เนื่องจากโครงสร้างของดนตรีตะวันตกมีการพัฒนาเปลี่ยนไปเสมอ ตามแนวความคิดของผู้ประพันธ์เพลง จึงทำให้เกิดเป็นลักษณะของดนตรีในแต่ละยุคขึ้นมา การศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของบทเพลงในแต่ละยุค จะช่วยให้ทีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของดนตรีในแต่ละยุค ดังนี้
1. ยุคกลาง (Middle Ages) ยุคนี้คือ ช่วงเวลาระหว่างศตวรรษที่ 5-15 (ราว ค.ศ. 450-1400) อาจเรียกว่า ยุคเมดิอีวัล (Medieval Period) ดนตรีในยุคนี้เป็น vocal polyphony คือ เป็นเพลงร้องโดยมีแนวทำนองหลายแนวสอดประสานกัน ซึ่งพัฒนามาจากเพลงสวด (Chant) และเป็นเพลงแบบมีทำนองเดียว (Monophony) ในระยะแรกเป็นดนตรีที่ไม่มีอัตราจังหวะ (Non-metrical) ในระยะต่อมาใช้อัตราจังหวะ ¾ ต่อมาในศตวรรษที่ 14 มักใช้อัตราจังหวะ 2/4 เพลงร้องพบได้ทั่วไป และเป็นที่นิยมมากกว่าเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรี รูปแบบของเพลงเป็นแบบล้อทำนอง (Canon) นักดนตรีที่ควรรู้จักคือ มาโซท์และแลนดินี
2. ยุครีเนซองค์ (Renaissance Period) เป็นดนตรีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 (ราว ค.ศ. 1450-1600) การสอดประสาน(Polyphony) ยังเป็นลักษณะของเพลงในยุคนี้โดยมีการล้อกันของแนวทำนองเดียวกัน (Imitative style)ลักษณะบันไดเสียงเป็นแบบโหมด(Modes) ยังไม่นิยมแบบบันไดเสียง(Scales) การประสานเสียงเกิดจากแนวทำนองแต่ละแนวสอดประสานกัน มิได้เกิดจากการใช้คุณสมบัติของคอร์ด ลักษณะของจังหวะมีทั้งเพลงแบบมีอัตราจังหวะ และไม่มีอัตราจังหวะ ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อย ยังมีน้อยไม่ค่อยพบ ลักษณะของเพลงมีความนิยมพอๆกัน ระหว่างเพลงร้องและบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี เริ่มมีการผสมวงเล็กๆ เกิดขึ้น นักดนตรีที่ควรรู้จักคือ จอสกิน–เดอส์ เพรซ์ ปาเลสตรินา และเบิร์ด
3. ยุคบาโรค (Baroque Period) เป็นยุคของดนตรีในระหว่างศตวรรษที่17-18 (ราว ค.ศ. 1600-1750) การสอดประสาน เป็นลักษณะที่พบได้เสมอในปลายยุค ช่วงต้นยุคมีการใช้ลักษณะการใส่เสียงประสาน(Homophony) เริ่มนิยมการใช้เสียงเมเจอร์ และไมเนอร์ แทนการใช้โหมดต่างๆ การประสานเสียงมีหลักเกณฑ์เป็นระบบ มีการใช้เสียงหลัก (Tonal canter) อัตราจังหวะเป็นสิ่งสำคัญของบทเพลง การใช้ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อย เป็นลักษณะของความดัง–ค่อย มากกว่าจะใช้ลักษณะค่อยๆ ดังขึ้นหรือค่อยๆลง (Crescendo, diminuendo)ไม่มีลักษณะของความดังค่อยอย่างมาก (Fortissimo, pianisso) บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเป็นที่นิยมมากขึ้น บทเพลงร้องยังคงมีอยู่และเป็นทีนิยมเช่นกัน นิยมการนำวงดนตรีเล่นผสมกับการเล่นเดี่ยวของกลุ่ม เครื่องดนตรี 2-3 ชิ้น(Concerto grosso) นักดนตรีที่ควรรู้จัก คือ มอนเมแวร์ดี คอเรลลี วิวัลดี บาค ฮันเดล
แสดงความคิดเห็น
โรงเรียนวัดแขมหนู ดนตรีสากล (ทุกระดับชั้น) เปิดดู 9 ครั้ง |
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1 ดนตรีสากล (ทุกระดับชั้น) เปิดดู 102 ครั้ง |
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1 ดนตรีสากล (ทุกระดับชั้น) เปิดดู 41 ครั้ง |
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1 ดนตรีสากล (ทุกระดับชั้น) เปิดดู 13 ครั้ง |
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1 ดนตรีสากล (ม.1) เปิดดู 105 ครั้ง |
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1 ดนตรีสากล (ม.2) เปิดดู 101 ครั้ง |
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1 ดนตรีสากล (ทุกระดับชั้น) เปิดดู 112 ครั้ง |
CHAN1 PLAY Thai Education Platform