อู่ต่อเรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
1.ประเภทแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ
แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น
แหล่งเรียนรู้ทางประว้ติศาสตร์
บุคคล (ผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ความสามารถ คุณธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น)
อื่น ๆ ระบุ
รูปภาพแสดงกิจกรรมการใช้แหล่งเรียนรู้

พิกัดแหล่งเรียนรู้
2. วัตถุประสงค์/องค์ความรู้
1. เพื่อส่งแสริมให้นักเรียนเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ในการกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ความเป็นมาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของจังหวัดจันทบุรี
3. เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการสืบค้นเรื่องราวในท้องถิ่นจากหลักฐานที่พบในท้องถิ่น
4. เพื่อให้เกิดความรักชาติและสำนึกรักบ้านเกิดของตนเอง
3. รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้
รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาและท้องถิ่น มี 7 ขั้นตอน คือ APISIDE ดังนี้
1) การวิเคราะห์ กำหนดจุดประสงค์จากผลการเรียนที่คาดหวังให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และได้รับประสบการณ์ใดบ้างจากบทเรียนนั้น เพื่อจะได้สร้างสื่อ หรือเลือก แหล่งเรียนรู้ ให้สัมพันธ์กับจุดมุ่งประสงค์และกิจกรรมการเรียนการสอน
2) การวางแผน ศึกษาผู้เรียนโดยพิจารณาถึงวัย ระดับชั้น ความรู้ ประสบการณ์ และความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกใช้แหล่งเรียนรู้
3) การจัดการเรียนรู้ ศึกษาธรรมชาติของเนื้อหา สาระ ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แต่ละเรื่อง อาจมีลักษณะเฉพาะบางเรื่องด้วยการปฏิบัติจริง หรือเรียนรู้จริง ดูการสาธิตจาก ภูมิปัญญาท้องถิ่น และบางเรื่องต้องอาศัยจากการสืบค้นข้อมูล การฟัง การดู และการอ่าน
4) การให้บริการ การจัดประสบการณ์เรียนรู้แก่ผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง
5) การสร้างนวัตกรรมและการเชื่อมโยงความรู้สู่สากล
6) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้
7) การประเมินผลและเผยแพร่ หาประสิทธิภาพของสื่อและแหล่งเรียนรู้ โดยการปรับปรุงสื่อที่จัดไว้ เพื่อเป็นการปรับคุณภาพของสื่อว่าเหมาะสม ในการนำไปใช้
4. กิจกรรมหรือวิธีการที่ใช้
วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method)
เป็นวิธีสอนที่ฝึกให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ โดยใช้กระบวนการทางความคิดหาเหตุผล จะค้นพบความรู้ หรือแนวทางแกปัญหาที่ถูกต้องด้วยตนเอง โดยผู้สอนตั้งคําถามกระตุ้นให้นักเรียนใช้ความคิด หาวิธีการแกปัญหาได้เองและสามารถนําการแก้ปัญหามาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ มีความม่งหมายเพื่อ
1. เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนทําการค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง
2. เพื่อฝึกให้นักเรียนคิดอยางมีเหตุผล
3. เพื่อฝึกให้นักเรียนใช้ความคิดหาวิธีการแกปัญหาได้เอง
บทบาทของครูในการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ คือ
1. ป้อนคําถามนักเรียนเพื่อนําไปสู่การค้นคว้า ครูจะต้องรู้จักป้อนคําถาม จะต้องรู้ว่าถามอย่างไร นักเรียนจึงจะเกิดความคิด
2. เมื่อได้ตัวปัญหาแล้วให้นักเรียนทั้งชั้นอภิปรายวางแผนแก้ปัญหากำหนดวิธีแก้ปัญหาเอง
3. ถ้าปัญหาใดยากเกินไป นักเรียนไม่สามารถวางแผนแก้ปัญหาได้ ครูกับนักเรียนอาจร่วมกันหาทางแก้ปัญหาต่อไป
ขั้นตอนในการสอน
วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ประกอบด้วยขั้นต่างๆ 4 ขั้นคือ
ขั้นที่ 1 การสังเกต (Observation) นักเรียนสังเกตสภาพการณ์หรือสิ่งแวดล้อมอันเป็นปัญหา พยายามนําความคิดรวบยอดเดิมมาแปลความหมาย ทําความเข้าใจจัดโครงสร้างความคิดในรูปแบบต่างๆเพื่อให้สอดคล้องสัมพันธ์กับสภาพการณ์อันเป็นปัญหานั้น
ขั้นที่ 2 การอธิบาย (Explanation) นักเรียนจัดโครงสร้างความคิด ตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบาย คิดทบทวนหรือทําความเข้าใจปัญหานั้นๆให้ชัดเจน เปลี่ยนแปลงโครงสร้างความคิดหลายๆรูปแบบเพื่ออธิบายทําความเข้าใจปัญหา
ขั้นที่ 3 การทํานาย (Prediction) เมื่อจัดโครงสร้างความคิดหลายๆรูปแบบหรืออธิบายปัญหาแล้วมองเห็นแนวทาง มีความเข้าใจ สามารถทํานายได้ว่าเมื่อเป็นเช่นนี้ ผลจะเป็นอย่างไร อะไรจะเกิดขึ้น
ขั้นที่ 4 ขั้นการนําไปใช้และสร้างสรรค์ (Control and Creativity) สามารถทําความเข้าใจได้ แก้ปัญหาได้ สามารถคิดกว้างไกลออกไปในการใช้ประโยชน์กว้างขวางคิดสร้างสรรค์นําไปใช้ในสภาพการณ์ต่างๆไม่จํากัดอยู่เพียงแต่การแก้ปัญหาได้ หรือพอใจเพียงแต่การแก้ปัญหาได้เท่านั้น
5. วิธีการวัดผลและรวบรวมข้อมูล
การประเมินผลตามสภาพจริง กระบวนการสังเกต บันทึกและการรวบรวมข้อมูลจากผลงาน ชิ้นงาน การตรวจแบบฝึกหัด วิธีการหรือสิ่งที่ผู้เรียนปฏิบัติ เพื่อเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจต่อตัวผู้เรียน เน้นประเมินทักษะการคิดที่ซับซ้อนในการทำงาน ความสามารถในการแก้ปัญหาและการแสดงออกที่เกิดจาการปฏิบัติในสภาพจริง ในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วย
6. สาระการเรียนรู้
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
7. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ

มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย
8. ตัวชี้วัด
ส 4.1 ป.4/3 แยกแยะประเภทหลักฐานที่ใช้ในการศึกษาความเป็นมาของท้องถิ่น
ส 4.1 ป.5/1 สืบค้นความเป็นมาของท้องถิ่นโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย
ส 4.1 ป.5/2 รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อตอบคำถามทางประวัติศาสตร์อย่างมีเหตุผล
ส 4.1 ป.5/3 อธิบายความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่น
ส 4.3 ป.5/3 บอกประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญสมัยอยุธยาและธนบุรีที่น่าภาคภูมิใจ
ส 4.1 ป.6/1 อธิบายความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษา เรื่องราวทางประวัติศาสตร์อย่างง่าย ๆ








9. องค์ความรู้
นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ความเป็นมาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของจังหวัดจันทบุรี คืออู่ต่อเรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือ
อู่ต่อเรือเสม็ดงาม ทำให้มีความเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ในการกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเห็นความสำคัญของการสืบค้นเรื่องราวในท้องถิ่นจากหลักฐานต่างๆที่พบในท้องถิ่น ทำให้เกิดความรักชาติและสำนึกรักบ้านเกิดของตนเอง
10. ใช้กับระดับชั้น
ป.4-6
เอกสารหลักสูตร
https://drive.google.com/drive/folders/1697pGOUcBpOgQ3sg9kg6RMxr0-6HRCQ-?usp=sharing
วีดีโอการใช้แหล่งเรียนรู้
https://www.youtube.com/watch?v=YQebdMDRGII

ข้อมูลสถิติ

การเปิดดูข้อมูล   100 ครั้ง
บทเรียนออนไลน์   มี
จำนวนผู้เข้าใช้บทเรียน   200 คน
คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย   4.50

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
Powered By www.chan1.net