนที่ ๒ วิเคราะห์และระบุปัญหา/สิ่งที่ต้องการพัฒนา

ขั้นตอนที่ ๓ เลือกและออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/กิจกรรม/นวัตกรรม

ขั้นตอนที่ ๔ วิพากษ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปรับปรุงแก้ไข

ขั้นตอนที่ ๕ จัดการเรียนรู้ /กิจกรรม /นวัตกรรม

ขั้นตอนที่ ๖ ประเมินผล/สะท้อนการจัดการเรียนรู้/กิจกรรม/นวัตกรรม

ขั้นตอนที่ ๗ สรุปเผยแพร่แผนการจัดการเรียนรู้/กิจกรรม/นวัตกรรม

และนำข้อมูลจากการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้PLC เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพระหว่างครูและผู้เกี่ยวข้อง มาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และสอนตามแผน โดยมีการนิเทศ กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอนจากผู้เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

ครูผลิตสื่อ นวัตกรรม จัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น การมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนในระดับชั้นประถมปลายจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่างๆ ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

ครูและบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ ๑๐๐ ใช้สื่อเทคโนโลยี นวัตกรรม ในการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม และมีความหลากหลาย เช่น สื่อธรรมชาติในท้องถิ่น สื่อคอมพิวเตอร์ สื่อการเรียนทางไกล (DLTV) สื่อบทเรียนสำเร็จรูป สื่อแบบฝึกต่าง ๆ สื่อการสอนใน Youtube เป็นต้น รวมทั้งใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในสถานศึกษา เช่น โรงเรือนเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ บ่อปลาดุก โรงเพาะเห็ดนางฟ้า ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น และแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการเรียนการสอนเอื้อต่อการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติได้จริง เช่น การทำขนมไทย การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การทำน้ำพริก เป็นต้น

ครูและบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ ๑๐๐ ทำงานวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ ๑ เรื่อง รวมทั้งครูทำการวัดผลประเมินผลการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการวางแผนการดำเนินงานในการวัดและประเมินผลอย่างเป็นระบบ โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องมือ กำหนดออกแบบแผนการวัดและประเมินผล กำหนดรายละเอียดของเครื่องมือ การดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล รวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพของเครื่องมือก่อนการนำไปใช้จริง มีการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศแสดงข้อมูลผลการวัดและประเมินผลของผู้เรียนเชิงพัฒนาการทั้งรายบุคคล และประเมินในภาพรวมของรายวิชา เพื่อนำข้อมูลจากการประเมินมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุ และปัญหาต่างๆ ใช้เป็นฐานข้อมูลย้อนกลับให้แก่ผู้เรียน ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง นำกลับมาวางแผนในการจัดการเรียนรู้ เพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

จุดเด่นมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

๑. สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิต ดี กล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

๒. ผู้เรียนอ่านหนังสือออกและอ่านคล่อง รวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้ทุกคน สามารถใช้

เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีความรู้เต็มศักยภาพ

๓. ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT)ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ นั้นมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ และระดับเขตพื้นที่การศึกษา รวมไปถึงผลต่างที่เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๖๒

๔. สถานศึกษาส่งเสริมบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ ปรับตกแต่งอาคารและสถานที่ต่างๆ รวมถึงแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนให้มีความเหมาะสมต่อการเรียนรู้

๕. ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ เป็นคนดีและเสียสละเพื่อส่วนรวม ใช้ชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย เข้าใจการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

แบบอย่างที่ดี (Best Practice) หรือนวัตกรรม (Innovation) ของมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

๑. สถานศึกษามีผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่านRTชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศทั้ง ๒ สมรรถนะ

๒. โรงเรียนสะอาด ปลอดภัย มีสภาพแวดล้อมที่ดีช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ นักเรียนมีสุขภาวะที่ดี สะอาด เรียบร้อย ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข มีพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาชักกะเย่อ ได้รับเหรียญรางวัลรองชนะเลิศอันดับ2ของจังหวัด จันทบุรี

๓. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาร้อยละ ๑๐๐

๔. สถานศึกษามีอาคารเรียน อาคารประกอบการเรียน ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ปลอดภัยห้องเรียนสะอาด มีสิ่งอำความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เช่น คอมพิวเตอร์ สัญญาณอินเทอร์เน็ต เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ มีห้องสมุดพร้อมในการสืบค้นและศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม มีแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เช่น บ่อปลาดุก แปลงเกษตร โรงเรืองเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ โรงเพาะเห็ดนางฟ้า สหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียน วัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น

จุดเด่นมาตรฐานที่ 2 ด้านกระบวนการบริหารและจัดการ

๑. สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ชัดเจนและสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ตามความต้องการของชุมชน วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษา นโยบายของรัฐและทันต่อการเปลี่ยนแปลงมีแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ระยะ ๓ ปี แผนกลยุทธ์ประจำปี แผนปฏิบัติการประจาปี คู่มือครูและปฏิทินปฏิบัติงานประจําปี ที่สอดคล้องกับการพัฒนา ผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการวิเคราะห์ SWOT คุณภาพการจัดการศึกษาแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง พร้อมนํามาวางแผนพัฒนาการดําเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมวางแผนงานโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการนิเทศ กํากับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เป็นระบบและต่อเนื่อง ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม

๒. มีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน มีหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเป็นรายวิชาเพิ่มเติมในทุกระดับชั้น ใช้ในการเรียนการสอนให้กับนักเรียน เพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสานึกในการแยกแยะประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม และสร้างพฤติกรรมที่ไม่ยอมรับและไม่ทนต่อการทุจริต

๓. สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โดยแบ่งโครงสร้างการบริหารงานเป็น ๔ งาน ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป มีกระบวนการพัฒนาคุณภาพเชิงระบบตามวงจรเดรมมิ่ง (DEMING CYCLE) เข้ามาจัดการทุกโครงการ ทุกกิจกรรม โดยยึดหลักการความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่าย ด้วยการร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผน ร่วมกันทํา ร่วมกันติดตาม ประเมิน และนำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุง ให้เกิดการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาคุณภาพต่อไปและเพิ่มระดับคุณภาพที่ประสบความสําเร็จ ปรับปรุงคุณภาพที่ยังไม่ได้ตามมาตรฐานหรือเป้าหมายต่อไป จนเกิดการพัฒนาเป็นวงจรคุณภาพที่เกิดมาจากทีมงาน

๔. สถานศึกษามีการดำเนินการบริหารวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้านทุกกลุ่มเป้าหมาย

๕. สถานศึกษามีแผนและมีการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ โดยการส่งเข้าร่วมอบรม หรือ ประชุมเชิงปฎิบัติการต่างๆ

๖. สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และปลอดภัย

๗. สถานศึกษามีการกำกับติดตาม ประเมินผลการบริหารจัดการศึกษาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

แบบอย่างที่ดี (Best Practice) หรือนวัตกรรม (Innovation) ของ มาตรฐานที่ 2 ด้านกระบวนการบริหารและจัดการ

โรงเรียนวัดท่าแคลง มีวัฒนธรรมองค์กร คือ การบริหารโรงเรียน คณะครู บุคลากร และนักเรียนเพื่อการปฏิบัติงานที่เป็นระบบทั้งโรงเรียน โดยใช้รูปแบบ THAKLANG MODEL

T – Teamworkคือ มีการทำงานเป็นทีม

หมายถึง การทำงานที่มุ่งเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนด และวางแผนทิศทางการทำงานในการบริหารจัดการสถานศึกษา และมีความสามัคคีเพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีเป้าหมายเดียวกัน และเต็มใจร่วมกันปฏิบัติภารกิจต่างๆ พร้อมทั้งยอมรับฟังความคิดเห็นของทุกคนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายจนไปสู่ความสำเร็จ

H – Honestyคือ มีความซื่อสัตย์สุจริต

หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และปลูกฝังให้ผู้เรียนตระหนัก และประพฤติตนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ข้อนี้เป็นหลัก เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติในอนาคต

AAccountability คือ มีความรับผิดชอบ

หมายถึง ให้ความสำคัญต่องานที่ตนเองรับผิดชอบให้สำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ พร้อมร่วมรับผิดชอบในภารกิจและเป้าหมายของหน่วยงานและองค์กรวางแผนการดำเนินงาน และปฏิบัติจนบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย

K – Knowledge Management คือ มีทักษะในการจัดการความรู้

หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในสถานศึกษา ชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร เพื่อนำมาใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรและสถานศึกษา เพื่อให้บรรลุความสำเร็จและความมั่นคงในระยะยาว

L – Learning Area คือ มีพื้นที่แห่งการเรียนรู้

หมายถึง การจัดห้องเรียนและโรงเรียนให้เป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ของทุกคน โดยไม่มีใครเป็นเจ้าของเพียงฝ่ายเดียว พร้อมทั้งจัดกิจกรรมที่เน้นให้ นักเรียน ครู ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนได้สามารถเรียนรู้จากกันและกันได้ตลอดเวลา โดยใช้ปรัชญาว่าด้วยเรื่องของความเป็นส่วนรวมและความเป็นสาธารณะ เพื่อเพิ่มกำลังในการดูแลนักเรียนอย่างทั่วถึง ไม่ละเลยนักเรียนคนใดให้อยู่เพียงลำพัง หรือไม่มีส่วนร่วมกับการเรียนรู้ในชั้นเรียน

A – Activities คือมีกิจกรรมที่หลากหลาย

หมายถึง การจัดกิจกรรมให้หลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ คู่กับกิจกรรมส่งเสริมความสุข เนื่องจากการเรียนหนังสือในห้องเรียนอย่างเดียวนั้นอาจไม่เพียงพอต่อความก้าวหน้าในยุคปัจจุบัน ดังผู้เรียนจึงต้องได้เรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมประกอบด้วย เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ และต้องเรียนรู้ จากประสบการณ์จริงนอกห้องเรียน เช่น โครงการห้องเรียนธรรมชาติ ทัศนศึกษานอกสถานที่ เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน และการศึกษาวิถีชีวิตในชุมชน

NNice Network คือ มีเครือข่ายที่เข้มแข็ง

หมายถึง การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ การทำงานเชื่อโยงกับเครือข่าย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ เครือข่ายผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ชุมชน ส่วนราชการทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนนักเรียน

 

G – Good Governance คือ ยึดหลักธรรมาภิบาล

หมายถึง หลักในการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ดี เป็นหลักการบริหารเพื่อการอยู่ร่วมกันในชุมชนและสังคมให้เกิดความสงบสุข



   จุดเด่นมาตรฐานที่ 3 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนมีความตั้งใจ และมุ่งมั่นในการพัฒนาการเรียนการสอน ปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานเต็มเวลาทุกคน มีความเสียสละ อุทิศเวลา พัฒนาตนเองอย่างส่ำเสมอ สามารถใช้เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย โดยจัดโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ให้นักเรียนได้เรียนรู้ โดยกระบวนการคิด ได้ปฏิบัติจริง มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้นักเรียนได้แสวงหาความรู้ จัดห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ มีมุมประสบการณ์ มุมผลงานนักเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนได้รู้จักแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่าง

ต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูทําสื่อการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีมากยิ่งขึ้น

แบบอย่างที่ดี (Best Practice) หรือนวัตกรรม (Innovationมาตรฐานที่ 3 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

 

ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพให้กับผู้เรียน โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เช่น วิทยากรท้องถิ่นสอนทักษะด้านดนตรี ให้ผู้เรียนมีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย กิจกรรมโยคะ โดยการทำวิทยากรที่เชี่ยวชาญทางด้านโยคะมาสอนผู้เรียนให้มีสมาธิมากยิ่งขึ้น โดยดำเนินโครงการพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีการดำเนินงานตามระบบ PDCA ประชุมวางแผนงานทุกส่วนทุกฝ่ายจัดกิจกรรมตามความต้องการของนักเรียน ชุมชนท้องถิ่น และสอดคล้องกับประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่น เพื่อดำเนินงานตามเป้าหมาย กำหนดครูผู้รับผิดชอบ ดำเนินงานตามแผน และมีการประเมินติดตามผล เพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับมาปรุงปรุงพัฒนาแก้ไขมีการจัดตั้งกลุ่มชุมนุมโยคะ ชุมนุมฟุตบอล ชุมนุมคิดเลขเร็ว และชุมนุมการสื่อสารภาษาอังกฤษในสถานศึกษา ตามความสนใจและถนัดของผู้เรียน พัฒนาและจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการฝึกปฏิบัติ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกอย่างเหมาะสมในโอกาสต่างๆ จนนักเรียนสามารถมีทักษะด้านต่างๆตามชุมนุมของตน และเกิดความภาคภูมิใจ ทั้งตัวนักเรียน ชุมชน ผู้ปกครอง นอกจากนี้ผู้เรียนยังมีทักษะชีวิตและอาชีพด้านอื่นๆ เช่น ทักษะด้านการเลี้ยงไก่ไข่ ทักษะด้านการปลูกผักสวนครัว ทักษะการเลี้ยงปลาดุก ทักษะการเพาะเห็ดนางฟ้า โดยฝึกปฏิบัติจนเกิดทักษะ สามารถเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพในอนาคตได้

 

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ผลการประเมินความสามารถในการอ่าน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖

ปีการศึกษา ๒๕๖๓ โรงเรียนวัดท่าแคลง

ชั้น

จำนวนนักเรียน

จำนวนนักเรียนแยกตามระดับคะแนน (เฉพาะนักเรียนปกติ)

การอ่านออกเสียง

การอ่านรู้เรื่อง

ทั้งชั้น

ปกติ

บกพร่อง

ดีมาก

ดี

พอใช้

ปรับ ปรุง

ดีมาก

ดี

พอใช้

ปรับ ปรุง

.

9

9

9

0

 

.

16

16

2

1

1

2

2

10

4

0

.

11

6

5

6

1

5

0

.

๑๓

10

3

2

2

5

3

.

๑๓

8

5

2

6

0

6

1

.

7

5

2

3

2

2

3

รวม

9

54

15

40

11

1

2

8

29

8

0

เฉลี่ย

๙๔.44

82.22

หมายเหตุผลการประเมินการอ่านออกเสียง (ป.๑-๖) อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๙๔.44

ผลการประเมินการอ่านรู้เรื่อง (ป.๑-๖) อยู่ในระดับดีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 82.22

 

 

ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่

ปีการศึกษา ๒๕๖๓

ความสามารถ

คะแนนเฉลี่ยร้อยละ

การอ่านออกเสียง

การอ่านรู้เรื่อง

รวม ๒ สมรรถนะ

ระดับโรงเรียน

๙๐.๒๒

๙๑.๕๕

๙๐.๘๘

ระดับเขตพื้นที่

๗๖.๗๓

๗๓.๐๗

๗๔.๙๑

ระดับประเทศ

๗๔.๑๔

๗๑.๘๖

๗๓.๐๒

ผลการประเมินการอ่านออกเสียง (ป.๑) คิดเป็นร้อยละ 90.22 อยู่ในระดับดีมาก

ผลการประเมินการอ่านรู้เรื่อง (ป.๑) คิดเป็นร้อยละ 91.55 อยู่ในระดับดีมาก

รวม ๒ สมรรถนะ คิดเป็นร้อยละ 90.88 อยู่ในระดับดีมาก

 

เปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน(RT)

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และร้อยละของผลต่างระหว่างปีการศึกษา ๒๕๖๒ – ๒๕๖๓

สมรรถนะ

ปีการศึกษา

๒๕๖๒

ปีการศึกษา

๒๕๖๓

ร้อยละของผลต่าง

ระว่างปีการศึกษา

การอ่านออกเสียง

๕๕.๓๒

๙๐.๒๒

+๓๔.๙๐

การอ่านรู้เรื่อง

๗๕.๑๔

๙๑.๕๕

+๑๖.๔๑

รวม ๒ สมรรถนะ

๖๕.๒๓

๙๐.๘๘

+๒๕.๖๕

ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๓

ความสามารถ

คะแนนเฉลี่ยร้อยละ

ระดับโรงเรียน

ระดับเขตพื้นที่

ระดับสพฐ.

ระดับประเทศ

คณิตศาสตร์

๓๒.๖๐

๔๙.๗๔

๔๑.๓๐

๔๐.๔๗

ภาษาไทย

๔๕.๗๐

๕๓.๑๕

๔๗.๗๖

๔๗.๔๖

รวมทั้ง ๒ ด้าน

๓๙.๑๕

๕๑.๔๔

๔๔.๕๓

๔๓.๙๗

เปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ระหว่าง

ปีการศึกษา ๒๕๖๒๒๕๖๓

ความสามารถ

ปีการศึกษา ๒๕๖๒

ปีการศึกษา ๒๕๖๓

ร้อยละของผลต่างระหว่างปีการศึกษา

ด้านคณิตศาสตร์

๔๑.๒๒

๓๒.๖๐

-๘.๖๒

ด้านภาษาไทย

๕๐.๐๕

๔๕.๗๐

-๔.๓๕

รวมความสามารถเฉลี่ยทั้ง ๒ ด้าน

๔๕.๖๓

๓๙.๑๕

-๖.๔๘


ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา ๒๕๖๓

รายวิชา

คะแนนเฉลี่ย

ระดับโรงเรียน

ระดับ สพฐ.

ระดับประเทศ

ภาษาไทย

๔๖.๗๕

๕๔.๙๖

๕๖.๒๐

คณิตศาสตร์

๒๙.๐๐

๒๘.๕๙

๒๙.๙๙

วิทยาศาสตร์

๓๒.๐๑

๓๗.๖๔

๓๘.๗๘

ภาษาอังกฤษ

๒๘.๕๐

๓๘.๘๗

๔๓.๕๕

รวมคะแนนเฉลี่ย

๓๔.๐๗

๔๐.๐๒

๔๒.๑๓




 

 



เปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET)

ปีการศึกษา ๒๕๖๒ – ๒๕๖๓

รายวิชา

คะแนนเฉลี่ย

ปีการศึกษา ๒๕๖๒

ปีการศึกษา ๒๕๖๓

ผลต่าง

ระหว่างปีการศึกษา

ภาษาไทย

๔๘.๒๕

๔๖.๗๕

-๑.๕๐

คณิตศาสตร์

๓๓.๓๓

๒๙.๐๐

-๔.๓๓

วิทยาศาสตร์

๓๓.๕๐

๓๒.๐๑

-๑.๔๙

ภาษาอังกฤษ

๓๑.๒๕

๒๘.๕๐

-๒.๗๕

เฉลี่ย

๓๖.๕๘

๓๔.๐๗

-๒.๕๑



ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๓

 

ระดับชั้น

จำนวน นร.ทั้งหมด

จำนวน/ร้อยละของนักเรียนตามระดับคุณภาพ

(คุณลักษณะอันพึงประสงค์)

ดีเยี่ยม

ดี

ผ่าน

ไม่ผ่าน

ประถมศึกษาปีที่ ๑

-

-

-

ประถมศึกษาปีที่ ๒

๑๕

๑๐

-

-

ประถมศึกษาปีที่ ๓

๑๐

-

-

ประถมศึกษาปีที่ ๔

๑๓

-

-

ประถมศึกษาปีที่ ๕

๑๓

๑๑

-

-

ประถมศึกษาปีที่ ๖

-

-

รวม

67

53

14

-

-

เฉลี่ยร้อยละ

79.10

20.90

-

-

ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ

๑๐๐

-

-



ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๓

ระดับชั้น

จำนวน นร.ทั้งหมด

จำนวน/ร้อยละของนักเรียนตามระดับคุณภาพ

(การอ่านคิด วิเคราะห์ และเขียน)

ดีเยี่ยม

ดี

ผ่าน

ไม่ผ่าน

ประถมศึกษาปีที่ ๑

-

-

ประถมศึกษาปีที่ ๒

๑๕

-

ประถมศึกษาปีที่ ๓

๑๐

-

ประถมศึกษาปีที่ ๔

๑๓

-

ประถมศึกษาปีที่ ๕

๑๓

-

ประถมศึกษาปีที่ ๖

-

รวม

67

33

15

19

-

เฉลี่ยร้อยละ

49.25

22.39

28.36

-

ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ

71.64

28.36

-

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/1ap4pwM085lJ1ZegJI0l4trK-BJruf7_N/view?usp=sharing