รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดจันทนาราม

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ระดับปฐมวัย
โรงเรียนวัดจันทนาราม ( ศรีรองเมืองอุทิศ ) ตั้งอยู่เลขที่ ตั้งอยู่เลขที่ 1/2 หมู่ 9 ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 รหัสไปรษณีย์ 22000 โทรศัพท์ 039-321662 โทรศัพท์มือถือ – โทรสาร 039-325904 e- mail chantanaram@gmail.com
เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

มีจำนวนนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 43 คน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 386 คน รวมจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 429 คน มีบุคลากรสายบริหาร จำนวน 2 คน และมีข้าราชการครูครูอัตราจ้างและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ จำนวน 63 คน ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนวัดจันทนาราม (ศรีรองเมืองอุทิศ ) ระดับปฐมวัยในภาพรวม อยู่ในระดับดีเลิศ โดยมีกระบวนการพัฒนาและผลการดำเนินงานในแต่ละมาตรฐาน ดังต่อไปนี้ มีการจัดทำหลักสูตร สถานศึกษาระดับปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ตามโครงการพัฒนาหลักสูตร ให้เป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมเน้นการเรียนรู้ผ่านการ เล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองได้แก่การจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น กิจกรรมบูรณาการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กิจกรรมสะเต็มศึกษา กิจกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอนมอนเตสซอรี่ ส่งผลให้โรงเรียนวัดจันทนาราม(ศรีรองเมืองอุทิศ ) มีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่มี ความยืดหยุ่น เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้าน การจัดประสบการณ์โดยโรงเรียนวัดจันทนาราม(ศรีรองเมืองอุทิศ)ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีการพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา ปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการ ออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง ตามโครงการพัฒนาบุคคลากร ส่งผลให้ครูโรงเรียนวัดจันทนาราม(ศรีรองเมืองอุทิศ)มีความรู้ความสามารถด้านการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย รวมทั้งโรงเรียนได้ส่งเสริมให้มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และ พอเพียง มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อ เทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ จากโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ส่งผลให้โรงเรียนวัดจันทนาราม (ศรีรองเมืองอุทิศ) มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียงการให้บริการสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้บริการด้าน สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง และโรงเรียนได้เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ร่วมกันกำหนดมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนดได้มี การจัดทำ แผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผล ตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้ง รายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่าง

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จากการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มาตรฐานการศึกษาโดยรวม อยู่ในระดับ ดีเลิศ มีการดำเนินการบริหารงานทั้ง 5 งาน คืองานบริหารงานวิชาการ งานบริหารแผนงานและงบประมาณ งานบริหารงานบุคคล งานบริหารงานทั่วไป งานบริหารงานการศึกษาพิเศษ และงานอื่นๆ โดยเน้นการ บริหารงานวิชาการ และงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ ซึ่งเป็นงานที่สำคัญและพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับโอกาสย่างทั่วถึง และในมาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพผู้เรียน คุณภาพการ จัดการศึกษา อยู่ในระดับดีเลิศ มีการจัดการคุณภาพผู้เรียนที่มุ่งคุณภาพผลสัมฤทธิ์ และ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ คุณภาพการจัดการศึกษา อยู่ในระดับ ดีเลิศ มีการบริหารจัดการที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน( School Based Management : SBM ) เน้นการทำงานเป็นทีม มีระบบที่เข้มแข็ง และให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสียและมีส่วนร่วมในการบริหาร เพื่อมุ่งหวังให้เกิดความสำเร็จของงานคือคุณภาพที่ดีของนักเรียน มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คุณภาพการจัดการศึกษา อยู่ในระดับ ดีเลิศ ฝ่ายบริหารมีการจัดการนิเทศกำกับติดตาม กระบวนการจัดการเรียนรู้ของคณะครู ให้ครูทุกคนมีความรักความภูมิใจในสถาบันของตนเอง ดูแลเอาใจใส่นักเรียนเสมือนบุตรหลานของตนเอง ให้เกิดกระบวนการครูรักศิษย์และศิษย์ก็รักครู ทุ่มเทเอาใจใส่ในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนโดยไม่ปิดบังอำพราง คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับ ดีเลิศ โรงเรียนวัดจันทนาราม (ศรีรองเมืองอุทิศ)ได้มีการดำเนินการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสะท้อนคิดกระบวนการทำงานในทุกๆภาคเรียนอย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง

เพื่อนำผลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการสะท้อนคิด มาปรับปรุงการทำงานให้ได้ผลดี ยิ่งๆขึ้นไป และโรงเรียนวัดจันทนาราม
(ศรีรองเมืองอุทิศ) เป็นสถานที่ ที่ต้อนรับคณะศึกษาดูงานเกี่ยวกับการจัดการศึกษาพิเศษเรียนรวม ให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแชร์ประสบการณ์

 
 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

 

ระดับปฐมวัย

- บันทึกน้ำหนักส่วนสูง
- สมุดบันทึกพัฒนาการเด็ก
- รายงานการจัดบริการอาหารเสริม(นม) และพัฒนาการทางด้านร่างกาย
- แบบบันทึกสุขภาพประจำตัวนักเรียน
- สรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
- การปฏิบัติกิจกรรมในห้องเรียน
- กิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
- หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย

-โครงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพทางวิชาการเด็กปฐมวัย

-โครงการการบูรณาการจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่

-กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย

-กิจกรรมสะเต็มศึกษา กิจกรรมวันสำคัญ

-กิจกรรมตลาดนัดคุณธรรม

- กิจกรรมคุณธรรม จริยธรรม

-กิจกรรมทักษะอาชีพ

-กิจกรรมโครงงาน 

-โครงการการพัฒนาหลักสูตร

-โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กิจกรรมการเยี่ยมบ้าน

-กิจกรรมพัฒนานวัตรกรรมและสื่อ

-บรรยากาศในชั้นเรียน

-มุมประสบการณ์ต่างๆในห้องเรียน 

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- กิจกรรมปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร
- โครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากร
- กิจกรรม PLC
- โครงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้เรียนระดับปฐมวัย(กิจกรรมจัดหาและผลิตสื่อ)
- กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอก
- บรรยากาศภายในและนอกห้องเรียน
- มุมการจัดประสบการณ์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- โครงการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ
- โครงการพัฒนาหลักสูตร
- โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
- โครงการการขยายโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้กระบวนการ PLC
- โครงการห้องสมุดมีชีวิต
- โครงการพัฒนาระบบข้อมูล สารสนเทศ
- โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
- โครงการโรงเรียนวิธีพุทธ
- โครงการโรงเรียนสุจริต
- โครงการวันสำคัญ
- โครงการส่งเสริมศิลปะ ดนตรีและนาฎศิลป์
- โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
- โครงการโรงเรียนสีขาว
- โครงการส่งเสริมความสัมพันธ์กับชุมชน
- โครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
- โครงการปรับภูมิทัศน์ อาคารประกอบอื่น
- โครงการควบคุมดูแลการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภค
- โครงการปรับปรุงซ่อมแซม ต่อเติมอาคารเรียนและอาคารประกอบ
- แผนการจัดการเรียนรู้
- ภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
- แบบสอบถาม
- ภาพกิจกรรม
- โครงการนิเทศภายในโรงเรียน
- งานวิจัย

ระดับการศึกษาพิเศษ
- แผน IEP
- สมุดบันทึกพัฒนาการเด็ก
- รายงานการจัดบริการอาหารเสริม(นม)
- แบบบันทึกสุขภาพประจำตัวนักเรียน
- สรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
- แบบประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
- การปฏิบัติกิจกรรมในห้องเรียน
- แบบบันทึกผลตามแผน IEP
- ปพ.5,ปพ.6
- กิจกรรมอาชาบำบัด
- กิจกรรมธาราบำบัด
- บันทึกการได้รับทุน
- ใบแสดงความเห็นแพทย์
- แผนพัฒนาการศึกษา
- แผนปฏิบัติการประจำปี
- โรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรวม
- ประชุมผู้ปกครอง
- จัดเป็นห้องเรียนพิเศษโดยเฉพาะ
- เป็นห้องเรียนคู่ขนาน
- กิจกรรม โครงการ
- ผลการแข่งทักษาวิชาการ
- การประชุม อบรม ศึกษาดูงาน
- เป็นสถานศึกษาที่พร้อมต่อการต้อนรับคณะศึกษาดูงานการศึกษาพิเศษ
- ประชุม อบรม สัมมนา และการศึกษาดูงาน
- วิทยาการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองนักเรียน
- การผลิตสื่อ
- การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผน IEP
- แยกห้องเรียนพิเศษโดยเฉพาะ
- มีห้องน้ำในห้องเรียน
- มีทางลาด สำหรับนักเรียนที่นั่งวิลแชร์
- มีสื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
- มีคอมพิวเตอร์ ทีวี
- บันทึกการเยี่ยมบ้าน
- การศึกษาเด็กรายบุคคล
- ทำวิจัย
- ผลิตสื่อ การใช้สื่อ
- ทำแบบฝึก
- มีสื่อ วัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนรู้
- การจัดห้องเรียนแบบกลุ่มสัมพันธ์
- สะอาด มีความปลอดภัย
- ใช้เทคโนโลยี สื่อสิ่งอำนวยความสะดวก แหล่งเรียนรู้
- มีเครื่องมือในการวัดผลประเมินผล
- การเยี่ยมบ้าน
- การจัดทำข้อมูลเด็กรายบุคคล
- ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
- ใช้กระบวนการ PLC ชุมชนแห่งการเรียนรู้
- จัดทำสื่อ แบบฝึก มีผลการพัฒนา
 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

ระดับการศึกษาปฐมวัย



จุดเด่น

1. ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สูงกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด

          2. ผู้เรียนมีทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ และได้รับตราพระราชทานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยอย่างต่อเนื่อง

3.ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

4.ครูจบตรงเอกการศึกษา

กิจกรรมโครงการที่สนับสนุน

          1.โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

          2.โครงการการจัดการเรียนการสอนโดยใกระบวนการPLC

          3.โครงการวันสำคัญ 

จุดที่ควรพัฒนา

1.เด็กบางคนมีพัฒนาการไม่เป็นไปตามวัย

2.ขาดความหลากหลายของกิจกรรมเพื่อสนองตอบความต้องการของแต่ละบุคคล

1.                          3.  ขาดสื่อการเรียนการสอนที่เพียงพอ

2.                          4.  โรงเรียนไม่มีเครื่องเล่นสนาม

3.                          5.  ครูขาดการจัดประสบการณ์สอนในรูปแบบที่หลากหลาย

แนวทางในการพัฒนาในอนาคต

1. ครูจัดกิจกรรมการจัดประสบการณ์ที่เน้นการส่งเสริมทักษะด้านต่างๆ เพื่อพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคล

2. มีการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

3. ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการทำวิจัยและแก้ไขปัญหาโดยใช้กระบวนการวิจัย

4. ส่งเสริมให้ครูจัดทำสื่อนวัตกรรมต่างๆและมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการจัดประสบการณ์

5. พัฒนาสถานศึกษาให้มีความพร้อมและเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีสนามเด็กเล่น โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณ

6. มีการนิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานของครูในการนำไปพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและรายงานผลเพื่อปรับปรุง

โครงการกิจกรรมที่สนับสนุน

1.โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

2.โครงการการจัดการเรียนการสอนโดยใกระบวนการ PLC

3.โครงการวันสำคัญ

4.โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

5.โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

6.โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านร่างกาย

7. โครงการอาหารกลางวัน

8. โครงการพัฒนาทักษะชีวิต

9. กิจกรรมจัดนิทรรศการทางวิชาการ

10. กิจกรรมทักษะอาชีพปฐมวัย

11. กิจกรรมทัศนศึกษาปฐมวัย

12. กิจกรรมส่งเสริมรักการอ่าน

13. โครงการพัฒนาหลักสูตร

14. กิจกรรมวิจัยในชั้นเรียน

15. โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม


ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จุดเด่นมาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน

1. ผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ระดับชาติNTและ O-NETบางกลุ่มสาระสูงกว่าระดับประเทศ

2. ผู้เรียนมีผลการทดสอบความสามารถในการอ่าน (RT) เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา

3. ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกาย และน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน

4. ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

          1. ผู้บริหารมีความมุ่งมั่น ตั้งใจและมีหลักการในการบริหาร และมีวิสัยทัศน์ที่ดีในการบริหารงาน สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน คณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาตามบทบาทหน้าที่

          2. โรงเรียนมีการบริหารและจัดการอย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การระดมสมอง การประชุมกลุ่มย่อย เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหาความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานตามหลักสูตรของสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลาย มีกรนิเทศน์ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และโรงเรียนได้ใช้กระบวนการวิจัยในการรวบรวมข้อมูลมาใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

มาตรฐานที่ 3 ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1. ครูพัฒนาตนเองและมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ อย่างเต็มเวลาและเต็มความสามารถ

2. ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้โดยใช้ สื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

3. ครูให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

4. ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียน เรียนรู้จากการคิด ได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

5. นำผลงานวิจัยในชั้นเรียนของครูทุกคน ที่ได้รับการตรวจประเมิน และคำแนะนำจากคณะกรรมการตรวจงานวิจัย 

จุดที่ควรพัฒนามาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน

1. พัฒนาผู้เรียนให้มีคะแนนลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) มากว่าร้อยละ

50 ทุกกลุ่มสาระที่มีการทดสอบ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

1. ควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนมากขึ้น

2. ควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

มาตรฐานที่ 3ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

          1. ครูควรจัดกิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างหลากหลาย และใช้แหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาตนเอง

          2. ครูควรจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในระดับปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาพิเศษ ให้สามารถนำเสนอ อภิปรายและเลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล และมีทักษะในการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม

          3. ครูควรจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในระดับปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาพิเศษ ให้มีพฤติกรรมและทัศนคติที่ดีต่อความเป็นไทย ไม่หลงไหลในค่านิยมต่างชาติ ทำให้ลืมวัฒนธรรมอันดีงาม

          4. ครูควรจัดการเรียนการสอนด้วนวิธีการที่หลากหลาย สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และฝึกให้ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์และแสวงหาความรู้ จากแหล่งเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ให้มากขึ้น และพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ ห้องปฏิบัติการพิเศษ ให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานเสมอ

แนวทางในการพัฒนาในอนาคต

Ø มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน

1. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

2. พัฒนาผู้เรียนมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ในด้านเทคโนโลยี และทักษะงานอาชีพ

3. จัดกิจกรรมส่งเสริมการนำอาชีพต่างๆ มาสาธิต และนำเสนอ ให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง

4. พัฒนาระบบสารสนเทศของโรงเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้รับบริการ และเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

1. สนับสนุนให้มีการทำวิจัยควบคู่กับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

2. การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ของชุมชน

3. สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีเข้มแข็ง มีคุณภาพ มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

4. พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนและชุมชนระดับการศึกษาพิเศษ

มาตรฐานที่ 3ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1. ส่งเสริมครูให้เห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และจัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ

2. การพัฒนาครูและบุคลากร โดยส่งเสริมให้ครูและบุคลากรให้เข้ารับการอบรมและพัฒนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในงานที่รับมอบหมาย ติดตามผลการนำไปใช้และผลที่เกิดกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

3. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล

    ให้ได้รับการพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ ส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนให้มีการใช้สื่อเทคโนโลยี สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองจาก

    การใช้สื่อนวัตกรรมใหม่ๆให้มากขึ้นและการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3. ครูจัดทำสื่อนวัตกรรมที่หลากหลาย จัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อนำมาพัฒนาผู้เรียนได้เต็มศักยภาพ มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม

4. สนับสนุนและส่งเสริมครูในการอบรมพัฒนาตนเองเพื่อนำกลับมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3. มีการนิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานของครูในการนำไปพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอรายงานผลเป็นระยะๆ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินการให้เป็นปัจจุบัน

โครงการกิจกรรมที่สนับสนุน

     1. โครงการการจัดการเรียนการสอนโดยใกระบวนการ PLC

2. โครงการวันสำคัญ

3.โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

4. โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

5. โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านร่างกาย

6. โครงการประกันคุณภาพภานในสถานศึกษา

7. โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน

                     8. โครงการพัฒนาทักษะชีวิต      
                         9. โครงการส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการ

10. โครงการพัฒนาทักษะสู่ศตวรรษที่ 21

11. โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

12. โครงการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้เพื่อการศึกษาค้นคว้า

13.โครงการโรงเรียนสุจริต

14.โครงการจัดหาสื่อ วัสดุและครุภัณฑ์ทางการศึกษา

15.โครงการงานระบบควบคุมภายในหน่วยงาน

16.โครงการควบคุมและเฝ้าระวังโรคระบาดต่างๆ เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดี

17.โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์อาคารเรียน อาคารประกอบ และสภาพแวดล้อม

18.โครงการงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

19.โครงกรสวัสดิการร้านค้า

20.โครงการสัมพันธ์ชุมชน

21.โครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากร

22.โครงการงานกิจการนักเรียน

23.โครงการพัฒนาทักษะเพื่อการเรียนรู้

24.โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรง

25.โครงการส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี

26.โครงการพัฒนาผู้เรียน

27.โครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

28.โครงการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมคุณภาพในการบริหารจัดการ

29.โครงการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจบุคลากร

30.โครงการงานประชาสัมพันธ์การศึกษา

ระดับการศึกษาพิเศษ

จุดเด่น

ด้านคุณภาพของผู้เรียน

1. ผู้เรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นและเป็นไปตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP) ตามที่กำหนดไว้

2. นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ครบทุกด้าน

3. นักเรียนสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

4. ได้รับโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างเหมาะสม

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

1. ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำสูง

2. เปิดโอกาสให้ ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

3. สร้างองค์กรเครือข่ายทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับ

  นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษอย่างต่อเนื่อง

4. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพได้อย่างเหมาะสม

5. มีระบบดูแลช่วยเหลือ ที่ชัดเจน

ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1. มีแนวทางการให้บริการช่วยเหลือในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตรงตาม ศักยภาพของนักเรียนรายบุคคล อย่างชัดเจน

2. มีการจัดทำโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนอย่างหลากหลายและ ต่อเนื่อง

มีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงของแต่ละบุคคลตามแผนIEP

3. การจัดการเรียนการสอนที่ยึดตามศักยภาพของนักเรียนแต่ละบุคคลและเหมาะสมกับบริบทของชุมชม ท้องถิ่น โดยใช้สื่อภูมิปัญญา ท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน


 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

1.1 ข้อมูลทั่วไป


1. ข้อมูลทั่วไป

ชื่อโรงเรียน วัดจันทนาราม(ศรีรองเมืองอุทิศ)
ที่ตั้ง 1/2 ม. 9 ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัด จันทบุรี สังกัด สพป.จบ.1 
โทร 039-321662 , 097-939-2148      โทรสาร 039-325904 
E-mail : chantanaram@gmail.com 
Website : www.watchanschool.ac.th 

เปิดสอนระดับชั้น ปฐมวัยถึงระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น เนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน

เขตพื้นที่บริการ ม.1 – 5, 8, 9 ตำบลจันทนิมิตและหมู่ 6 ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี

ประวัติโรงเรียนโดยย่อ

ประวัติโรงเรียนวัดจันทนารามฯ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ตั้งอยู่ 1/2 หมู่ 9

ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมืองจันทบุรี จ.จันทบุรี มีเนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน ตัวโรงเรียนเดิมเป็นเรือนไม้ปั้นหยา 2 ชั้น

จุนักเรียนได้ 130 คน ต่อมาโรงเรียนได้งบประมาณจาก กศส. ได้สร้างอาคารเรียนแบบ สปช 105/2529 จำนวน 2 ชั้น 8 ห้องเรียน 
และได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนต่าง ๆ เรื่อยมาจน พ.ศ. 2529 รวมมีอาคารเรียน 4 อาคาร ปี พ.ศ. 2553 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากงบประมาณแปลญัติ 
โดย ส.ส. ธวัธชัย อานามพงษ์

ส.ส. พงษ์เวช เวชชาชีวะ และส.ส.ยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา ได้ก่อสร้างอาคารเอเนกประสงค์ (อาคารโดม)

อาคารอาคารโรงอาหาร ในปี พ.ศ. 2553 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี

ในการก่อสร้างห้องเรียนคู่ขนานและในปี พ.ศ. 2557 ปัจจุบันโรงเรียนวัดจันทนาราม (ศรีรองเมืองอุทิศ)

ได้เปิดทำการสอน 4 ระดับคือ

1.ระดับการศึกษาพิเศษ (เรียนรวม –ชั้นพิเศษ)

2.ระดับก่อนประถมศึกษา (ปฐมวัย 1– 3)

3.ระดับประถมศึกษา (ป.1– 6)

4.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1– 3)

จนถึงปัจจุบันมีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถานศึกษา รวม 13 คน คนปัจจุบันได้แก่

นางสาวพรทิพย์   ตรีสกุลวงษ์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนวัดจันทนาราม(ศรีรองเมืองอุทิศ)  
นางเมตตา  ภัทราภรณ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดจันทนาราม(ศรีรองเมืองอุทิศ) 
ครูประจำการ 47 คน อัตราจ้าง 2 คน พนักงานราชการ 1 คน นักการภารโรง 1 คน 
เจ้าหน้าที่ ธุรการ 1 คน ครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน 1 คน 
พี่เลี้ยงเด็กพิการสำนักงานเขตพื้นที่ 7 คน พี่เลี้ยงเด็กพิการ อบจ.สนับสนุน 9 คน

 

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

ปรัชญาโรงเรียน " ปญฺญา โลกสมฺมิ ปชฺโชโต "ปัญญาคือแสงสว่างในโลก

คำขวัญโรงเรียน "เรียนดี มีวินัย น้ำใจนักกีฬา

อัตลักษณ์ "ยิ้มง่าย ไหว้สวย”

เอกลักษณ์ "การจัดการศึกษาเรียนรวมอย่างมีคุณภาพ”

วิสัยทัศน์ "นักเรียนมีมาตรฐานการเรียนรู้ เคียงคู่การศึกษาพิเศษ เน้นคุณธรรม สัมพันธ์ชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ”

พันธกิจโรงเรียนวัดจันทนาราม(ศรีรองเมืองอุทิศ)

1. จัดการศึกษาให้ได้คุณภาพตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560

2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ และค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ

3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
2 45 1 0 1 1


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

โรงเรียนมีการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ พบว่า สถานศึกษายังไม่สามารถนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากโรงเรียนได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาไม่สอดคล้องกับความ ต้องการของชุมชน ครูไม่เข้าใจการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา และขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งนำมาสู่การปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาฉบับปรับปรุง 2561 ตามนโยบายของกระทรวง ซึ่งโรงเรียนวัดจันทนารามฯ ก็ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรรายสาระ ต่อเนื่องมาจนถึง ปีการศึกษา 2563 นี้

มีการพัฒนาหลักสูตรแบบอิงมาตรฐานตาม หลักสูตรแกนกลางฯ สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ โดยยึดหลักสำคัญดังนี้
1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียนและท้องถิ่น
2. เพื่อให้มีหลักสูตรสถานศึกษาและกิจกรรมที่หลากหลายเลือกเรียนตามความสนใจ
3. เพื่อส่งเสริมให้ครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความถนัด และความสามารถของผู้เรียน และจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน
4. ครูสามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม

ขอบข่ายงานพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน หน้าที่และความรับผิดชอบ
1. ศึกษาวิเคราะห์เอกสารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการของสังคม ชุมชน
และท้องถิ่น
2.จัดทำโครงสร้างหลักสูตรและสนับสนุนให้ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้จัดทำหลักสูตรของทุกกลุ่มสาระ โดยให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ
เป้าหมายและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
3.ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับพัฒนาหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดการประเมินผล
ตลอดจนแนะแนวให้สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4.รวบรวมหลักสูตรของโรงเรียนและกลุ่มสาระต่างๆ เพื่อใช้ในการประเมินและปรับปรุง
5.ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจความถนัดของผู้เรียน ฝึกทักษะ กระบวนการคิด
การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ การประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อป้องกันและไขปัญหา การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง และการปฏิบัติจริง ค่านิยม
ที่ดีงามและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระกิจกรรม ทั้งนี้โดยจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อ
การจัดกระบวนการเรียนรู้
6.นิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการใช้หลักสูตร และส่งเสริมให้ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรตามความเหมาะสม
7.ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ตามสาระและหน่วยการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
8.ส่งเสริมให้ครูจัดทำผลงานวิชาการ เพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ
9.จัดให้มีการนิเทศและตรวจสอบแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระ
10.จัดให้มีการนิเทศการเรียนการสอนแก่ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเน้นการนิเทศที่ร่วมมือช่วยเหลือกันแบบกัลยาณมิตร
11.ประสานงานความร่วมมือกับกลุ่มสาระในวงการแผน มอบหมายและกำหนดครูผู้สอนในรายวิชาต่างๆ ตรงตามวุฒิการศึกษาและความรู้
ความสามารถ
12.จัดทำเอกสาร ตารางสอนครู ตารางเรียนของนักเรียน ตารางสอนประจำชั้น และตารางสอนซ่อมเสริมของนักเรียนทุกชั้น
13.ติดตาม ดูแลการสอน การสอนซ่อมเสริมทั้งตามตารางและนอกตารางสอน
14.ประสานงานการจัดรายวิชาเพิ่มเติมและวางแผนจัดระบบการเลือกวิชาเพิ่มเติมของนักเรียนช่วงชั้นที่3
15. จัดให้ครูเข้าสอนตรงและเต็มเวลารวมทั้งจัดครูเข้าสอนแทนในกรณีที่ครูประจำวิชาไม่อยู่ไปราชการ หรือลากิจ ลาป่วย
16.ประสานความร่วมมือกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ในการส่งเสริมและสนับสนุนครู/นักเรียนเข้าร่วมการประกวดแข่งขันในกิจกรรมต่างๆ
กับหน่วยงานภายนอก
17.ส่งเสริมให้มีการพัฒนาครูเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามความเหมาะสม เช่น ส่งครูเข้าร่วมการอบรม/ประชุมสัมมนาต่างๆ
18.จัดหา/จัดซื้อ วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ของกลุ่มบริหารวิชาการโดยประสานกับงานพัสดุโรงเรียน
19.อำนวยความสะดวกและให้บริการวัสดุอุปกรณ์สำนักงานแก่ครูที่มาใช้บริการงานวิชาการ
20. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ

กิจกรรมจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
- จัดทำหลักสูตรของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้รวบรวมหลักสูตรของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และนำมาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

มีการประเมินติดตามการใช้หลักสูตร
- สรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการประเมินผลกิจกรรม
- มีการจัดทำหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม คอมพิวเตอร์ และการจัดทำหลักสุตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น ในเรื่องของ ต้นชะมวง
ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีมากในจังหวัดจันทบุรี

งานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
เป็นงานที่เกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา ตั้งแต่การจัดทำหลักสูตร การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร ตลอดถึงการประเมินผลการใช้หลักสูตร มีงานที่ต้องดำเนินการต่อไปนี้
1. งานทบทวนหลักสูตรขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา
เป็นการตรวจสอบหลักสูตรของสถานศึกษาที่ใช้อยู่ เพื่อปรับปรุงแก้ไข ให้ทันต่อสถานการณ์ และความเปลี่ยนแปลง
2. งานที่ต้องดำเนินการ
-การใช้หลักสูตรสถานศึกษา
-ศึกษาข้อบกพร่องของหลักสูตร

การใช้หลักสูตรสถานศึกษา
1. ให้บุคลากรในโรงเรียน คือครูผู้ทำการสอนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดทำบันทึกเกี่ยวกับปัญหาของการใช้หลักสูตร และข้อเสนอแนะในการ
แก้ปัญหา รวมทั้งการเพิ่มเติม หรือตัดทอนเนื้อหาสาระ การปรับปรุงคุณภาพผู้เรียน และมาตรฐานการเรียนรู้
2. กลุ่มงานวิชาการของสถานศึกษาเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาปัญหาและข้อเสนอแนะของครูผู้สอน ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
(อาจให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตรของสถานศึกษาดำเนินการ) เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร แนวการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
และคู่มือการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสถานศึกษา ศึกษาข้อบกพร่องของหลักสูตร

โครงสร้างเวลาเรียนระดับประถมศึกษา

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม

เวลาเรียน

ระดับประถมศึกษา

ป.๑

ป.๒

ป.๓

ป.๔

ป.๕

ป.๖

— กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

ภาษาไทย

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

คณิตศาสตร์

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

วิทยาศาสตร์

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

สังคมศึกษา ศาสนา

และวัฒนธรรม

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

ประวัติศาสตร์

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

สุขศึกษาและพลศึกษา

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

ศิลปะ

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

๔๐

๔๐

๔๐

๘๐

๘๐

๘๐

ภาษาต่างประเทศ

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๘๐

๘๐

๘๐

รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

—รายวิชา เพิ่มเติม

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

๘๐

- หน้าที่พลเมือง

- คอมพิวเตอร์

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

— กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 

™ กิจกรรมแนะแนว

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

๔๐

™ กิจกรรมนักเรียน

- ลูกเสือ -เนตรนารี

- ชุมนุม

๔๐

 

๓๐

๔๐

 

๓๐

๔๐

 

๓๐

๔๐

 

๓๐

๔๐

 

๓๐

๔๐

 

๓๐

™ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

๑๐

รวมเวลากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

รวมเวลาทั้งหมด

,๐๔๐ ชั่วโมง

,๐๔๐ ชั่วโมง


โครงสร้างเวลาเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม

เวลาเรียน

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ม.๑

ม.๒

ม.๓

· กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย

๑๒๐ (๓ นก.)

๑๒๐ (๓ นก.)

๑๒๐ (๓ นก.)

คณิตศาสตร์

๑๒๐ (๓ นก.)

๑๒๐ (๓ นก.)

๑๒๐ (๓ นก.)

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

o วิทยาการคำนวณ

o ออกแบบและเทคโนโลยี

๑๒๐ (๓ นก.)

๒๐ (๐.๕ นก.)

๒๐ (๐.๕ นก.)

๑๒๐ (๓ นก.)

๒๐ (๐.๕ นก.)

๒๐ (๐.๕ นก.)

๑๒๐ (๓ นก.)

๒๐ (๐.๕ นก.)

๒๐ (๐.๕ นก.)

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

o ประวัติศาสตร์

๑๒๐ (๓ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

๑๒๐ (๓ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

๑๒๐ (๓ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

สุขศึกษา

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

พลศึกษา

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

ศิลปะ

๘๐ (๒ นก.)

๘๐ (๒ นก.)

๘๐ (๒ นก.)

การงานอาชีพ

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

๘๐ (๒ นก.)

ภาษาต่างประเทศ

๑๒๐ (๓ นก.)

๑๒๐ (๓ นก.)

๑๒๐ (๓ นก.)

รวมเวลาเรียน(พื้นฐาน)

๘๘๐

๘๘๐

๘๘๐

· รายวิชาเพิ่มเติม

- หน้าที่พลเมือง ๑-๖

- คอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ ๑-๖

- คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ๑-๖

- วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ๕-๖

- งานช่าง ๑-๖

 

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

 

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

 

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

๔๐ (๑ นก.)

รวมเวลาเรียนรายวิชาเพิ่มเติม

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

· กิจกรรมเพิ่มเติม

- หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

 

๔๐

 

๔๐

 

๔๐

· กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

· กิจกรรมแนะแนว

๔๐

๔๐

๔๐

· กิจกรรมนักเรียน

- ลูกเสือ เนตรนารี

๔๐

๔๐

๔๐

- ชุมนุมห้องสมุด ๑-๖

๔๐

๔๐

๔๐

· กิจกรรมเพื่อสังคมและ

สาธารณประโยชน์

(๒๐)

(๒๐)

(๒๐)

รวมเวลาเรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑๖๐

๑๖๐

๑๖๐

รวมเวลาทั้งหมด

๑,๒๔๐

๑,๒๔๐

๑,๒๔๐


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)

ข้อมูลด้านอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งปลูกสร้างอื่น

รายการ

จำนวน

หลัง

ห้อง

1.อาคารเรียน แบบ สปช.105/29 (สร้าง พ.ศ. 2535)

1

8

2.อาคารเรียน แบบ สปช.2/28 (สร้าง พ.ศ. 2535)

1

9

3.อาคารเรียน แบบ สปช.105/29 (สร้าง พ.ศ. 2543)

1

6

4.อาคารเรียน แบบ สร้างเอง (สร้าง พ.ศ. 2554)

1

1

5.อาคารเรียน แบบ สปช.105/29 (ปรับปรุง) (พ.ศ. 2562)

1

12

6.อาคารเรียน แบบ สปช.105/29 (สร้างพ.ศ. 2558)

1

4

7.อาคารอเนกประสงค์ แบบสร้างเอง (สร้าง พ.ศ. 2553)

1

1

8.อาคารอเนกประสงค์ แบบสร้างเอง (สร้าง พ.ศ. 2553)

1

1

9.ส้วม แบบ อื่นๆ (สร้าง พ.ศ. 2529)

1

5


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1oyc--E8TRHHfL0CIdLqojByhuUBSQJM0/view?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

จำนวนนักเรียนที่ใช้แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ปีการศึกษา 2563

ระดับชั้น

ห้องสมุดโรงเรียน/ครั้ง

ห้องคอมพิวเตอร์
/ครั้ง

ร้านค้าสหกรณ์/ครั้ง

ห้องดนตรี-นาฎศิลป์/ครั้ง

ห้องวิทยาศาสตร์
/ครั้ง

โดมโรงเรียน
/ครั้ง

โรงอาหาร
/ครั้ง

ห้องพยาบาล /ครั้ง

ห้องเรียนคู่ขนาน

10

10

50

-

-

50

90

1

ห้องเสริมวิชาการ อนุบาล-ป.1

2

-

-

-

-

-

-

-

ห้องเสริมวิชาการ ป.2

10

-

5

-

-

20

10

3

ห้องเสริมวิชาการ ป.3 ป. 4

20

20

10

-

-

20

100

10

ห้องเสริมวิชาการ ป.5 - ป.6

3

-

10

1

-

20

5

-

ห้องเสริมวิชาการ ม.1-ม.2

20

34

10

-

-

20

100

10

ห้องเสริมวิชาการ ม.-3

20

30

2

-

-

20

-

1



หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1yoXn9e774K-rmVimJJCvXlILyWaBau5w/view?usp=sharing
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

วิธีการพัฒนา

โรงเรียนวัดจันทนารามมีกระบวนการพัฒนาเด็กด้วยการจัดประสบการณ์การการเรียนรู้ที่หลากหลายส่งเสริมการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของเด็กและตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช ๒๕๖๐ และสนับสนุนเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชนเข้ามาส่วนช่วยในการจัดการศึกษามีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบจากแผนปฏิบัติงานประจำปี จากกระบวนการดังกล่าวส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญาเป็นไปตามวัย และสมดุลรอบด้าน
ผลการดำเนินงาน  
ผลการดำเนินงาน

จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพของเด็ก ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานที่ ๑ภาพรวมคิดเป็นร้อยละ ๘๙.๙๘ อยู่ในระดับ ดีเลิศ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

พัฒนาการด้านร่างกาย

- เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ ร้อยละ ๘๘.๐๘

โดยมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย คิดเป็นร้อยละ ๘๗.๘๙ เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่วทรงตัวได้ดี ใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดี คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๔๗ ดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตัวและปฏิบัติจนเป็นนิสัยคิดเป็นร้อยละ ๙๖.๑๖ และปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับความปลอดภัยหลีกเลี่ยงสภาวะเสี่ยงโรค สิ่งสพติดและระวังภัยจากบุคคล สิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตรายคิดเป็นร้อยละ ๘๒.๗๙

สังเกตได้จากแบบบันทึกประเมินพัฒนาการ บันทึกน้ำหนักส่วนสูง บันทึกการดื่มนม บันทึกอาหารกลางวัน บันทึกตรวจสุขภาพ การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย แบบสรุปภาวะโภชนาการและการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน

พัฒนาการด้านอารมณ์อารมณ์ จิตใจ

- เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ ร้อยละ ๙๒.๐๕ โดยเด็กร่าเริงแจ่มใสแสดงอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ร้อยละ ๘๕.๘๐ รู้จักยับยั้งชั่งใจอดทนในการรอคอยร้อยละ ๙๑.๐๗ ยอมรับและพอใจในความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่นร้อยละ ๑๐๐ มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดีมีความมั่นใจกล้าพูดกล้าแสดงออก ร้อยละ ๘๓.๑๒ ช่วยเหลือแบ่งปัน เคารพสิทธิ รู้หน้าที่ รับผิดชอบอดทนอดกลั้น ซื่อสัตย์สุจริตร้อยละ ๙๐.๔๗ ชื่นชมและมีความสุขกับศิลปะดนตรีและการเคลื่อนไหวร้อยละ ๙๕.๘๓

สังเกตได้จากแบบบันทึกประเมินพัฒนาการ การกล้าพูด กล้าแสดงออก รู้จักเข้าแถว รอคอยรู้จักหน้าที่ของตนเอง ความรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมายทั้งในและนอกห้องเรียนการช่วยเหลือแบ่งปันและการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในห้องเรียน

พัฒนาการด้านสังคม

- เด็กมีพัฒนการด้านสังคมช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้ ร้อยละ ๙๔.๙๒ โดยสามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมีวินัยในตนเองประหยัดและพอเพียงร้อยละ ๙๗.๙๑ มีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียนร้อยละ ๙๔.๔๐ มีมารยาทวัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้ การยิ้มทักทายและมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ร้อยละ ๙๖.๔๙ ยอมรับหรือเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น ความคิด พฤติกรรม พื้นฐานครอบครัวเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมร้อยละ ๑๐๐ เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้แก้ไขขัดแย้ง โดยปราศจากการใช้ความรุนแรงร้อยละ ๘๕.๘๐

สังเกตได้จาก การช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเช่น การรับประทานอาหาร การเก็บของใช้ส่วนตัวและส่วนรวมเข้าที่ การรักษาความสะอาดภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ความมีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย เช่นการไหว้ การยิ้มทักทายและมีสัมมาคารวะ การปฏิบัติตนอยู่รวมกันภายในห้องเรียน การทำงานและการเล่นเป็นกลุ่ม และแบบบันทึกประเมินพัฒนาการ

พัฒนาการด้านสติปัญญา

-เด็กมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ ร้อยละ ๘๔.๘๙ โดยเด็กสามารถสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจร้อยละ ๘๑.๐๔ สามารถอ่านนิทานและเล่าเรื่องที่ตนเองอ่านได้เหมาะสมกับวัยร้อยละ ๘๓.๑๒ มีความสามารถในการคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การคิดแก้ปัญหาและความสามารถร้อยละ ๘๕.๘๐ สามารถสร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการเช่น งานศิลปะ การเคลื่อนไหว ท่าทางการเล่นอิสระร้อยละ ๘๘.๗๑ สามารถใช้เทคโนโลยี เช่นแว่นขาย แม่หล็ก กล้องดิจิตอลเป็นต้นเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ได้ร้อยละ ๘๕.๘๐

สังเกตได้จาก การประเมินพัฒนาการ ผลงานของเด็ก และแบบบันทึกประเมินพัฒนาการสรุปโครงการ กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กิจกรรมวิทยาการคำนวณ กิจกรรมสะเต็ม โครงงานวิทยาศาสตร์
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/17OGpnkGZNr-MuL92W8CcTZn1eeYvmqrY/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

วิธีการพัฒนา

สถานศึกษามีการดำเนินงานด้านการบริหารและจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างเป็นระบบโดยมีการวิเคราะห์สภาพปัญหาที่ผ่านมา ทั้งด้านงานวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านข้อมูลสารสนเทศ ด้านสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้โดยมีการวางแผนร่วมกัน กำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่นและหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผน คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๓๖
ผลการดำเนินงาน  
ผลการพัฒนา

- สถานศึกษามีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่ยืดหยุ่นสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช ๒๕๖๐ คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๕๕

- มีครูครบชั้นตั้งแต่ชั้นอนุบาล ๑-๓ และจบตรงเอกการศึกษาปฐมวัยและผ่านการอบรมด้านการจัดประสบการณ์อย่างเพียง คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๖๖

- ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ โดยให้ครูทุกคนได้รับการพัฒนาเพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการออกแบบการจัดกิจกรรม การสังเกต และประเมินพัฒนาการเด็กคิดเป็นร้อยละ ๘๘.๐๐

- มีสื่อการเรียนรู้ที่ช่วยสนับสนุนการจัดประสบการณ์ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ปลอดภัย และมีมุมประสบการณ์หลากหลายคิดเป็นร้อยละ ๙๒.๐๐

- ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ ๘๖.๖๖

- มีระบบบริหารคุณภาพที่ดีมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย อัตลักษณ์ และจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ดำเนินตามแผน ประเมินผล และตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาและรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี นำผลไปปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเปิดโอกาสให้ชุมชนผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมคิดเป็นร้อยละ ๙๓.๓๓
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/17OGpnkGZNr-MuL92W8CcTZn1eeYvmqrY/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

วิธีการพัฒนา

การจัดการศึกษาปฐมวัยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มตามศักยภาพ เห็นได้จาก มีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และหลักสูตรของสถานศึกษา จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ เพื่อให้สัมพันธ์กับพัฒนาการและความต้องการของเด็กตามวัย และบริบทของท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครอบคลุมครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก ๖ กิจกรรมประจำวันและยังมีการจัดประสบการณ์อื่นๆที่หลากหลายสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการจัดกิจกรรมและการนอนหลับพักผ่อน มีมุมเสริมประสบการณ์ต่างๆ การจัดแต่งห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยตามสภาพจริงจากการจัดประสบการณ์และการจัดกิจวัตรประจำวัน จากการสังเกต การสอบถามและการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและนำผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพเด็กร่วมกัน คิดเป็นร้อยละ ๘๗.๒๑

 

ผลการดำเนินงาน  
ผลที่เกิดจากการพัฒนา

- ครูมีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพโดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลเด็กรายบุคคล จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้านทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญาอย่างสมดุล คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๘๘

-ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ลงมือทำด้วยตนเองส่งผลให้เกิดองค์ความรู้ด้วยตนเองคิดเป็นร้อยละ ๘๖.๖๖

-จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อ และเทคโนโลยีเหมาะสมกับวัยโดยห้องเรียนมีความสะอาด อากาศถ่ายเทและปลอดภัย มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก มีมุมประสบการณ์และจัดกิจกรรม การมีส่วนร่วมของเด็กในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน และครูใช้สื่อและเทคโนโลยีเหมาะสมกับช่วงอายุ ระยะความสนใจและวิถีการเรียนรู้ของเด็กคิดเป็นร้อยละ ๘๕.๓๓

-มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัมนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาการเด็กโดยด้วยเครื่องมือและวิธีที่หลากหลาย โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม นำผลการประเมินไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์ส่งผลให้การจัดประสบการณ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นคิดเป็นร้อยละ ๘๘.๐๐
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/17OGpnkGZNr-MuL92W8CcTZn1eeYvmqrY/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

 

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพเด็ก
๑.ระดับคุณภาพ ดีเลิศ
โรงเรียนวัดจันทนารามมีกระบวนการพัฒนาเด็กด้วยการจัดประสบการณ์การการเรียนรู้ที่หลากหลายส่งเสริมการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของเด็กและตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช ๒๕๖๐ และสนับสนุนเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชนเข้ามาส่วนช่วยในการจัดการศึกษามีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบจากแผนปฏิบัติงานประจำปี จากกระบวนการดังกล่าวส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญาเป็นไปตามวัย และสมดุลรอบด้าน

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ
๑.ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
- สถานศึกษามีการดำเนินงานด้านการบริหารและจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างเป็นระบบโดยมีการวิเคราะห์สภาพปัญหาที่ผ่านมา ทั้งด้านงานวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านข้อมูลสารสนเทศ ด้านสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้โดยมีการวางแผนร่วมกัน กำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่นและหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผน คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๓๖

มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
๑.ระดับคุณภาพ ดีเลิศ
- การจัดการศึกษาปฐมวัยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มตามศักยภาพ เห็นได้จาก มีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และหลักสูตรของสถานศึกษา จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ เพื่อให้สัมพันธ์กับพัฒนาการและความต้องการของเด็กตามวัย และบริบทของท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครอบคลุมครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก ๖ กิจกรรมประจำวันและยังมีการจัดประสบการณ์อื่นๆที่หลากหลายสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการจัดกิจกรรมและการนอนหลับพักผ่อน มีมุมเสริมประสบการณ์ต่างๆ การจัดแต่งห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยตามสภาพจริงจากการจัดประสบการณ์และการจัดกิจวัตรประจำวัน จากการสังเกต การสอบถามและการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและนำผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพเด็กร่วมกัน คิดเป็นร้อยละ ๘๗.๒๑
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

 

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพเด็ก
๑.ระดับคุณภาพ ดีเลิศ
- โรงเรียนเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย กิจกรรมสะเต็ม กิจกรรมวิทยาการคำนวณ และได้นำกิจกรรมการทดลองมาใช้บูรณาการการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลาย

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ
๑.ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
- สถานศึกษามีการวางแผนและดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานครอบคลุมเพื่อรักษาระดับคุณภาพอย่างเหมาะสมชัดเจนและต่อเนื่อง
- ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำสูงและเข้าใจบริบทของการจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นอย่างดี
- มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน
- ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ

มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
๑.ระดับคุณภาพ ดีเลิศ
- เด็กมีพัฒนาการอย่างสมดุล
- เด็กเรียนรู้จากการเล่นและการปฏิบัติ
- มีบรรยากาศที่เอื้อต่กการเรียนรู้
- ครูได้รับการพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในสายงานอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีการพัฒนาและเด็กมีความพร้อมในการเรียนรู้
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/17OGpnkGZNr-MuL92W8CcTZn1eeYvmqrY/view?usp=sharing
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ   3
กระบวนการพัฒนา  


วิธีการพัฒนา

โรงเรียนวัดจันทนาราม (ศรีรองเมืองอุทิศ) มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูผู้สอนจัดกระบวนการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียน เป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) มีออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนหลากหลายวิธี เน้นการอ่านออกเขียนได้ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดคำนวณ การสื่อสาร และทักษะการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ อย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล โดยยึดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2560 พร้อมทั้งการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบโครงงาน รูปแบบ Stem Education รูปแบบ Active leaning แบบใช้กระบวนการคิดกระบวนการแก้ปัญหาเป็นหลัก ส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จากกิจกรรมต่างของทางโรงเรียน เช่น กิจกรรมวันสุนทรภู่ กิจกรรมวันภาษาไทย กิจกรรมวันคริสต์มาส กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด เป็นต้นมีกระบวนการพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษาทุกคน ให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมทั้งการร่วมกิจกรรม PLC (Professional Learning Community) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการแก้ปัญหา พัฒนานักเรียนหรือกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

 

ผลการดำเนินงาน  
ผลที่เกิดจากการพัฒนา

จากการประเมินผลพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนในภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 81.01 อยู่ใน ระดับดี ซึ่งผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ คิดเป็นร้อยละ81.85 การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล คิดเป็นร้อยละ 84.18 ผู้เรียนสามารถรวบรวมความรู้ เชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ผลิตชิ้นงานหรือนวัตกรรม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คิดเป็นร้อยละ 86.87 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาและความก้าวหน้าในผลการทดสอบระดับชาติคิดเป็นร้อยละ 65.15 รวมทั้งผู้เรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่อการศึกษาต่อและงานอาชีพ คิดเป็นร้อยละ92.59
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1UAXcYCNrZvc3OElH7N8--aDfH0bzl9l6/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

            กระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน โดยความร่วมมือของครูและการกำกับติดตาม โดยผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อปรับปรุงผลการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษาให้สูงขึ้น โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีความหลากหลายทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชา และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการนำภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาร่วมกันจัดทำหลักสูตรและวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ผู้เรียนสามารถรวบรวมความรู้ เชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในโลกกว้างจากการค้นคว้าในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้สถานศึกษายังมีกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ สร้างเจตคติค่านิยมที่ดีต่อการเลือกประกอบอาชีพที่สุจริต เป็นการสร้างความพร้อมในการศึกษา หรือการฝึกปฏิบัติงานแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมและความสามารถทางการคิด และมีทักษะพื้นฐานในการสร้างนวัตกรรม


            นอกจากนี้โรงเรียนวัดจันทนาราม (ศรีรองเมืองอุทิศ) ยังมีการจัดกิจกรรมที่เน้นพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมที่มีความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ และค่านิยมที่ดีงาม มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย สามารถอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างอย่างหลากหลายได้ รู้ทันสื่อและสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ เน้นให้ผู้เรียนมีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะ ส่งเสริมให้ผู้เรียนออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคมอย่างเหมาะสม สามารถหลีกเลี่ยงตนเองออกจากสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัยพิบัติและสารเสพติดได้
ผลการดำเนินงาน  
            คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนคิดเป็นร้อยละ 96.04อยู่ใน ระดับยอดเยี่ยม ผู้เรียนคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ผู้เรียนมีการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย มีสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์และสังคมอย่างเหมาะสม สามารถหลีกเลี่ยงตนเองออกจากสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัยพิบัติ และสารเสพติดได้ ทั้งนี้มีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์จากการประเมินในด้านต่างๆ
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1UAXcYCNrZvc3OElH7N8--aDfH0bzl9l6/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  3
กระบวนการพัฒนา  

            สถานศึกษามีการดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถตรงตามมาตรฐานวิชาชีพ มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน กำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษา มีการมอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนา และสรุปผลการดำเนินงาน นำผลการดำเนินงานที่มีปัญหามาวางแผนการพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป

ผลการดำเนินงาน  
ผลที่เกิดจากการพัฒนา

1. การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน สถานศึกษามีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาสถานศึกษา

หลักฐานเชิงประจักษ์ : แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ2563

2. ระบบบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา

- สถานศึกษามีการวางแผน และดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานครอบคลุม

หลักฐานเชิงประจักษ์ : หลักสูตรสถานศึกษาปี 2563 ,แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ2563,โครงการจัดหาสื่อและครุภัณฑ์ทางการศึกษา เป็นต้น

- การวางแผนและดำเนินการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

หลักฐานเชิงประจักษ์: กิจกรรมศึกษาดูงาน, กิจกรรมส่งเสริมบุคลากรเข้ารับการพัฒนาตนเอง,เกียรติบัตรการอบรม,โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

3. ดำเนินงานพัฒนาวิชาการ เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย

หลักฐานเชิงประจักษ์ : หลักสูตรสถานศึกษาปี 2563,โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์, โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้สู่มาตรฐานการเรียนรวม,โครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ

4. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

หลักฐานเชิงประจักษ์: กิจกรรมศึกษาดูงาน, กิจกรรมส่งเสริมบุคลากรเข้ารับการพัฒนาตนเอง,เกียรติบัตรการอบรม

5. จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

หลักฐานเชิงประจักษ์: โครงการปรับภูมิทัศน์ อาคารประกอบอื่น ,โครงการปรับปรุงซ่อมแซม ต่อเติมอาคารเรียนและอาคารประกอบ, โครงการห้องสมุดมีชีวิต

6. จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัยสอดคล้องกับนโยบายของสพฐ. และการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนในเรื่องของระบบข้อมูล สารสนเทศ ซึ่งจะส่งผลไปสู่การพัฒนาข้อเสนอแนะในด้านการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลอย่างเป็นระบบ

หลักฐานเชิงประจักษ์ : โครงการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ,เว็บไซต์โรงเรียน,เพจโรงเรียน,วารสาร ข่าวประชาสัมพันธ์,การจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี,สื่อการเรียนการสอน
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
  https://drive.google.com/file/d/1qRTo-0koKS-ieAl8g4yKyPiaxCCJsVrK/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  5
กระบวนการพัฒนา  

วิธีการพัฒนา

ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ซึ่งมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริง มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เฉพาะสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นและต้องการความช่วยเหลือพิเศษ โดยผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะ แสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงาน มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้เด็กรักครู ให้ครูรักเด็ก เด็กรักเด็กและเด็กรักที่จะเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยมีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือและวิธีการวัด ประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน เพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ อีกทั้งครูและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ผลการดำเนินงาน  
ผลที่เกิดการจากพัฒนา

1. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาและจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญาอย่างสมดุล

2. ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติกิจกรรม มีการใช้สื่อเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้เกิดองค์ความรู้ด้วยตัวเอง

3. ครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยการเน้นปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้เด็กรักครู ให้ครูรักเด็ก จัดบรรยากาศภายในและภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้

4. ครูประเมินผู้เรียนจากสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการกำหนดขั้นตอนการวัดประเมินความรู้ ความเข้าใจอย่างเป็นระบบ นำผลการประเมินไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์ ส่งผลให้กรจัดประสบการณ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

5.ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1gHK7xo1jlPZSos5cpAkys-XhaVeJRFoR/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานที่ 1คุณภาพผู้เรียน
1. ระดับคุณภาพ ดี
โรงเรียนวัดจันทนาราม (ศรีรองเมืองอุทิศ) มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูผู้สอนจัดกระบวนการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียน เป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) มีออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนหลากหลายวิธี เน้นการอ่านออกเขียนได้ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดคำนวณ การสื่อสาร และทักษะการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ อย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล โดยยึดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2560 พร้อมทั้งการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบโครงงาน รูปแบบ Stem Education รูปแบบ Active leaning แบบใช้กระบวนการคิดกระบวนการแก้ปัญหาเป็นหลัก ส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จากกิจกรรมต่างของทางโรงเรียน เช่น กิจกรรมวันสุนทรภู่ กิจกรรมวันภาษาไทย กิจกรรมวันคริสต์มาส กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด เป็นต้นมีกระบวนการพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษาทุกคน ให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมทั้งการร่วมกิจกรรม PLC (Professional Learning Community) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการแก้ปัญหา พัฒนานักเรียนหรือกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
ระดับคุณภาพ ดี
สถานศึกษามีการดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถตรงตามมาตรฐานวิชาชีพ มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน กำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษา มีการมอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนา และสรุปผลการดำเนินงาน นำผลการดำเนินงานที่มีปัญหามาวางแผนการพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ซึ่งมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริงมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เฉพาะสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นและต้องการความช่วยเหลือพิเศษ โดยผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะ แสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงาน มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้เด็กรักครู ให้ครูรักเด็ก เด็กรักเด็กและเด็กรักที่จะเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยมีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือและวิธีการวัด ประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน เพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ อีกทั้งครูและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้


ระดับการศึกษาพิเศษ
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน
1.ระดับคุณภาพ ดีเลิศ
โรงเรียนวัดจันทนาราม(ศรีรองเมืองอุทิศ)ได้ดำเนินงานจัดการศึกษาให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่สถานศึกษากำหนด มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างหลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านทักษะวิชาการ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคม นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดีสามารถช่วยเหลือตนเองและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ทางโรงเรียนมีการจัดทำสื่อสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน โดยมุ่งเน้นในเรื่องความปลอดภัย การมุ่งเน้นพัฒนาตามศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคล นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับนักเรียนปกติที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น และได้แสดงศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ เรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ทางโรงเรียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะอย่างหลากหลาย และครอบคลุมทุกทักษะในการพัฒนาการตามศักยภาพของนักเรียนแต่ละบุคคล เช่น กิจกรรมอาชาบำบัด ทักษะอาชีพ การเปิดโลกทัศน์โดยการเรียนรู้ ทั้งใน และนอกสถานที่ให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาการของนักเรียน

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
1.ระดับคุณภาพ ดีเลิศ
ผู้บริหารโรงเรียนวัดจันทนาราม(ศรีรองเมืองอุทิศ) มีวิสัยทัศน์ ในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวม มีการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ใช้หลักการกระจายอำนาจการบริหารจัดการตามโครงสร้างการบริหารงาน 5 ฝ่าย มีการ ปฏิบัติงานตามบทบาทภารกิจของโรงเรียนเรียนรวมและโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรวม สนับสนุนการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความ ช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำรับคนพิการ บริหารจัดการการศึกษาสำหรับคนพิการให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด ไว้ในแผน IEP และแผนปฏิบัติการ ของโรงเรียนประจำปีการศึกษา ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครู บุคลากร ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องให้ มีส่วนร่วม ในการพัฒนาผู้เรียน การจัดให้มีการขยายผลความรู้ จากการไป ประชุมสัมมนา จัดให้มีการศึกษาดูงานสถานศึกษา และหน่วยงานที่เป็นแบบอย่างด้านต่างๆ ส่งเสริมให้บุคลากรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มงานของตนเองและครูผู้สอนเด็กปกติ รวมทั้งประสานงานกับศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด หน่วยงานท้องถิ่น ในการของบประมาณและในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียน เพื่อให้ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องพึงพอใจผลการจัดการศึกษา

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.ระดับคุณภาพ ดีเลิศ
1. มีการพัฒนาอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนวัดจันทนาราม(ศรีรองเมืองอุทิศ)โดยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ อย่างเหมาะสม
2. มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้รับการพัฒนาตามศักยภาพของตนเองอย่างเหมาะสมและหลากหลาย
3. จัดให้มีสื่อเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อการเรียนรู้ การบริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เพียงพอต่อความต้องการ
4. จัดระบบการดูแลช่วยเหลือและส่งเสริมสนับสนุน การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลให้สอดคล้องต่อความจำเป็นของนักเรียน
5. การจัดทำบันทึกพฤติกรรมนักเรียนรายบุคคล เพื่อหาแนวทางพัฒนาและแก้ไขอย่างต่อเนื่อง
6. เน้นการจัดการเรียนการสอนตามศักยภาพของนักเรียนรายบุคคล
ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานที่ 1คุณภาพผู้เรียน
ระดับคุณภาพ ดี
1. นักเรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และมีเจตคติที่ดี พร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้นและการทำงานหรืองานอาชีพ
2. นักเรียนมีความสามารถในใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมปลอดภัย สามารถทำงานอย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรม
3. นักเรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด
4. นักเรียนความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ วัฒนธรรม ประเพณีไทย รวมทั้งภูมิปัญญาไทย
5. การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย สามารถอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้าน เพศ วัย เชื้อชาติศาสนา ภาษาวัฒนธรรม ประเพณี ได้อย่างมีความสุข
6. นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐาน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและให้เกียรติผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่มีความขัดแย้งกับผู้อื่น

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
ระดับคุณภาพ ดี
สถานศึกษามีการวางแผน และดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานครอบคลุม ประเด็นหลักทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อรักษาระดับคุณภาพดีมาก อย่างเหมาะสม ชัดเจน ต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริมพัฒนา สถานศึกษาให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปการศึกษา โดยนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ประชุมกลุ่มเพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหาความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียน มีคุณภาพ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตามหลักสูตรสถานศึกษา ตรงวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาชาติ

มาตรฐานที่ 3กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
- ครูผู้สอนมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาการสอนโดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้คิดและลงมือปฏิบัติจริง
- มีการใช้วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
- ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเอง โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ

ระดับการศึกษาพิเศษ
มาตรฐานที่1 คุณภาพผู้เรียน
ระดับคุณภาพ ดีเลิศ

ผลที่เกิดจากการพัฒนา
1. ผู้เรียนมีพัฒนาการตามที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ร้อยละ 85 ขึ้นไป
2. ผู้เรียนสามารถช่วยเหลือตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ร้อยละ 85 ขึ้นไป
3. ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ร้อยละ 85 ขึ้นไป
4. นักเรียนมีผลการพัฒนาที่ดีขึ้นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล ที่ได้แสดงออกถึงความรู้ ความสามารถ ทักษะตามที่ระบุไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
5. ผู้เรียนได้รับบริการและเข้าถึง เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่น ใดทางการศึกษา อย่างทั่วถึงและครอบคลุม ตามระดับพัฒนาการของแต่ละบุคคล
6.ผู้เรียนได้รับบริการช่วงเชื่อมต่อ หรือการส่งต่อขึ้นไปเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น
7. มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญ และค่านิยมที่ดี ตามที่สถานศึกษากำหนด
8. นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ได้เรียนรู้ตามศักยภาพ และทำกิจกรรมร่วมกับเด็กปกติทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียนได้อย่างมีความสุข ใช้ชีวิตประจำวันและอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข ได้รับการยอมรับจากสังคมทั้งในด้านพฤติกรรมที่น่าชื่นชม การมีมารยาทที่ดี พูดจาไพเราะ มีสัมมาคาระ ต่อบุคคลที่ได้พบอย่างสม่ำเสมอ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
ระดับคุณภาพ ดีเลิศ

ผลที่เกิดจากการพัฒนา
1.ให้โอกาสและส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพที่กำหนดไว้ ด้วยรูปแบบที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการอย่างทั่วถึงและความเสมอภาคทางการเรียน
2.ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีสมรรถนะสำคัญ และมีทักษะในการดำรงชีวิตเพื่อการอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข
3.ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชน ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเรียนรวม
4.ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างเหมาะสม
5.จัดหา และสนับสนุน สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาและจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ รวมทั้งผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6.ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนา การบริหารจัดการศึกษาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ทางโรงเรียนกำหนดไว้

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.ระดับคุณภาพ ดีเลิศ

ผลที่เกิดจากการพัฒนา
1. ให้บริการช่วยเหลือที่สอดคล้องกับความจำเป็นสำหรับนักเรียนรายบุคคล โดยการจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IEP)
2. มีการพัฒนาอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ภายใน ภายนอก ที่สนับสนุน ส่งเสริมให้ครูบุคลากร นำนักเรียน เข้าไปใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอก ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และมีการกำกับ ติดตาม ประเมินผล การรายงานผลการดำเนินการอย่างชัดเจน
3. นักเรียนได้รับการพัฒนาด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา และกิจกรรมตามประเพณีวัฒนธรรม
4. มีสื่อเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อการจัดการเรียนรู้ การให้บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษอย่างเพียงพอ
5. มีการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ตามกระบวนการทางการศึกษา อย่างต่อเนื่องและชัดเจน
6. มีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลในโรงเรียน(IEP online) ได้ครอบคลุมกับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษทุกคน
7.นักเรียนได้รับการพัฒนาตรงตามศักยภาพรายบุคคล และสามารถเรียนรู้และช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้ตามศักยภาพของตนเอง
ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/11ANstLWiBnoLzUeHWsAhN5EZ_L0VLvXu/view?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/1AKirSAlvgZcWI_zFHFTQDVttxbggxT3c/view?usp=sharing