รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self - Assessment Report : SAR)
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส

 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
 1.1 ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

               โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล) ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ 10 ตำบล ท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต1 เป็นโรงเรียนขนาดกลาง ที่จัดการศึกษาระดับชั้นอนุบาล2 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งหมด 248 คน แยกเป็นระดับปฐมวัย 68คน ระดับประถมศึกษา 180 คน ผู้บริหาร 1คน มีข้าราชการครู จำนวน 11 คน ลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 4 คน ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล) ระดับปฐมวัยในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเลิศ โดยมี กระบวนการพัฒนาและผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล)มีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่มี ความยืดหยุ่น เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 เน้นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมของเด็ก โดยการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา มีความสามารถในการคิดและรู้จักการแก้ปัญหา สามารถตัดสินใจเรื่องง่ายๆได้ส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ โดยการทำกิจกรรมต่างๆจากการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัย (3 - 5 ปี) อย่างมีคุณภาพด้วยการจัดประสบการณ์เรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสะเต็มศึกษา ในระดับปฐมวัยโครงการห้องเรียนไฮสโคป ซึ่ง หน่วยงานต้นสังกัด สพป.จบ.1. ให้การสนับสนุนและส่งเสริม ทำให้ครูผู้สอนปฐมวัยสามารถออกแบบจัดการเรียนรู้ให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการวางแผน การตั้งคำถามในสิ่งที่สนใจคิดออกแบบวิธีการแสวงหาความรู้ ด้วยการทำกิจกรรมการทดลองอย่างง่าย ฝึกทักษะ การสังเกต การความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากการทำกิจกรรมการเรียนรู้ประจำวันตลอดปีการศึกษา โดยโรงเรียนมีครูปฐมวัยตรงตามวุฒิสอนประจำชั้นและจัดครูอัตราจ้างดูแลเด็ก มีครูผู้สอนสอนประจำห้องเรียนละ 2 คน ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครอง โรงเรียนพัฒนาคุณภาพครูปฐมวัยอย่างต่อเนื่องตามโครงการพัฒนาบุคลากรส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางนวัตกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดและพัฒนาจากหน่วยงานต้นสังกัด และการพัฒนาตนเองโดยระบบออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งโรงเรียนได้ส่งเสริมให้มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กอย่างปลอดภัยและเพียงพอ จัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็ก มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างสะดวกปลอดภัย มีความสุข ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม มีสื่อ เทคโนโลยีใช้ในการสืบค้นเสาะหาความรู้ จากโครงการพัฒนาสื่อนวัตกรรม พัฒนาแหล่งเรียนรู้ปฐมวัยเพื่อสนับสนุนการให้บริการสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้บริการด้าน สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์อย่างเพียงพอและทั่วถึง และโรงเรียนได้เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัย ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย การพัฒนาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการประเมินผล ตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

             ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเลิศ โดยมีกระบวนการพัฒนาและผลการดำเนินงานดังต่อไปนี้

 

             สถานศึกษาได้กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น จัดทำแผนพัฒนาการศึกษา มีการประชุมระดมความคิดเห็น วิเคราะห์สภาพปัญหาภายในภายนอก การจัดการศึกษาโดยใช้ข้อมูลจากสารสนเทศ นิเทศติดตามผลและประเมินผล เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของโรงเรียน มีการบริหารอัตรากำลังอย่างชัดเจน ส่งเสริมบุคลากรทางการศึกษาได้พัฒนาตนเอง ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพโดยทุกคนต้องได้รับการอบรมอย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อปี ตลอดจนระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยความร่วมมือแบบภาคีเครือข่าย โรงเรียนจัดทำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นระบบต่อเนื่อง มีระบบการส่งต่อที่เป็นระบบ มีการนิเทศภายในและประชุมวิชาการเดือนละครั้ง มีการพัฒนาวิชาการปรับหลักสูตร พัฒนาครูบุคลากร มีการจัดสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่นปลอดภัย แหล่งสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

             ครูผู้สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการนิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผลและจัดทำรายงานผล ครูจัดทำแผนการสอนการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริงโดยใช้กระบวนการ Active Learning ตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการแสดงออกสามารถสรุปองค์ความรู้ การนำเสนอผลงานและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสาระที่สอน โดยในปีการศึกษา 2563 ได้มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 จึงได้มีการจัดรูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยใช้รูปแบบ On-Air , On-Demand และOn-Hand โดยครูใช้สื่อการเรียนการสอนและใบความรู้จากDLTV และสื่อจาก Youtubeอีกทั้งในการเรียนการสอนยังสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย มีการเชิญวิทยากรจากหน่วยงานวิทยาลัยสารพัดช่าง จันทบุรี มาให้ความรู้ในด้านทักษะอาชีพ มีการตรวจสอบวัดและประเมินผลจากสภาพจริง ครูจัดทำข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อนำไปแก้ปัญหาและพัฒนาโดยใช้วิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันโดยใช้กระบวนการPLC

              นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียนอยู่ในระดับดีมีกระบวนการคิดวิเคราะห์และเขียนอยู่ในระดับดี กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านดีเยี่ยม มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนอยู่ในระดับดี มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ เช่น ทักษะการสืบค้น การใช้เทคโนโลยีแสวงหาความรู้ดีเลิศ อีกทั้งมีคุณธรรม มีระเบียบวินัย มีมารยาทและปฏิบัติตนตามวิถีไทย วิถีชุมชนแลท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมีน้ำหนัก ส่วนสูง และสมรรถนะตามเกณฑ์ มีสุขภาพจิตดีมีทักษะในการเล่นกีฬา ออกกำลังกายและรู้จักวิธีการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19



 1.2 หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง

    

          โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล) ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการปีการศึกษา2563 ดังต่อไปนี้

1. โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยสู่มาตรฐานการศึกษา
2. โครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัย

3. โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

4. โครงการขอรับการสนับสนุนกิจกรรมอุ่นไอรักสานสัมพันธ์ปฐมวัย

5. โครงการขอรับการสนับสนุนพัฒนาแหล่งเรียนรู้ปฐมวัย

6. โครงการสัมพันธ์ชุมชน

7. โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

8.โครงการปรับปรุงอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม

9. โครงการส่งเสริมกิจการนักเรียน

10. โครงการอาหารกลางวัน

11.โครงการการจ่ายค่าสาธารณูปโภค

12. โครงการนิเทศภายใน

13. โครงการประกันคุณภาพภายใน

14. โครงการพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้

15. โครงการห้องสมุดโรงเรียน

16. โครงการพัฒนาประสิทธิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

17. โครงการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา

18. โครงการบริหารพัสดุและทรัพย์สิน

19. โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษา

20. กิจกรรมประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา

21. กิจกรรมประชุมผู้ปกครองนักเรียน

22. กิจกรรมประชาสัมพันธ์ข่าวสาร

23. กิจกรรมเข้าร่วมชุมชน

24. กิจกรรมแนะแนวศึกษาต่อ

25. กิจกรรมเฝ้าระวังและเยี่ยมบ้าน

26. กิจกรรมการป้องกันยาเสพติดให้โทษ โรคภัย อุบัติเหตุ ปัญหาทางเพศ

27. กิจกรรมงานอนามัย

28. กิจกรรมกีฬาสีภายในโรงเรียน

29. กิจกรรมวันสำคัญ

30. ส่งเสริมประชาธิปไตย

31. กิจกรรมเข้าค่ายธรรมมะ

32. กิจกรรมสำมะโนผู้เรียน

33. กิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี

34. กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

34. กิจกรรมอาหารเสริมนมโรงเรียน

35. กิจกรมน้ำหนัก-ส่วนสูง

36. กิจกรรมพัฒนาเด็กปฐมวัย

37. กิจกรรมค่ายทักษะกระบวนการคิด

38. กิจกรรมทัศนศึกษา

39. กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

40. กิจกรรมวัดผลประเมินผล

41. กิจกรรมการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร

42. กิจกรรมส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ

43. กิจกรรมสัปดาห์วิชาการเปิดบ้าน Open House

44. กิจกรรมแนะนำการใช้ห้องสมุด

45. กิจกรรม ภาษาไทยวันละคำ

46. กิจกรรมภาษาอังกฤษวันละคำ

47. กิจกรรมรักการอ่าน

48. กิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ

49. กิจกรรมจัดป้ายนิเทศ

50. กิจกรรมพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี

 1.3 แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีถัดไป

จัดทำแผนปฏิบัติการโรงเรียนปีการศึกษา2564 เพื่อพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น ดังนี้

ระดับปฐมวัย

1.โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย

2.โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

3. โครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัย

กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวไฮสโคป

กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาปฐมวัย

กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการสอนภาษาแบบองค์รวม

กิจกรรมการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ปฐมวัย

กิจกรรมอุ่นไอรักสานสัมพันธ์ปฐมวัย

4.โครงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย

กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดีและพัฒนาการด้านร่างกาย

กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ

กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม

กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1. กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการประเมินความสามรถด้านการอ่านระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1 (RT) และการประเมินระดับชาติชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (NT) ให้มีผลสูงกว่าระดับประเทศ

2. โครงการอ่านออก เขียนได้เพื่อแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้

3. กิจกรรมประชุมผู้ปกครองสร้างกลุ่มชั้นเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจและช่วยเหลือผู้เรียนอย่างใกล้ชิด

4. โครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ และจัดระดมทรัพยากรเพิ่มเติม

5. จัดกระบวนการเรียนการสอน Active Learning ให้ได้ทุกสาระวิชา เน้นกระบวนการคิดให้มากขึ้น จัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ทำวิจัยในชั้นเรียน



 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
 2.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา (ที่ตั้ง การจัดการศึกษา สภาพชุมชน เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เป็นต้น)

ชื่อโรงเรียน       

บ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล)

ที่อยู่

1 หมู่ 10 ตำบล ท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัด จันทบุรี 22000

สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

โทรศัพท์

-

โทรสาร

-

E-mail

Klong_numsai@hotmail.co.th

เปิดสอนระดับชั้น

อนุบาล 2

ถึงระดับชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 6

 

โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล) เป็นโรงเรียนขนาด กลาง ที่จัดการศึกษาระดับชั้นอนุบาล 2 ถึง ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 มีเขตบริการจัดการศึกษาในเขตบริการหมู่ที่1,8,10,11 และ12 ในภาพรวมสภาพชุมชนมีลักษณะ

1) สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะ ชุมชนเมือง มีประชากรประมาณ 35,000 คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ วัดสุทธิวารี อาชีพหลักของชุมชน คือ รับจ้างส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ทำบุญทุ่ง การก่อเจดีย์ทราย

2) ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับ ป.6 อาชีพหลัก คือรับจ้าง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี 43,500 บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว 4 คน

3) โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน โรงเรียนได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ จากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง บริษัท ห้างร้าน ผู้ปกครอง โรงเรียนตั้งอยู่ติดกับวัดสุทธิวารี รับความช่วยเหลือด้านพระวิทยากรสอนธรรมะ ได้รับการสนับสนุนจากศิษย์เก่าและชุมชนเป็นอย่างดี อยู่ใกล้และเป็นเครือข่ายของวิทยาลัยสารพัดช่างจันทบุรี วิทยาลัยนาฏศิลป์จันทบุรีและมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

การบริหารจัดการ (วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าประสงค์)

วิสัยทัศน์

โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล) เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ จัดการศึกษาได้ตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาชาติ ผู้เรียนมีคุณธรรม นำความรู้เคียงคู่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

พันธกิจ

1.ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาชาติ

2. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมนำความรู้

3. พัฒนาบริบทของโรงเรียนให้เอื้อต่อบรรยากาศสังคมแห่งการเรียนรู้

4. พัฒนาทักษะชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

5. ส่งเสริมทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

เป้าหมาย

1. ผู้เรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาชาติ

2. ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม

3. ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้

4. ผู้เรียนปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

5. ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา

อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา

สัมพันธ์ชุมชนเด่น เน้นการมีส่วนร่วม

 
ข้อมูลบุคลากร (ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง)

ผู้บริหาร ครู พนักงานราชการ อัตราจ้าง พนักงานธุรการ ภารโรง
1 10 0 3 1 0


ข้อมูลนักเรียน (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ศึกษาต่อ (นำเสนอเป็นกราฟ)

ข้อมูลหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

            โรงเรียนจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดำเนินการจัดหลักสูตรการสอนออกเป็น 2 ระดับ คือ

1. ระดับปฐมวัย

2. ระดับประถมศึกษา


ข้อมูลอาคารสถานที่ (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ หรือแผนภูมิ)


หลักฐานอ้างอิง : https://drive.google.com/file/d/1Uff2_3nk6LLcLlrGgt0ry-y1hq7gMGSx/view?usp=sharing
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา (นำเสนอเป็นความเรียง หรือกราฟ)

           1) แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน             

ชื่อแหล่งเรียนรู้

สถิติการใช้จำนวนครั้ง/ปี

1.ห้องสมุด

7,120

2.ห้องวิทยาศาสตร์

6,200

3.ห้องคอมพิวเตอร์

8,530

4.ห้องสหกรณ์

32,950

5.ห้องปฏิบัติการทางภาษา

5,900

6.ลานพิกุล

1,500

            

             2) แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน       

ชื่อแหล่งเรียนรู้

สถิติการใช้จำนวนครั้ง/ปี

1. วัดสุทธิวารี

9


หลักฐานอ้างอิง :
 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) ผลการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย (นำเสนอเป็นกราฟ) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.1) ผลการทดสอบระดับชาติ RT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.2) ผลการทดสอบระดับชาติ NT (นำเสนอเป็นกราฟ)


4.3) ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET (นำเสนอเป็นกราฟ)


5) ผลการประเมินสมรรถนะ (นำเสนอเป็นกราฟ)


 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
 2.2.1 ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา  

โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล)จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย2 ห้องเรียนมีเด็กนักเรียนปฐมวัยรวมจำนวน 68 คน ได้แก่ เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2 จำนวน 29 คนและเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่3 จำนวน 39 คน มีครูผู้สอนประจำชั้น 2 คน และครูพี่เลี้ยงช่วยทำการสอนและดูแลเด็ก2 คน  การจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพ (SAR) ปีการศึกษา 2563 ผลการประเมินตนเองในมาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก  ภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเลิศ มีกระบวนการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้

โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล) มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โดยการจัดโดยการจัดกิจกรรมประจำวัน ให้เด็กออกกำลังกายในตอนเช้าควบคู่กับการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะการทำกิจกรรมการเล่นเกม การเล่นกลางแจ้ง เล่นเครื่องเล่นสนาม ส่งเสริมให้ เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาดถูกสุขลักษณะ ปริมาณเหมาะสมตามวัย มีการบันทึกข้อมูลการรับประทานอาหารเช้า และดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการทดสอบสมรรถภาพทางกายผู้เรียน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ในทุกเดือน เด็กมีสุขนิสัยที่ดี รู้จักดูแลตนเอง ในการทำความสะอาดร่างกาย เช่น การล้างมือโดยให้ความรู้ในเรื่องการล้างมืออย่างถูกวิธีเพื่อความสะอาดและถูกสุขอนามัย ปลูกฝังการล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหาร ล้างมือก่อนและหลังเข้าห้องน้ำ การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเป็นประจำทุกวัน ปลูกฝังการอาบน้ำก่อนมาโรงเรียนและในตอนเย็นก่อนนอน มีการฝึกเด็กร่วมสร้างข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยร่วมกัน ไม่วิ่งเล่นในห้องเรียน รู้จักหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจนำไปสู่การบาดเจ็บได้ตามวัย และมีการตรวจสุขภาพสัปดาห์ละ 1ครั้ง มีการให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน และเด็กปฐมวัยเข้าร่วมกิจกรรมชองโรงเรียนในโครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย เช่น กิจกรรมกีฬาสี การรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด กิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ การตรวจสุขภาพ การตรวจฟัน การเคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขการตรวจสุขภาพ การฆ่าเหาโดยผู้นำนักเรียน

 

การส่งเสริมคุณภาพเด็ก ด้านพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล)ได้จัดกิจกรรมประจำวัน การเคลื่อนไหวและจังหวะ การเล่นเสรีตามมุมประสบการณ์ต่างๆในชั้นเรียน ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ รู้จักควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ ได้เหมาะสมตามวัยเด็กร่าเริงยิ้มแย้มแจ่มใส ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ตนเองสนใจ สามารถพูดคุย ทักทายเพื่อน ยิ้ม หัวเราะ แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมตามสถานการณ์ต่างๆ มีความอดทน รู้จักการรอคอย มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก มีการปฏิบัติกิจกรรมการแสดงความยินดี กล่าวชื่นชม ปรบมือให้กับเพื่อนในโอกาสต่างๆ รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันสิ่งของให้ผู้อื่น ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน เด็กได้เรียนรู้มีอารมณ์ร่วมกับเสียงเพลงและจังหวะดนตรี ทำท่าประกอบเพลงตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ จากกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะในทุกเช้าทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์อย่างหลากหลาย เช่น วาดภาพตามจินตนาการ ระบายสี พิมพ์ภาพ ตัด ปะ กระดาษ กลิ้งสี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส สนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน การส่งเสริมให้เด็กๆได้ทำกิจกรรมการเล่นเสรีตามมุมประสบการณ์ร่วมกัน

การส่งเสริมคุณภาพเด็ก ให้มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ด้วยการให้เด็กช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองและมีมารยาทในการรับประทานอาหาร มีวินัยในตนเองจากการฝึกระเบียบแถว การเก็บของเล่นเข้าที่ การเก็บของใช้ส่วนตัวอย่างเป็นระเบียบ การวางรองเท้าให้เรียบร้อย มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี แสดงออกตามวัฒนธรรมไทย เช่นยิ้ม ไหว้ ทักทาย รู้จักการรอคอย การกล่าวคำขอบคุณเมื่อรับของจากผู้ใหญ่ ปลูกฝังการมีจิตอาสาช่วยกันทำและดูแลรักษาความสะอาดของห้องเรียน ห้องน้ำ ปลูกฝังการทิ้งขยะให้ถูกที่ การใช้น้ำอย่างประหยัดไม่เปิดน้ำแรง และ ดื่มน้ำให้หมดแก้ว ดื่มนมให้หมดถุง ทำงานร่วมกับเพื่อนได้โดยใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์ ปลูกฝังให้เด็กรู้จักประเพณีวัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ด้วยการแต่งกายผ้าไทยทุกวันศุกร์ และ เรียนรู้การละเล่นแบบไทยๆ รู้จักทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ครู โดยการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางชาติ กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันไหว้ครู วันพ่อ วันแม่ วันเข้าพรรษา และสอนให้เด็กเป็นคนดีของสังคมโดยเริ่มจากการฝึกปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียนให้ได้ รู้จักให้อภัย ขอโทษไม่ ไม่ตัดสินปัญหาโดยใช้อารมณ์และไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่ใช้ความรุนแรงกับเพื่อน ส่งเสริมให้มีวินัยในตนเอง รู้จักการประหยัดพอเพียง มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียน

การส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ มีความสามารถในการคิดและรู้จักการแก้ปัญหา สามารถตัดสินใจเรื่องง่ายๆได้จากการทำกิจกรรมการเรียนรู้ประจำวันตลอดปีการศึกษา ได้แก่ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเกมการศึกษาตามหน่วยการเรียนรู้ ส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ โดยการทำกิจกรรมต่างๆจากการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัย (3 - 5 ปี) อย่างมีคุณภาพด้วยการจัดประสบการณ์เรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสะเต็มศึกษา ในระดับปฐมวัย โครงการห้องเรียนไฮสโคป ทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการวางแผน การตั้งคำถามในสิ่งที่สนใจคิดออกแบบวิธีการแสวงหาความรู้ ด้วยการทำกิจกรรมการทดลองอย่างง่าย ฝึกทักษะ การสังเกต การความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษา ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน มีการจัดมุมหนังสือนิทานภาพ ส่งเสริมให้เด็กอ่านนิทานและเล่านิทานที่ตนเองอ่านให้ครูและเพื่อนฟัง ให้เด็กยืมนิทานและทำบันทึกนักอ่านตัวน้อยร่วมกับผู้ปกครอง มีการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะโดยการวาดภาพระบายสี การฉีก ตัด ปะ ส่งเสริมให้เด็กได้เสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัย จัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก เรียนรู้นอกสถานที่ แก้ปัญหาในสถานการณ์จริงร่วมกิจกรรมโครงการวันวิชาการของโรงเรียน

ผลการดำเนินงาน  

การส่งเสริมคุณภาพเด็ก ให้มีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้เด็กระดับปฐมวัย มีพัฒนาการด้านร่างกายในระดับคุณภาพดีถึงดีมากขึ้นไป 66 คน คิดเป็นร้อยละ 97.06 มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ จำนวน 60 คน มีน้ำหนักส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน 8 คน

ผลการประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ เด็กนักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล)จำนวน 68 คนมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์จิตใจในระดับคุณภาพดีถึงดีมากขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 100 เด็กมีภาวะอารมณ์ที่ดี แสดงออกได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์  มีความสุขในการทำกิจกรรมการเรียนรู้  ร่าเริงสนุกสนานกับเพื่อนทั้งในและนอกห้องเรียน 

ผลการประเมินพัฒนาการด้านสังคม เด็กนักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล) จำนวน 68 มีพัฒนาการด้านสังคมในระดับคุณภาพดีถึงดีมากขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 100  สามารถปฎิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียน รู้จักช่วยเหลือตนเอง รุ้จักการแบ่งปัน มีน้ำใจ และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ปฎิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีไทยได้อย่างเหมาะสมตามวัย

ผลการประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กนักเรียนระดับปฐมวัยมีพัฒนาการด้านสติปัญญาในระดับคุณภาพดีถึงดีมากขึ้นไป 58 คน คิดเป็นร้อยละ 83.82  เด็กมีความสนใจในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้  มีทักษะกระบวนการคิด มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้พื้นฐานเหมาะสมตามวัย

จากผลการประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคมและสติปัญญาตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์รายด้านของเด็กนักเรียนปฐมวัยจำนวน68 คน มีเด็กที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพในระดับดีขึ้นไปทั้ง4 ด้านรวมทั้งสิ้น จำนวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 83.82

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา  

การพัฒนามาตรฐานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

ด้านกระบวนการจัดการบริหารและการจัดการหลักสูตรโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล) จัดการเรียนการสอนเป็น ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2- 3 ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน รวมห้องเรียนปฐมวัย 2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 68 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีจำนวนนักเรียน 29 คน ชั้นอนุบาลปีที่ มีจำนวนนักเรียน 39 คน โดยเน้นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น จากโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามแนวทางหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช2560 และมีการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560   

ด้านการจัดครูให้เพียงพอต่อชั้นเรียนโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล) จัดครูผู้สอนชั้นปฐมวัยตรงตามวุฒิสอนประจำชั้นและจัดครูอัตราจ้างเป็นผู้ช่วยสอนและดูแลเด็กจึงมีครูผู้สอนอยู่ประจำห้องเรียนละ 2 คน ครูทั้ง 4 คนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครอง

ด้านส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล)ได้มีการพัฒนาคุณภาพครูปฐมวัยอย่างต่อเนื่องตามโครงการพัฒนาบุคลากรส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ พัฒนาทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล พัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางนวัตกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดและพัฒนาจากหน่วยงานต้นสังกัด และการพัฒนาตนเองโดยระบบออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง

การให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล) มีโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ปฐมวัย โครงการพัฒนาอาคารสถานที่ โครงการจัดหาและบริการสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกการจัดการเรียนรู้ สำหรับเด็กและครูใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่ออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ สนับสนุนการทำงานของครู ให้สามารถจัดประสบการณ์พัฒนาเด็กอย่างเพียงพอและทั่วถึงมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียนส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม ห้องเรียนปฐมวัยมีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมปรับเปลี่ยนการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อความสะดวกในการใช้จัดกิจกรรมและคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ

มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โรงเรียนได้เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัย ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย การพัฒนาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการประเมินผล ตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน  

ด้วยกระบวนการจัดการบริหารและการจัดการ ด้านหลักสูตร ด้านระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ด้านการจัดบุคลากรครูให้เพียงพอต่อชั้นเรียน การให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ การจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล) จึงมีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน โรงเรียนมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปีมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางโครงการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา  

การพัฒนามารตฐานด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

โรงเรียนบ้านคลองน้ำใสเน้นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา ให้เด็กมีความพร้อม และพัฒนาเต็มตามศักยภาพของเด็ก โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งเสริมด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดยเริ่มจากการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร การวิเคราะห์หลักสูตร และจัดทำกำหนดการสอน กำหนดหน่วยการจัดประสบการณ์ การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างมีจุดมุ่งหมายและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น เพื่อพัฒนาเด็ก มีความสามารถในการคิดและรู้จักการแก้ปัญหา ส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ โดยการทำกิจกรรมต่างๆ ตามแนวทางการใช้นวัตกรรมและทฤษฏีการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนปฐมวัยได้ศึกษาอบรมเพิ่มเติม  จากการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัย (3 - 5 ปี) อย่างมีคุณภาพด้วยการจัดประสบการณ์เรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสะเต็มศึกษา ในระดับปฐมวัยโครงการห้องเรียนไฮสโคป ซึ่ง หน่วยงานต้นสังกัด สพป.จบ.1. ให้การสนับสนุนและส่งเสริม ทำให้ครูผู้สอนปฐมวัยสามารถออกแบบจัดการเรียนรู้ให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการวางแผน การตั้งคำถามในสิ่งที่สนใจคิดออกแบบวิธีการแสวงหาความรู้ ด้วยการทำกิจกรรมการทดลองอย่างง่าย ฝึกทักษะ การสังเกต ฝึกการความคิดอย่างสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว สามารถตั้งคำถาม และกล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบในสิ่งที่สนใจอยากรู้  ส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้และฝึกทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากการทำกิจกรรมการเรียนรู้ประจำวัน ด้วยการฟังพูด อ่านหนังสือภาพ อ่านคำจากภาพ และการเล่าเรื่อง การฝึกทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ และทักษะพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ตลอดปีการศึกษา

 ครูผู้สอนปฐมวัยได้นำหลักการและแนวทางที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่เด็ก ได้พยายามจัดสภาพแวดล้อมห้องเรียนให้มีบรรยากาศที่ดี  กว้างขวางพอเหมาะ มีมุมประสบการณ์ต่างๆ เช่น  มุมหนังสือ  มุมบ้าน มุมบล๊อก มุมเครื่องเล่นฝึกประสาทสัมผัส มุมดนตรี เป็นต้น มีการตกแต่งสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียนให้ สะดวก สะอาด ปลอดภัย  ห้องเรียนมีบรรยากาศดีน่าอยู่น่าเรียน  และจัดหาสื่ออุปกรณ์ สื่อเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการการเรียนรู้  การบริหารจัดการชั้นเรียนที่คำนึงถึงความแตกต่างของเด็ก เน้นการสร้างวินัยเชิงบวก และการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยใช้เครื่องมือวัดและประเมินพัฒนาการที่หลากหลาย ตามสภาพจริงระหว่างการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการจัดกิจวัตรประจำวัน  ใช้การประเมินผลพัฒนาการแต่ละด้านด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถาม การสำรวจ โดยการประเมินผลพัฒนาการเด็กในสภาวะปกติ ระหว่างการทำกิจกรรมประจำวันต่างๆที่เด็กปฎิบัติ เพื่อนำผลมาพัฒนาใช้ส่งเสริม พัฒนาการเรียนรู้  ปรับปรุงพฤติกรรม ช่วยเหลือเด็กร่วมกับผู้ปกครอง ครูได้ปฏิบัติงานด้านการศึกษาวิจัย พัฒนาการจัดการเรียนรู้ภายในชั้นเรียนของตนเองตามบทบาทตามหน้าที่


ผลการดำเนินงาน  

การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตร สอดคล้องกับปรัชญา หลักการ และธรรมชาติของการจัดการศึกษาปฐมวัย มุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการเด็กในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา  บนพื้นฐานการคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม  ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริง การเล่นอย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน  เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560  ดังนี้ 

ด้านร่างกาย เด็กพัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว เหมาะสมร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก 

ด้านสังคม เด็กสามารถปรับตัวได้ดีในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันมีน้ำใจ มีความรับผิดชอบต่อสังคม เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่

ด้านสติปัญญา มีความคิดรวบยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายบุคคลและรายกลุ่ม มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆด้านให้เหมาะสมกับวัย

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนสร้างเสริมความสนใจ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนให้แก่เด็ก มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความรักความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้เด็กรักการมาโรงเรียน และโรงเรียนได้จัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ โดยส่งเสริมปลูกฝังด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้เด็กเรียนรู้ร่วมกันในชั้นเรียนอย่างมีระเบียบวินัย รู้จักหน้าที่ของตนเอง  รู้จักแสวงหาความรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  โดยครูได้นำผลการประเมินการจัดการเรียนรู้และผลการพัฒนาเด็กมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของเด็ก   รวมทั้งพัฒนาวิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียน

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล) ระดับปฐมวัยในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเลิศ โดยมี กระบวนการพัฒนาและผลการดำเนินงานที่สำคัญดังนี้

โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล)มีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่มี ความยืดหยุ่น เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 เน้นรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา มีความสามารถในการคิดและรู้จักการแก้ปัญหา สามารถตัดสินใจเรื่องง่ายๆได้ส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ โดยการทำกิจกรรมต่างๆจากการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัย (3 - 5 ปี) อย่างมีคุณภาพด้วยการจัดประสบการณ์เรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสะเต็มศึกษา ในระดับปฐมวัยโครงการห้องเรียนไฮสโคป ซึ่ง หน่วยงานต้นสังกัด สพป.จบ.1. ให้การสนับสนุนและส่งเสริม ทำให้ครูผู้สอนปฐมวัยสามารถออกแบบจัดการเรียนรู้ให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการวางแผน การตั้งคำถามในสิ่งที่สนใจคิดออกแบบวิธีการแสวงหาความรู้ ด้วยการทำกิจกรรมการทดลองอย่างง่าย ฝึกทักษะ การสังเกต การความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากการทำกิจกรรมการเรียนรู้ประจำวันตลอดปีการศึกษา โดยโรงเรียนมีครูปฐมวัยตรงตามวุฒิสอนประจำชั้นและจัดครูอัตราจ้างดูแลเด็ก มีครูผู้สอนสอนประจำห้องเรียนละ 2 คน ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครอง โรงเรียนพัฒนาคุณภาพครูปฐมวัยอย่างต่อเนื่องตามโครงการพัฒนาบุคลากรส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางนวัตกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดและพัฒนาจากหน่วยงานต้นสังกัด และการพัฒนาตนเองโดยระบบออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งโรงเรียนได้ส่งเสริมให้มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กอย่างปลอดภัยและเพียงพอ จัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็ก มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างสะดวกปลอดภัย มีความสุข ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม มีสื่อ เทคโนโลยีใช้ในการสืบค้นเสาะหาความรู้ จากโครงการพัฒนาสื่อนวัตกรรม พัฒนาแหล่งเรียนรู้ปฐมวัยเพื่อสนับสนุนการให้บริการสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้บริการด้าน สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์อย่างเพียงพอและทั่วถึง และโรงเรียนได้เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัย ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย การพัฒนาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการประเมินผล ตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส(บุญประชานุกูล) จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้อย่างมีคุณภาพ ครบทั้ง4ด้าน เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ได้รับการพัฒนาการด้านสังคม และด้านสติปัญญา เด็กมีสุขภาพร่างกายที่ดี มีปรับตัวในการมาโรงเรียนและเรียนรู้อย่างมีความสุข รู้จักควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสม เด็กรู้จักอดทน รอคอย มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี กล้าพูดและกล้าแสดงออกมากขึ้น สามารถ ช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน และทำกิจกรรมกรรมต่างๆ ร่วมกับเพื่อนและครูได้ดี มีวินัยในตัวเอง รู้จักการประหยัดและพอเพียง มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยและการปฎิบัติตนตามวัฒนธรรมไทย มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีน้ำใจในการอยู่ร่วมกัน ไม่ใช้ความรุนแรงตัดสินปัญหา เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

โรงเรียนจัดระบบการบริหารจัดการแบบเน้นการมีส่วนร่วมผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมของโรงเรียน ร่วมกำหนดแนวทางแก้ปัญหา พัฒนา และส่งเสริมเด็กร่วมกันระหว่างบ้าน โรงเรียน และชุมชนอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ เพื่อใช้ในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและประเทศชาติ

ครูผู้สอนระดับปฐมวัยได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนมีครูปฐมวัยพอเพียง ครูได้รับการพัฒนาแนวทางการจัดประสบการณ์ เข้ารับการอบรมจากหน่วยการต้นสังกัดและเข้ารับการอบรมผ่านระบบออนไลน์ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย โรงเรียนติดตามผลการนำแนวทางนวัตกรรมใหม่ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ไปใช้และมีการติดตามผลที่เกิดกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 
 2.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

            โรงเรียนมีการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร ฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะในการอ่านการเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ สามารถคิดจำแนกแยกแยะ คิดวิเคราะห์แก้ปัญหาได้ ฝึกให้ผู้เรียนมีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลได้ด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีมอย่างสร้างสรรค์และมีคุณธรรม มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ฝึกทำโครงงานสร้างสิ่งประดิษฐ์ ผลผลิตต่างๆ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความรู้ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ มีกิจกรรมเข้าค่ายทักษะกระบวนการการคิด กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ กิจกรรมห้องสมุด นักเรียนเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ  ทุกระดับชั้นมีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ ตรงตามเป้าหมายของโรงเรียน มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แก้ปัญหาได้เหมาะสมตามระดับชั้น ค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน เชื่อมโยงองค์ความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลผลิตใหม่ ๆ ผ่านการทําโครงงาน/ชิ้นงาน และมีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ สื่อสารอย่างปลอดภัยและรู้เท่าทัน รับผิดชอบและมีจริยธรรม รวมทั้งมีทักษะในงานอาชีพที่ตนเองสนใจ 

 

ผลการดำเนินงาน  

โรงเรียนมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่น จัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1 เฉลี่ยร้อยละ72.65 ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์(NT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3เฉลี่ยร้อยละ 45.44 ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีผลการเรียนในทุกรายวิชาอยู่ในระดับ 2 ขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 89.94

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/1_yTORCHC5u7v9Pb13O9zV9EdsKDG_h-Q/view?usp=sharing https://drive.google.com/file/d/196Jn9drJaUqRSa6Ahi4VE-Ah4jozR0Qn/view?usp=sharing
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

มีการจัดกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึก มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย มีสุขภาวะทางร่างกายและจิตใจ โดยมีกิจกรรมวันสำคัญ การเข้าค่ายธรรมะ กิจกรรมจูงน้องเข้าวัด และกิจกรรมพระอบรมคุณธรรมจริยธรรมทุกวันศุกร์ ฝึกการมีมารยาทต่างๆ ปลูกฝังการมีจิตสาธารณะ เน้นให้ผู้เรียนมีวินัย ซื่อสัตย์ รู้หน้าที่มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงออก กล้าคิดกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องโดยใช้กระบวนการประชาธิปไตยในโรงเรียน ส่งเสริมการออกกำลังกาย มีชุมนุมกีฬาต่างๆตามความสนใจ มีกิจกรรมกีฬาสี มีภูมิปัญญาท้องถิ่นมาให้ความรู้และฝึกกิจกรรมด้านทักษะอาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ผลการดำเนินงาน  

ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับดีขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 82.22

ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ผู้เรียนมีการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ระดับดีขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 65.00

ผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ผ่านระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 100

ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 ด้าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ด้านความสามารถในการสื่อสารผ่านระดับดีขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 81.67 ด้านความสามารถในการคิดระดับดีขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 73.55 ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาระดับดีขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 76.11 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตระดับดีขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 81.12 ด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เฉลี่ยร้อยละ 82.77

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/196Jn9drJaUqRSa6Ahi4VE-Ah4jozR0Qn/view?usp=sharing https://drive.google.com/file/d/1_yTORCHC5u7v9Pb13O9zV9EdsKDG_h-Q/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  
กระบวนการพัฒนา
สถานศึกษาได้กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น จัดทำแผนพัฒนาการศึกษา มีการประชุมระดมความคิดเห็น วิเคราะห์สภาพปัญหาภายในภายนอก การจัดการศึกษาโดยใช้ข้อมูลจากสารสนเทศ นิเทศติดตามผลและประเมินผล เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของโรงเรียน มีการบริหารอัตรากำลังอย่างชัดเจน ส่งเสริมบุคลากรทางการศึกษาได้พัฒนาตนเอง ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพโดยทุกคนต้องได้รับการอบรมอย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อปี ตลอดจนระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยความร่วมมือแบบภาคีเครือข่าย โรงเรียนจัดทำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นระบบต่อเนื่อง มีระบบการส่งต่อที่เป็นระบบ มีการนิเทศภายในและประชุมวิชาการเดือนละครั้ง มีการพัฒนาวิชาการปรับหลักสูตร พัฒนาครูบุคลากร มีการจัดสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่นปลอดภัย แหล่งสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

ผลการดำเนินงาน  

1. โรงเรียนกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้ สอดคล้องกับบริบทโรงเรียน ความต้องการของชุมชนและนโยบายรัฐบาลแผนการศึกษาชาติ จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี

2. โรงเรียนได้จัดระบบบริหารจัดการคุณภาพที่ชัดเจนเป็นระบบ

3. โรงเรียนได้พัฒนางานวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายตามหลักสูตรสถานศึกษา

4.มีการพัฒนาครูและบุคลากรอยู่เสมอ ครูทุกคนเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง

5. จัดสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น ปลอดภัย มีแหล่งสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตอย่างเพียงพอ 6. มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/196Jn9drJaUqRSa6Ahi4VE-Ah4jozR0Qn/view?usp=sharing
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา  

ครูจัดทำแผนการสอนการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริงโดยใช้กระบวนการ Active Learning ตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการแสดงออกสามารถสรุปองค์ความรู้ การนำเสนอผลงานและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสาระที่สอน สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนดทำข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อนำไปแก้ปัญหาและพัฒนาโดยใช้วิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันโดยใช้กระบวนการ มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง มีแผนการจัดการเรียนรู้ ที่พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย เช่น การสอนโดยใช้โครงงาน แบบเพื่อนช่วยเพื่อน แบบพี่สอนน้อง การใช้กระบวนการกลุ่ม การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ครูใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างความตระหนักให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาในท้องถิ่น การบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ตรวจสอบและประเมินผลผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีแผนการวัดผลและประเมินผลและนําผลการเรียนรู้มาวิเคราะห์และพัฒนาให้ผู้เรียนบรรลุผลตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองและสังคม สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง ใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเอง มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการตรวจสอบและประเมินผลผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีแผนการวัดผลและประเมินผลอย่างชัดเจน มีการกําหนดสัดส่วนคะแนนและจํานวนชิ้นงานตามหน่วยการเรียนรู้ นําผลการเรียนรู้มาวิเคราะห์ และพัฒนาให้ผู้เรียนบรรลุผลตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร


 


ผลการดำเนินงาน  

 

ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาได้ มีความกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิด ใช้สื่อเทคโนโลยีในทางที่ถูกต้อง มีทักษะชีวิตที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้จริง
สามารถจัดกิจกรรมได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง มีการประสานงานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/196Jn9drJaUqRSa6Ahi4VE-Ah4jozR0Qn/view?usp=sharing
ภาพรวมของสถานศึกษา
มีคุณภาพระดับ  4
กระบวนการพัฒนา
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 
           สถานศึกษาได้กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น จัดทำแผนพัฒนาการศึกษา มีการประชุมระดมความคิดเห็น วิเคราะห์สภาพปัญหาภายในภายนอก การจัดการศึกษาโดยใช้ข้อมูลจากสารสนเทศ นิเทศติดตามผลและประเมินผล เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของโรงเรียน มีการบริหารอัตรากำลังอย่างชัดเจน ส่งเสริมบุคลากรทางการศึกษาได้พัฒนาตนเอง ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพโดยทุกคนต้องได้รับการอบรมอย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อปี ตลอดจนระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยความร่วมมือแบบภาคีเครือข่าย โรงเรียนจัดทำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นระบบต่อเนื่อง มีระบบการส่งต่อที่เป็นระบบ  มีการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร ฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะในการอ่านการเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ สามารถคิดจำแนกแยกแยะ คิดวิเคราะห์แก้ปัญหาได้ ฝึกให้ผู้เรียนมีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลได้ด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีมอย่างสร้างสรรค์และมีคุณธรรม มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ฝึกทำโครงงานสร้างสิ่งประดิษฐ์ ผลผลิตต่างๆ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความรู้ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ มีการจัดกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึก มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทยกล้าแสดงออก กล้าคิดกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องโดยใช้กระบวนการประชาธิปไตยในโรงเรียน ส่งเสริมการออกกำลังกาย  ครูจัดทำแผนการสอนการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริงโดยใช้กระบวนการ Active Learning ตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการแสดงออกสามารถสรุปองค์ความรู้ การนำเสนอผลงานและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสาระที่สอน สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย

ผลการดำเนินงาน
(ควรนำเสนอจุดเด่นของแต่ละมาตรฐานที่ส่งผลต่อภาพรวม)
 

 

        โรงเรียนจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม มีการรวมกลุ่มการระดมความคิดโดยใช้กระบวนการ PLC เพื่อให้ทุกฝ่ายได้แสดงความคิดเห็น มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่ชัดเจนสอดคล้องกับนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ครูผู้สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการนิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผลและจัดทำรายงานผล นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ตามข้อกำหนด มีทักษะการใช้ชีวิตและมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีได้ดี มีทักษะในการอ่านการเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ สามารถคิดจำแนกแยกแยะ คิดวิเคราะห์แก้ปัญหาได้ ครูสามารถจัดกิจกรรมได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง มีการประสานงานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้  บุคลากรทางการศึกษาได้พัฒนาตนเอง ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

 

ระบุร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(แนบลิงค์)
 https://drive.google.com/file/d/196Jn9drJaUqRSa6Ahi4VE-Ah4jozR0Qn/view?usp=sharing
 2.3 ภาคผนวก
 https://drive.google.com/file/d/1k8G-YVZ5Jtv2V3vhdNhEbE7YS-XxzZ_6/view?usp=sharing