1.ประเภทแหล่งเรียนรู้ | ||||||||||||
|
||||||||||||
รูปภาพแสดงกิจกรรมการใช้แหล่งเรียนรู้ | ||||||||||||
พิกัดแหล่งเรียนรู้ | ||||||||||||
2. วัตถุประสงค์/องค์ความรู้ | ||||||||||||
1. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของโบราณสถานเมืองเพนียด 2. เพื่อให้นักเรียนได้รู้และเห็นคุณค่าความสำคัญของสถานที่ทางประวัติศาสตร์ 3. เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาสถาปัตยกรรม ของโบราณสถานเมืองเพนียด |
||||||||||||
3. รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ | ||||||||||||
1. เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถเดินศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง 2. เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ โดยมีครูและผู้มีความรู้ในชุมชนเป็นผู้ให้ความรู้ |
||||||||||||
4. กิจกรรมหรือวิธีการที่ใช้ | ||||||||||||
1. พานักเรียนเดินชมโบราณสถานเมืองเพนียด พร้อมทั้งอธิบายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของโบราณสถานเมืองเพนียด 2. ให้นักเรียนศึกษาแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม 3. ให้นักเรียนวาดภาพแหล่งเรียนรู้ ที่ตนเองสนใจ คนละ 1 ภาพพร้อมทั้งอธิบาย 4. ให้นักเรียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้แหล่งเรียนรู้ เป็น Mind Map |
||||||||||||
5. วิธีการวัดผลและรวบรวมข้อมูล | ||||||||||||
1. ตรวจสอบจากใบงานของนักเรียน 2. สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม |
||||||||||||
6. สาระการเรียนรู้ | ||||||||||||
1. สาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2. สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3. สาระการเรียนรู้ศิลปะ |
||||||||||||
7. มาตรฐานการเรียนรู้ | ||||||||||||
1. มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ 2. มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรง รักษา ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข 3. มาตรฐาน ศ 3.1 เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่า นาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน |
||||||||||||
8. ตัวชี้วัด | ||||||||||||
1. มาตรฐาน ท 3.1 ป.1/1, ป.1/5, ป.2/2, ป.2/7, ป.3/2, ป.3/6, ป.4/2, ป.4/6, ป.5/1, ป.5/3, ป.5/5, ป.6/1, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/6 2. มาตรฐาน ส 2.1 ป.1/1, ป.2/2, ป.3/1, ป.3/2, ป.4/1, ป.4/4, ป.5/3, ป.5/4, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4 3. มาตรฐาน ศ 3.1 ป.1/3, ป.2/5, ป.3/4, ป.4/5, ป.5/4, ป.5/6, ป.6/5 |
||||||||||||
9. องค์ความรู้ | ||||||||||||
พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านโดยการรวบรวมของท่านพระครูจารุเขมากร เจ้าอาวาสวัดทองทั่ว โดยรวบรวมชาวบ้านทำการวิจัยเก็บข้อมูล ในปี 2549 และได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2550 โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นายพนัส แก้วลาย ทับหลังถาราบริวัต ทับหลังถาราบริวัต มาจากคำว่า “ธาราปริวัตต์” แปลว่า น้ำวน ซึ่งพบศิลปะรูปแบบนี้ครั้งแรกที่บริเวณปากแม่น้ำ เซ (SE SAN) ซึ่งเป็นที่น้ำวน ทางตอนใต้ของลาว จากคำบอกเล่าทับหลังชิ้นนี้เดิมอยู่ที่เนินเพนียดล้าง มีสภาพแตกหักเหลืออยู่ราวสามในสี่ส่วน แสดงรูปมกรขนาดใหญ่ ที่ปลายของทับหลังมกรหันหน้าเข้าด้านใน มกรอาจมีรูปบุคคลขี่ แต่ชำรุดลบเลือน เบื้องล่างของมกรยังไม่มีฐานมารองรับ มกรคายวงโค้งสองวง ตรงกลางที่วงโค้งมาบรรจบกัน มีวงกลมรูปไข่หรือเหรียญ 1 วง ภายในมีครุฑหยุดนาค 2 ตัว ครุฑมีลักษณะพุงพลุ้ย สวมตุ้มหูวงกลมขนาดใหญ่ ภายในวงโค้งทั้งสองมีลายพวงมาลัยสลับกับลายพวงอุบะ จากลักษณะรูปแบบ กำหนดอายุราว พุทธศตวรรษที่ 12 ทับหลังศิลปะแบบไพรกเมง มีสภาพแตกหักเหลืออยู่ราวสามในสี่ส่วน สลักภาพพฤกษาขนาดใหญ่ ที่ปลายของ ทับหลังทั้งสองข้าง เป็นลายวงโค้งที่เคยเป็นที่นิยมในศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก ได้กลายเป็นแนวเส้นตรง วงรูปไข่ทั้งสามวง (เหลือเพียง 2 วง) กลายเป็นดอกไม้ขนาดใหญ่ เหนือแนวเส้นตรงมีใบไม้รูปสามเหลี่ยมตั้งขึ้น ภายใต้แนวเส้นตรงแสดงลายพวงมาลัยสลับกับลายพวงอุบะ โดยพวงอุบะทุกพวงมีขนาดเท่ากัน และภายในพวงมาลัยมีลายใบไม้รูปสามเหลี่ยมเพียงใบเดียวประดับอยู่ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 |
||||||||||||
10. ใช้กับระดับชั้น | ||||||||||||
อนุบาล 2 - ประถมศึกษาปีที่ 6 | ||||||||||||
เอกสารหลักสูตร | ||||||||||||
https://drive.google.com/file/d/1Ti2zBETDKduMv-_Z0ocSEgcvMrS0vpM4/view?usp=sharing | ||||||||||||
วีดีโอการใช้แหล่งเรียนรู้ | ||||||||||||
https://youtu.be/bpgjp1hg7mQ |
การเปิดดูข้อมูล | 100 ครั้ง |
บทเรียนออนไลน์ | มี |
จำนวนผู้เข้าใช้บทเรียน | 200 คน |
คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย | 4.50 |
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
Powered By www.chan1.net