การบริหารจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจันทบุรี
การบริหารและการจัดการศึกษา - เปิดดู 7 ครั้ง พิมพ์เอกสาร


จันทบุรีเมืองแห่งประวัติศาสตร์

          จันทบุรีเป็นเมืองเก่าแก่ปรากฎหลักฐานว่า เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์มีการสำรวจโบราณคดีหลายแห่งในจันทบุรี พบเครื่องมือเครื่องใช้ยุคหินขัด อายุประมาณ 2,000 ปี ในเขตอำเภอมะขาม อำเภอท่าใหม่และที่ราบเชิงเขาที่บ้านคลองบอน อำเภอโปงน้ำร้อน เริ่มการตั้งเมืองครั้งแรกหน้าเขาสระบาป ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ชาวชอง หรือชนเผ่าในตระกูลมอญ-เขมร เป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในป่าฝั่งตะวันออก บริเวณจังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด ซึ่งเป็นแหล่งของป่าและสมุนไพรที่อุดมสมบูรณ์ ในสมัยก่อนชาวชองดำรงชีพด้วยการเก็บของป่ามาขาย ปี พ.ศ. 2200 ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่ม ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี และหลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ ได้นำกำลังพลประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมาทางทิศตะวันออกและยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นเวลา 5 เดือน เพื่อเป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและไพร่พล จากนั้นจึงนำกองทัพทั้งชาวไทยและชาวจีนจำนวน 5,000 คน กลับไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยาเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากโบราณสถาน และอนุสรณ์สถานหลายแห่งที่ได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระปรีชาสามารถ และ พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ในครั้งนั้น

          ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านเนินวง เนื่องจากเป็นที่สูงมีชัยภูมิเหมาะเป็นที่มั่น ในการป้องกันการรุกรานของพวกญวน จนกระทั่งในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองจันทบุรีได้ย้ายกลับมาอยู่ที่บ้านลุ่มตามเดิม เนื่องจากบริเวณบ้านเนินวงอยู่ไกลจากแหล่งน้ำ ในปี พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครองเมืองจันทบุรีไว้เป็นเวลานานถึง 11 ปี จนไทยต้องยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกเมืองจันทบุรีกลับคืน ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดตั้งระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นใหม่ เมืองจันทบุรีได้ยกฐานะเป็นจังหวัดจันทบุรีมาจนถึงปัจจุบัน จังหวัดจันทบุรีจึงเป็นเมืองชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย ทั้งในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์จวบจนทุกวันนี้ (สำนักงานจังหวัดจันทบุรี, 2562)

          ประวัติความเป็นมาของจังหวัดจันทบุรีดังกล่าวมาข้างต้น ปรากฎแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่เป็นหลักฐานร่องรอยที่คงอยู่มากมายในพื้นที่ซึ่งควรคาแกการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจการใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 พบว่า สถานศึกษาใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นค่อนข้างน้อย ไม่มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และไม่เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดในหลักสูตร โดยมากเป็นการนำนักเรียนไปทัศนศึกษา ณ แหล่งเรียนรู้ นั้นๆ ผู้เรียนไม่เกิดความรู้และทักษะทางประวัติศาสตร์ และไม่เกิดเจตคติที่ดีต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่น


การสอนประวัติศาสตร์ในโลกปัจจุบัน

          สังคมปัจจุบันเป็นโลกยุคข้อมูลข่าวสาร ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และโลกของตลาดเสรีที่ผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ การใช้ชีวิตแบบทันสมัยที่มีความเป็นสากล ทั้งภาษาการแต่งกาย อาหารการกิน ภาพยนตร์ และดนตรี เป็นยุคที่ผู้คนส่วนใหญ่หลงใหลกับโลกตะวันตก ชื่นชมสไตล์เกาหลีและญี่ปุ่นว่าล้ำหน้าและทันสมัย เป็นยุคที่ผู้คนส่วนหนึ่งนิยมคนเก่ง คนฉลาด ทันสมัย ทันเหตุการณ์รู้เท่าทันเทคโนโลยี และเป็นยุคที่เด็กไทยเห็นและหลงใหลความเป็น "ปัจเจกชน" มากกว่าจิตสาธารณะ ส่งผลกระทบต่อ "ค่านิยมความเป็นไทย" อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทยนับวันยิ่งจะถูกละเลยจากเยาวชนมากยิ่งขึ้น "ประวัติศาสตร์" สำหรับเยาวชนไทย จึงอาจเป็นเพียงเรื่องราวในอดีต ที่เต็มไปด้วยปี พ.ศ. สิ่งของเก่าแก่ ผู้คนที่ล้มหายตายไปหมดแล้ว เหตุการณ์ที่ต้องจดจำและจำเรียน เพื่อ "สอบ" ตามเกณฑ์ในระบบการศึกษาเท่นั้น แม้ว่าจะมีผู้เรียนบางคนชอบและสนุกสนานที่จะฟังเกร็ดประวัติศาสตร์ ได้เรียนรู้อดีต มีความภาคภูมิใจในชาติและบรรพบุรุษ แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีคำถามเสมอว่าจะเรียนประวัติศาสตร์ไปทำไม ประวัติศาสตร์มีประโยชน์อย่างไรในโลก จะนำความรู้ด้านประวัติศาสตร์ไปประกอบอาชีพอะไร และยังมีคำถามที่เป็นความคาดหวังของสังคมว่า "หลักสูตรประวัติศาสตร์ควรเป็นอย่างไร เยาวชนไทยจึงจะรัก และภาคภูมิใจ ในความเป็นชาติไทย"

          ประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่มีคุณค่าที่สุดแขนงหนึ่งของการเรียนรู้ เพราะประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์เกื้อกูลกับศาสตร์แขนงต่างๆไม่ว่าจะเป็นแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมสื่อสารมวลชน รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ก็ต้องมีความรู้พื้นฐานที่เป็นประสบการณ์ของมนุษย์ในอดีต หรือ ต้องมีความรู้ "ประวัติศาสตร์" นั่นเอง (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2554: 5) ประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์จำนวนมาก ในอดีต เป้าหมายของการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์คือ การเข้าใจสังคมของมนุษย์ในสมัยอดีต เพื่อนำมา เปรียบเทียบความเข้าใจสังคมของมนุษย์ยุคปัจจุบันในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ในยุคปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้าน ทำให้เกิดแนวคิดและ วิธีการเรียนรู้ใหม่ๆ ซึ่งความรู้ต่าง ๆ เกิดจากการประสบการณ์ที่สะสมมานานและจะล้าสมัยไปอย่าง รวดเร็ว ดังนั้นมนุษย์จึงมีการคิดค้นองค์ความรู้ใหม่ตลอดเวลา จึงทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้จากประสบการณ์ไม่เพียงพอต่อการทำงานและการดำเนินชีวิตได้ตลอดไป ฉะนั้นการพัฒนาความสามารถในการคิด จะช่วยแก้ไขปัญหาและกลั่นกรองข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน และการดำเนินชีวิตให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมควบคู่กับการมีคุณธรรม สำหรับการพัฒนาการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในสังคมยุคใหม่มีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือครูผู้สอนยุคใหม่ จะต้องมีการพัฒนาตนเองเพื่อสร้างคนรุ่นให้มีคุณลักษณะที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของ สังคมแห่งศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแนวทาง การจัดการศึกษาตามแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาของแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ในการศึกษายุค 4.0 ต่างให้แนวคิดจัดการศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยที่ครูผู้สอนต้องเข้าใจถึง แก่นของการพัฒนาการศึกษา ซึ่งเป้าหมายคือผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่มีทักษะจำเป็นในโลกยุค ปัจจุบันและอนาคต ภายใต้กระบวนการเรียนรู้ใหม่ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี, 2561)

          การเรียนรู้ประวัติศาสตร์คือพื้นฐานเบื้องต้นในการรู้จักและเข้าใจคุณค่าความสำคัญของอดีตด้วยการคิดวิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์วินิจฉัย บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่หลากหลาย ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นนักคิด มีเหตุมีผล กระบนการศึกษาทางประวัติศาสตร์หรือวิธีการทางประวัติศาสตร์มุ่งเสริมสร้างจิตใจ ให้เป็นผู้ฝ่เรียนรู้รู้จักตั้งคำถามและค้นหาคำตอบ ทำให้ได้เรียนรู้บทเรียนจากอดีตความเป็นมาของสังคมในพื้นที่และบริบทของเวลาต่าง ๆ ประวัติศาสตร์เปรียบเสมือนกระจกที่ส่องให้เห็นสังคมมนุษย์ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ในพื้นที่ที่หนึ่ง ที่มีพัฒนาการสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน สอนให้เรารู้จักตนเองรวมถึงความเป็นมาของชุมชน ท้องถิ่นและประเทศชาติ ปลูกจิตสำนึกในความเป็นชาติรักและภาคภูมิใจในบรรพบุรุษที่ก่อตั้งชาติบ้านเมือง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้ตระหนัก ถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์และเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะ สมรรถนะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน


ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์


          การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ประสบปัญหาหลายประการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้พิจารณาทบทวนการบริหารจัดการการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ทั้งทางด้านหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน ประวัติศาสตร์ในสถนศึกษา เพื่อสำรวจสภาพปัญหาและหาแนวทางการพัฒนา พบว่า มาตรฐานของวิชาประวัติศาสตร์ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาต่ำกว่าความคาดหมาย และส่งผลกระทบไปถึงการศึกษาต่ออย่างมีประสิทธิภาพ (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2558: 15) ในระดับมหาวิทยาลัยนักวิชาการมีความเห็นร่วมกันว่า มีปัจจัยหลายประการที่มีอิทธิพลต่อความอ่อนด้อยของวิชาประวัติศาสตร์ในระดับโรงเรียน เช่น การให้เวลาเรียนวิชาประวัติศาสตร์และวิชาอื่นในกลุ่มวิชาทางด้านสังคมศึกษาน้อยเกินไปทั้งที่มีเนื้อหาและทักษะกระบวนการที่ต้องฝึกฝนจำนวนมาก และคุณภาพของบุคลากรผู้สอนประวัติศาสตร์ที่เน้นไปทางด้านเนื้อหาสาระมากเกินไปจนละเลยเรื่องทักษะกระบวนการและเจตคติค่านิยม อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเวลาเรียนจำกัด อีกประการหนึ่ง ในขณะที่มีการปฏิรูปการเรียนการสอนระดับโรงเรียน แต่วิชาประวัติศาสตร์ยังไม่ได้รับการเอาใจใส่อย่างแท้จริง ทั้งที่กระแสความรับรู้ของสังคมได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ เพราะต่างเป็นห่วงกันว่าคนไทยและเยาวชนไทยมีความรู้ประวัติชาติของตัวเองน้อยมาก ทั้งนี้อาจเป็นด้วยความเข้าใจปรัชญาและประโยชน์ในทางปฏิบัติของวิชาประวัติศาสตร์ต่อพัฒนาการด้านภูมิปัญญาของเยาวชนของชาติไม่ชัดเจน นอกจากนี้ครูผู้สอนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้พื้นฐานด้านประวัติศาสตร์ ครูที่สำเร็จด้านประวัติศาสตร์มีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่สอนในระดับมัธยมศึกษา อีกทั้งที่ผ่านมาการพัฒนาครูผู้สอนประวัติศาสตร์ก็มีน้อยมาก เอกสารที่ให้ความรู้ด้านการสอนประวัติศาสตร์ ก็มีน้อย ครูขาดความรู้และความเข้าใจในทักษะการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ทำให้ไม่สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามเป้าหมายของหลักสูตร รวมทั้ง ไม่สามารถสนองความต้องการของผู้เรียนในยุคโลกาภิวัตน์ได้ จากการศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนสาระ หน้าที่พลเมือง ประวัติศาสตร์ ศีลธรรม ศาสนา เรียงความและย่อความ ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2551 : ก-ง) พบว่า ครูผู้สอนส่วนใหญ่ไม่ได้จบวิชาเอกเฉพาะ ครูส่วนหนึ่งต้องสอนหลายกลุ่มสาระและสอนหลายระดับชั้น ครูผู้สอนมีภาระงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาระงานสอน ครูผู้สอนขาดความรู้ความเข้าใจในหลักสูตร และครูผู้สอนไม่ได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาด้านความรู้เนื้อหาวิชาและทักษะในการจัดการเรียนรู้ การจัดฝึกอบรมเน้นจัดให้สำหรับครูผู้สอนกลุ่มสาระอื่นๆ หลักสูตรสถานศึกษาไม่ครอบคลุมและไม่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา มีข้อมูล และเนื้อหาจำนวนมาก และผู้บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญค่อนข้างน้อย การจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสังคมศึกษาส่วนใหญ่ยังคงเน้นข้อมูล และสร้างความเข้าใจในสาระเนื้อหา สื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ และไม่เร้าความสนใจผู้เรียน ครูผู้สอนใช้หนังสือเรียนเป็นสื่อการเรียน ครูขาดทักษะในการผลิตสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน

 

การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์


          สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกล่าวถึงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไว้ว่า (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2563: 7) สถานศึกษาสามารถออกแบบการเรียนรู้ได้ทั้งรูปแบบกิจกรรมในห้องเรียนและกิจกรรมนอกห้องเรียน กิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง และเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนให้ความสนใจให้ความร่วมมือในการทำ กิจกรรมเป็นอย่างดีคือ การเรียนรู้ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ทั้งนี้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์อาจจัดได้ทั้งรูปแบบ กิจกรรมในห้องเรียนและกิจกรรมนอกห้องเรียน ซึ่งการเรียนรู้เนื้อหาสาระ หลักการ และ ทฤษฎีในห้องเรียนจะเป็นรูปธรรม เข้าใจได้ง่ายและชัดเจนขึ้นเมื่อผู้เรียนได้สัมผัส รับรู้ เกิดประสบการณ์ตรงจากสิ่งที่เรียนรู้หรือกำลังศึกษาจากการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน เช่น การทำโครงงานประวัติศาสตร์ การทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ถือเป็นการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา สร้างประสบการณ์ ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เกิดเป็นการสร้างการเรียนรู้ที่มีความหมายให้แก่ผู้เรียน แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น คือสถานที่สำคัญในท้องถิ่นที่มีประวัติศาสตร์ ความเป็นมา พัฒนาการของสถานที่ บุคคล ฯลฯ ให้เห็นเป็นการเฉพาะและสามารถสืบคันได้ เช่น โรงเรียน วัด มัสยิด โบสถ์ นุสาวรีย์ ตลาด ย่านการค้า แหล่งชุมชนโบราณ ป้ายจารึกพิพิธภัณฑ์ในท้องถิ่นการประกอบอาชีพ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีหรืออาจหมายถึง บุคคลสำคัญ ปราชญ์ หรือภูมิปัญญาในท้องถิ่น ฯลฯ องค์ประกอบสำคัญของการจัดการเรียนรู้ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ได้แก่ การกำหนดเนื้อหาที่ชัดเจน การกำหนดกิจกรรมให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมในพื้นที่แหล่งเรียนรู้การประเมินทักษะต่าง ๆ ของผู้เรียน โดยครูผู้สอนต้องวางแผนการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมการก่อนออกเดินทาง ขั้นศึกษาแหล่งเรียนรู้ (การลงพื้นที่) และชั้นนำเสนอผลงาน (การสรุปงาน)


การบริหารจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์


          การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของสถานศึกษาควรดำเนินการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นการปฏิบัติ (Action) ขั้นการสังเกต (Observation) และชั้นการสะท้อนผล (Reflection) ดังนี้

           1. ขั้นการวางแผน (Planning) เป็นการวางแผนออกแบบการดำเนินการพัฒนา ได้แก่ การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการพัฒนา โดยคณะทำงานร่วมกันวางแผนและกำหนดแนวทางในการพัฒนา จัดทำปฏิทินการดำเนินการพัฒนา

           2. ขั้นการปฏิบัติ (Action) เป็นขั้นตอนในการนำแผนการดำเนินการลงปฏิบัติการโดยใช้กลยุทธ์ที่ได้ออกแบบวางแผนไว้ ได้แก่

           2.1 การสร้างองค์ความรู้ให้ครูผู้สอนทั้งด้านทักษะ กระบวนการ และคุณลักษณะของครูผู้สอน เช่นการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นกับหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการสร้างคลิปวีดิทัศน์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของสถานศึกษา

           2.2 ครูผู้สอนการนำองค์ความรู้ที่ได้รับทั้งด้านทักษะ กระบวนการ และคุณลักษณะปฏิบัติการในสถานศึกษา ได้แก่ กรจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการสร้างคลิปวีดิทัศน์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของสถานศึกษา

           3. ขั้นการสังเกต (Observation) เป็นขั้นตอนในการลงพื้นที่ สังเกต กำกับ นิเทศ ติดตาม การดำเนินการของสถานศึกษาเพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจในการนำไปใช้ ตลอดจนการช่วยเหลือ เพื่อทำให้กระบวนการดำเนินไปตามขั้นตอน และสามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ได้แก่

          3.1 การลงพื้นที่สังเกตการณ์จัดการเรียนรู้รายโรงเรียน ครูผู้สอนรายบุคคล

          3.2 การนิเทศแบบ Coaching Technique และเครือข่ายผู้อำนวยการโรงเรียนหนุนเสริม

         4. ขั้นการสะท้อนผล (Reflection) เป็นขั้นตอนที่นำข้อมูลย้อนกลับระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อนำมาแก้ไขพัฒนา และนำข้อมูลย้อนกลับเมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสรุปผล ได้แก่

         4.1 การประชุมกลุ่มย่อยหลังปฏิบัติงาน (AAR) โดยครูผู้สอน ร่วมกับศึกษานิเทศก็และผู้อำนวยการโรงเรียนหนุนเสริม

4.2 การประชุมถอดบทเรียนของครูผู้สอน ร่วมกับศึกษานิเทศก็และผู้อำนวยการโรงเรียนหนุนเสริม ประกอบด้วย กิจกรรมแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ รับทราบปัญหา อุปสรรคและเสนอแนะแนวทางในการดำเนินกิจกรรมที่ยังไม่ชัดเจน หรือเป็นแนวทางใหม่ๆ ในการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการสร้างคลิปวีดิทัศน์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

 

เอกสาร PDF


Creator : สุริยนต์ กัลยาณี

โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1


    


แสดงความคิดเห็น


คิดเห็น

C SHOP 1 โรงเรียน 1 ผลิตภัณฑ์
เกลือหอมปรับอากาศกลิ่นบลูเฟซ "Nongsinga Aroma"

1 โรงเรียน 1 ผลิตภัณฑ์

ราคา 20 บาท

ดอกไม้ประดิษฐจากใบยาง (แบบแจกุหลาบ)

1 โรงเรียน 1 ผลิตภัณฑ์

ราคา 350 บาท

กล้วยพลิกลิ้น

1 โรงเรียน 1 ผลิตภัณฑ์

ราคา 20 บาท


โครงสร้างรายวิชา...
โรงเรียนบ้านหนองบัวทอง
การบริหารและการจัดการศึกษา (ป.2)
เปิดดู 8 ครั้ง
รายงานผลการพัฒนากระบวนการนิเทศรูปแบบ Coaching โ...
โรงเรียนวัดหนองสีงา
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 9 ครั้ง
การประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ตำแหน่...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา
เปิดดู 25 ครั้ง
Best Practice การบริหารงานแบบ 4 ส (สอน - สร้าง ...
โรงเรียนวัดหนองสีงา
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 14 ครั้ง
ผลงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice ด้านก...
โรงเรียนวัดหนองสีงา
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 5 ครั้ง
หลักสูตรโรงเรียนบ้านแก่งน้อย...
โรงเรียนบ้านแก่งน้อย
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 12 ครั้ง
นวัตกรรม วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Active Bud...
โรงเรียนบ้านช่องกะพัด
การบริหารและการจัดการศึกษา
เปิดดู 10 ครั้ง
นวัตกรรม การส่งเสริมกระบวนการ Active Learning ด...
โรงเรียนบ้านคลองครก
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 14 ครั้ง
สพป.จันทบุรี เขต 1 ลงพื้นที่เพื่อกำกับติดตามการ...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา
เปิดดู 4 ครั้ง
การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เช...
โรงเรียนวัดวังหิน
การบริหารและการจัดการศึกษา
เปิดดู 8 ครั้ง
การบริหารจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเร...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา
เปิดดู 7 ครั้ง
นวัตกรรม การบริหารสถานศึกษาด้วยรูปแบบ "Bof...
โรงเรียนบ้านบ่อไฟไหม้
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 16 ครั้ง
การบริหารโรงเรียนวัดขุนซ่องแบบมีส่วนร่วมเพื่อพั...
โรงเรียนวัดขุนซ่อง
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 13 ครั้ง
ระบบรายงานข้อมูลเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการด้านร่าง...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา
เปิดดู 4 ครั้ง
การบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงรุก (Active Learnin...
โรงเรียนสฤษดิเดช
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 82 ครั้ง
รูปแบบการแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โดยใช้...
โรงเรียนบ้านประแกต
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 6 ครั้ง
ITA School System ระบบการประเมินคุณธรรม ความโปร...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 2 ครั้ง
รายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามพระบรมราโชบาย ...
โรงเรียนวัดหนองสีงา
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 16 ครั้ง
แผนการจัดการเรียนรู้...
โรงเรียนบ้านหนองบัวทอง
การบริหารและการจัดการศึกษา (ป.2)
เปิดดู 11 ครั้ง
นวัตกรรม การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเ...
โรงเรียนวัดเกาะขวาง
การบริหารและการจัดการศึกษา
เปิดดู 5 ครั้ง
การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เช...
โรงเรียนบ้านเขามะปริง
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 5 ครั้ง
นวัตกรรม การส่งเสริมกระบวนการ Active Learning ด...
โรงเรียนบ้านคลองครก
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 24 ครั้ง
Chan1 Play Education Platform แพลตฟอร์มบทเรียนอ...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 2 ครั้ง
Chan1 OIT System ระบบรายงาน OIT สำหรับโรงเรียน...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 2 ครั้ง
ฐานข้อมูลคลัง PISA...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา
เปิดดู 8 ครั้ง
เว็ปไซต์ www.chan1.net...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา
เปิดดู 2 ครั้ง
กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ฉบับปรุงปรุ...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา
เปิดดู 18 ครั้ง
นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learnin...
โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 21 ครั้ง
แผนพัฒนาการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของสถานศ...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา
เปิดดู 6 ครั้ง
Chan 1 Education Platform แพลตฟอร์มเพื่อการศึกษ...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 2 ครั้ง
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา
เปิดดู 48 ครั้ง
สรุปข้อมูลงานวิจัยเพื่อพัฒนาของ สพป.จันทบุรี เข...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 10 ครั้ง
รายงานผล ITA Online (สพป.จันทบุรี เขต 1) ประจำป...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา
เปิดดู 16 ครั้ง
ระบบลงเวลาปฏิบัติงานของ สพป.จันทบุรี เขต 1 แบบอ...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา
เปิดดู 2 ครั้ง
นวัตกรรมการบริหารจัดการ เพื่อส่งเสริมการจัดการเ...
โรงเรียนอนุบาลบ้านหนองคล้า
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 5 ครั้ง
การบริหารจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning...
โรงเรียนวัดเขาน้อย
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 10 ครั้ง
มาตรการป้องกันโควิด โรงเรียนวัดหนองสีงา (ประถมบ...
โรงเรียนวัดหนองสีงา
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 40 ครั้ง
เเนวปฏิบัติการขออนุญาตไปต่างประเทศของข้าราชการค...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา
เปิดดู 29 ครั้ง
นวัตกรรมการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Ac...
โรงเรียนบ้านวังไม้แดง
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 11 ครั้ง
วิถีเด็กไทย น้อมนำพระบรมราโชบายสู่การปฏิบัติ ปี...
โรงเรียนวัดหนองสีงา
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 16 ครั้ง
เเนวปฏิบัติการขออนุญาตไปต่างประเทศของข้าราชการค...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา
เปิดดู 10 ครั้ง
การใช้นวัตกรรม KANGNOI Model ร่วมกับชุมชนแห่งกา...
โรงเรียนบ้านแก่งน้อย
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 7 ครั้ง
นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ระดับผู้บ...
โรงเรียนวัดพลับพลา
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 4 ครั้ง
หลักสูตรโรงเรียนบ้านวังอีแอ่น...
โรงเรียนบ้านวังอีแอ่น
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 108 ครั้ง
หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Lea...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา
เปิดดู 30 ครั้ง
C SHOP ระบบคลังสินค้า 1 โรงเรียน สร้างผลิตภัณฑ์...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 2 ครั้ง
นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learni...
โรงเรียนวัดขุนซ่อง
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 12 ครั้ง
หลักสูตรสถานศึกษา...
โรงเรียนบ้านหนองบัวทอง
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 9 ครั้ง
การดำเนินการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
การบริหารและการจัดการศึกษา (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 40 ครั้ง
การขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Active Le...
โรงเรียนวัดหมูดุด
การบริหารและการจัดการศึกษา
เปิดดู 10 ครั้ง

CHAN1 PLAY Thai Education Platform