1.ประเภทแหล่งเรียนรู้ | ||||||||||||
|
||||||||||||
รูปภาพแสดงกิจกรรมการใช้แหล่งเรียนรู้ | ||||||||||||
พิกัดแหล่งเรียนรู้ | ||||||||||||
2. วัตถุประสงค์/องค์ความรู้ | ||||||||||||
1. เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของค่ายเนินวงจันทบุรี 2. เพื่อให้นักเรียนทราบถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตของชาวจันทบุรีในสมัยประวัติศาสตร์ 3. เพื่อให้นักเรียนทราบถึงสภาพภูมิประเทศ เศรษฐกิจของจังหวัดจันทบุรี 4. เพื่อให้นักเรียนตระหนัก และเห็นคุณค่าของประวัติศาสตร์จังหวัดจันทบุรี |
||||||||||||
3. รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ | ||||||||||||
เป็นการสำรวจค่ายเนินวงโดยมีวิทยากร ครู หรือผู้มีความรู้ของชุมชนให้ความรู้ | ||||||||||||
4. กิจกรรมหรือวิธีการที่ใช้ | ||||||||||||
1. แบ่งกลุ่มการเรียนรู้ โดยนักเรียนเริ่มศึกษาจากจุดใดก่อนก็ได้ ตามที่ครูกำหนด 2. นักเรียนจดบันทึก สำรวจ สิ่งที่เรียนรู้จากค่ายเนินวงลงในใบงาน เป็นรายบุคคล 3. ตัวแทนนักเรียนออกมานำเสนอสิ่งที่เรียนรู้หน้าชั้นเรียน 4. นักเรียนสรุปสิ่งที่เรียนรู้เป็นรายบุคคล โดยใช้วิธีการเขียน mind mapping |
||||||||||||
5. วิธีการวัดผลและรวบรวมข้อมูล | ||||||||||||
1. ตรวจสอบจากใบงานที่ครูแจกให้ทำ 2. นำเสนอความรู้หน้าชั้นเรียน 3. สังเกตนักเรียนจากการปฏิบัติกิจกรรม 4. ผลงานการเขียน mind mapping |
||||||||||||
6. สาระการเรียนรู้ | ||||||||||||
1. สาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2. สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3. สาระการเรียนรู้ศิลปะ |
||||||||||||
7. มาตรฐานการเรียนรู้ | ||||||||||||
1. มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ 2. มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรง รักษา ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข 3. มาตรฐาน ศ 3.1 เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่า นาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน |
||||||||||||
8. ตัวชี้วัด | ||||||||||||
1. มาตรฐาน ท 3.1 ป.1/1, ป.1/5, ป.2/2, ป.2/7, ป.3/2, ป.3/6, ป.4/2, ป.4/6, ป.5/1, ป.5/3, ป.5/5, ป.6/1, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/6 2. มาตรฐาน ส 2.1 ป.1/1, ป.2/2, ป.3/1, ป.3/2, ป.4/1, ป.4/4, ป.5/3, ป.5/4, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4 3. มาตรฐาน ศ 3.1 ป.1/3, ป.2/5, ป.3/4, ป.4/5, ป.5/4, ป.5/6, ป.6/5 |
||||||||||||
9. องค์ความรู้ | ||||||||||||
โบราณสถานค่ายเนินวง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ที่มีมานานกว่า 180 ปี เป็นอดีตเมืองเก่าของจันทบุรี และเป็นป้อมปราการที่แข็งแรงที่สุดทางภาคตะวันออกในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ค่ายเนินวงอยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง แวะได้สะดวก สามารถขับรถเข้าไปภายในค่ายและชมสถานที่ที่น่าสนใจอื่นๆ ภายในค่ายได้ เช่น ศาลหลักเมืองเก่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี และวัดโยธานิมิต โบราณสถานค่ายเนินวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองจันทบุรี ในตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ค่ายเนินวงสร้างขึ้นภายหลังเหตุการณ์ที่ไทยเกิดกรณีพิพาทกับญวน ในปี พ.ศ. 2369 หรือที่รู้จักกันว่าช่วง "กบฎเจ้าอนุวงศ์*" พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงมีรับสั่งให้สร้างฐานทัพในเมืองจันทบุรี และย้ายตัวเมืองมาที่ค่ายเนินวง เพื่อเป็นที่มั่นในการรบ เพราะเกรงว่าอาจมีชาวญวนอาจบุกเข้ามายึดหัวเมืองทางภาคตะวันออก ก่อนที่จะมีการสร้างค่ายเนินวง ตัวเมืองจันทบุรีเดิม ตั้งอยู่ตำบลบ้านลุ่ม ทางริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำจันทบุรี เพราะมีภูมิประเทศเหมาะกับการอยู่อาศัย ขณะที่เกิดเหตุการณ์บาดหมางกับญวน รัชกาลที่ 3 ทรงเกรงว่า ญวนอาจจะเข้ามาบุกยึดเมืองจันทบุรีได้โดยง่าย จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาคลัง เดินทางมายังเมืองจันทบุรี เพื่อหาชัยภูมิใหม่ให้เหมาะกับการตั้งรับศึกจากญวน เจ้าพระยาคลังเห็นว่าบ้านเนินวง มีลักษณะเป็นเนินสูงบริเวณเชิงเขา สามารถมองเห็นข้าศึกได้ในระยะไกล เป็นพื้นที่เหมาะกับยุทธศาสตร์การรบ จึงลงมือสร้างเมืองป้อมเนินวงขึ้น เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2377 ค่ายเนินวง มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาดประมาณ 270 ไร่ สร้างเป็นป้อมค่ายโดยก่อด้วยดิน สูงประมาณ 6 เมตร เป็นดินที่ขุดคูรอบค่ายขึ้นมาเป็นเนินดิน และก่อกำแพงศิลาแลงด้านบน อิฐและศิลาแลงที่ใช้ นำมาจากกำแพงเมืองจันทบุรีเดิม บนสันแนวกำแพงด้านบนทำเป็นช่องเสมา และวางปืนใหญ่ตามช่องกำแพง ด้านหน้าและด้านหลัง มีปืนใหญ่ทั้งหมดจำนวน 44 กระบอก กำแพงแต่ละด้านทำประตูเชิงเทินหอรบ ด้านละ 2 ประตู รวม 8 ประตู และมีประตูช้างอีก 1 ประตู ที่ประตูได้ก่ออิฐบังเชิงเทินไว้ทั้งสองข้าง ประตูเมืองเดิมเป็นอาคารไม้ มุงกระเบื้องทรงไทย อยู่เหนือประตู ภายหลังในปี พ.ศ.2516 ได้บูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่ ทำเป็นป้อมคอนกรีตเสริมเหล็กทรง 8 เหลี่ยม ภายในค่ายเมือง มีการสร้างคลังดินปืน คลังอาวุธ สำหรับเก็บกระสุนปืนใหญ่ ขุดสระ สร้างศาลหลักเมือง และสร้างวัดโยธานิมิต ให้เป็นวัดประจำเมือง เมื่อสร้างค่ายเสร็จแล้ว ชาวเมืองส่วนใหญ่ไม่อยากย้ายมายังเนินวง เนื่องจากเป็นที่ที่อยู่ไกลจากแหล่งน้ำ จึงยังคงอาศัยอยู่ในถิ่นฐานเดิม ส่วนที่ย้ายเข้ามามักเป็นหน่วยงานราชการ จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการจัดรูปแบบการปกครองใหม่ และเห็นว่าผู้คนไม่นิยมอยู่ที่เนินวง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองกลับไปยังบ้านลุ่มเหมือนเดิม และกลายเป็นตัวเมืองจันทบุรีมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบัน โบราณสถานค่ายเนินวงได้รับการบูรณะโดยกรมศิลปากร ประตูป้อมค่ายด้านหน้าสามารถเดินขึ้นไปชมบริเวณกำแพง ที่ยังคงวางปืนใหญ่ไว้ตามลักษณะเดิมๆ จากจุดด้านบน จะมองเห็นวิวได้ไกลถึงปากแม่น้ำจันทบุรี ภายในค่ายมีเส้นทางที่นำรถยนต์ขับชมพื้นที่ได้โดยรอบ บรรยากาศภายในค่าย มีต้นไม้ร่มรื่น กำแพง และประตูค่ายด้านอื่นๆ อาจมีต้นไม้ขึ้นบดบังจนแทบไม่เห็นเค้าโครงเดิมแล้ว |
||||||||||||
10. ใช้กับระดับชั้น | ||||||||||||
ประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 | ||||||||||||
เอกสารหลักสูตร | ||||||||||||
https://drive.google.com/file/d/1qdmU5Hs-OfHhcTL9O2xxSbAd5Z0z3J_F/view?usp=sharing | ||||||||||||
วีดีโอการใช้แหล่งเรียนรู้ | ||||||||||||
https://www.thaieducation.net/v/uhLUiK2fFN |
การเปิดดูข้อมูล | 100 ครั้ง |
บทเรียนออนไลน์ | มี |
จำนวนผู้เข้าใช้บทเรียน | 200 คน |
คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย | 4.50 |
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
Powered By www.chan1.net