1.ประเภทแหล่งเรียนรู้ |
|
รูปภาพแสดงกิจกรรมการใช้แหล่งเรียนรู้ |
|
พิกัดแหล่งเรียนรู้ |
|
2. วัตถุประสงค์/องค์ความรู้ |
1.เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของสถานที่แหล่งเรียนรู้
2.เพื่อให้นักเรียนทราบถึงสถานที่สำคัญในชุมชน
3.เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงคุฯค่าของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
4.เพื่อให้นักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้เบื้องต้นของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ให้ผู้ที่สนใจได้ |
3. รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ |
- ศึกษาแหล่งเรียนรู้ โดยการบรรยายของครู วิทยากร ผู้มีความรู้ในแหล่งเรียนรู้ |
4. กิจกรรมหรือวิธีการที่ใช้ |
- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยการทัฒนศึกษาแล่งเรียนรู้ในชุมชน มีการจดบันทึกข้อมูล รายละเอียดของแหล่งเรียนรู้
- กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาชุมชน |
5. วิธีการวัดผลและรวบรวมข้อมูล |
1.ใบงานการศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
2.แบบสอบถามความพึงพอใจ |
6. สาระการเรียนรู้ |
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
7. มาตรฐานการเรียนรู้ |
มาตรฐานส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ |
8. ตัวชี้วัด |
ตัวชี้วัด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ป.1/1 ระบุสิ้นค้าและบริการที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
ป.1/2 ยกตัวอย่างการใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวันที่ไม่เกินตัวและเห็นประโยชน์ของการออม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ป.2/1 ระบุทรัพยากรที่นำมาผลิตสินค้าและบริการที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ป.2/2 บอกที่มาของรายได้และรายจ่างของตนเองและครอบครัว
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ป.3/1 จำแนกความต้องการและความจำเป็นในการใช้สินค้าและบริการในการดำรงชีวิต
ป.3/2 วิเคราะห์การใช้จ่ายของตนเอง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ป.4/1 ระบุปัจจัยที่มีผลตาอการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
ป.4/2 อธิบายหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ป.5/1 อธิบายปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ
ป.5/2 อธิบายหลักการสำคัญและประโยชน์ของสหกรณ์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ป.6/1 อธิบายบทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบ
ป.6/2 บอกวิธีและประโยชน์ของการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ม.1/1 อธิบายความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
ม1/2 อธิบายความเป็นมาหลักการและความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ม.2/1 วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการงทุนและการออม
ม2/2 อภิปรายแนวทางการคุ้มครองสิทธิของตนเองในฐานะผู้บริโภค
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ม.3/1 อธิบายกลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ
ม3/2 วิเคราะห์ความสำพันธ์ระหว่างแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์
|
9. องค์ความรู้ |
ประวัติสวนร่วมสมัย
เนื้อที่ทั้งหมด ๕๒ ไร่ อยู่ห่างจากถนนสายหลัก ๒ กิโลเมตร ภูมิลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ดินร่วนปนทราย พื้นที่ข้างเคียงเป็นสวนผลไม้ สวนมะม่วงหิมพานต์ สวนยางพารา และคลองหินเพลิง ภายในศูนย์เรียนรู้มีการจัดสรรพื้นที่เป็นที่พักอาศัย และทำเกษตรกรรม ปลูกพืชแบบผสมผสาน ได้แก่ ไม้ผลนานาชนิดเช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง กระท้อน ละมุด ระกำ สละ พุทรา มะม่วง ชมพู่ ฝรั่ง มะกอกน้ำ มะพร้าว กล้วย ขนุน มะม่วง หิมพานต์ เป็นต้น มีการปลูกพืชผักหมุนเวียนตามฤดูกาล รวมถึงการปลูกพืชสมุนไพรมากกว่า ๔๐๐ ชนิด ไม้ดอก พืชไร่ และนาข้าว คอกเลี้ยงสัตว์ได้แก่ สุกร เป็ด ไก่ มีบ่อน้ำจำนวน ๗ บ่อ รวมประมาณ ๗ ไร่ จัดทำธนาคารน้ำใต้ดินทั้งแบบเปิดและปิด ช่วยแก้ไขผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม หรือภัยแล้ง และช่วยเก็บกักน้ำหน้าดินไว้ใช้ในการทำเกษตรกรรม และได้มีการแบ่งพื้นที่ขุดรางน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ลุ่มเพื่อเก็บความชุ่มชื้น เพื่อใช้ในการปลูกพืชน้ำ เช่น บัว และเลี้ยงปลา นอกจากนี้ยังแบ่งพื้นที่เป็นอาคารอบรมชื่ออาคารร่วมใจ ที่พักชาย – หญิง ห้องน้ำ โรงอาหาร สำหรับผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์ผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีครอบครัวพูนปาลเป็นเจ้าของ และได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆ จากภาคีเครือข่าย
กิจกรรมที่ดำเนินการตามแนวพระราชดำริ
๑ ปลูกป่า ๓ อย่างประโยชน์ ๔ อย่าง ได้เป็น ๔ พอ และ ไม้ ๕ อย่าง ปลูก ๕ ระดับดังนี้
๔ พอ
พอกิน คือ การปลูกต้นไม้ที่กินได้เป็นอาหาร รวมทั้งใช้เป็นยาสมุนไพร ไม้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ข้าว พืชผัก ผลไม้ พืชสมุนไพร
พอใช้ คือ การปลูกต้นไม้ให้เป็นป่าไม้ สำหรับทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน อาทิ ทำฟืน เผาถ่าน ทำงานหัตถกรรม หรือทำน้ำยาซักล้าง สบู่ ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น มะคำดีควาย หวาย ไผ่ หมีเหม็น พลู ทองพันชั่ง ย่านาง ฯลฯ
พออยู่ คือ การปลูกต้นไม้ที่ใช้เนื้อไม้และไม้เชิงเศรษฐกิจให้เป็นป่า ไม้กลุ่มนี้เป็นไม้อายุยืนเพื่อใช้สร้างบ้าน ทำเครื่องเรือน ต้นไม้กลุ่มนี้ เช่น ตะเคียนทอง ยางนา สัก พะยูง พะยอม กระถินเทพา ไม้สัก มะฮอกกานี
พอร่มเย็น คือ ประโยชน์อย่างที่ 4 ที่เกิดจากการปลูกป่า 3 อย่าง จะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศดินและน้ำให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่น และฉ่ำเย็นขึ้นมา
|
10. ใช้กับระดับชั้น |
อนุบาล2-ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 |
เอกสารหลักสูตร |
|
วีดีโอการใช้แหล่งเรียนรู้ |
|