แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลน บ้านเสม็ดงาม
โรงเรียนวัดหนองบัว
1.ประเภทแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ
แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น
แหล่งเรียนรู้ทางประว้ติศาสตร์
บุคคล (ผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ความสามารถ คุณธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น)
อื่น ๆ ระบุ
รูปภาพแสดงกิจกรรมการใช้แหล่งเรียนรู้

พิกัดแหล่งเรียนรู้
2. วัตถุประสงค์/องค์ความรู้
- เพื่อให้นักเรียนตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ และมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าชายเลน
- เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชน การใช้ประโยชน์ และการสร้างอาชีพจากทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น
- เพื่อให้นักเรียนเข้าใจประวัติความเป็นมาของชาติ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
3. รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้
- การรับฟังการบรรยายจากวิทยากร
- การเข้าร่วมกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้
4. กิจกรรมหรือวิธีการที่ใช้
- การสำรวจ เรียนรู้ และลงมือปฏิบัติจริงตามฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ
- สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาแหล่งเรียนรู้
5. วิธีการวัดผลและรวบรวมข้อมูล
- การสังเกต/สอบถาม
- การจดบันทึก และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ
- การนำเสนอผังความคิดสรุปองค์ความรู้ที่ได้
6. สาระการเรียนรู้
รายวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
รายวิชา สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
- สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
รายวิชา การงานอาชีพ
- สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
- สาระที่ 4 การอาชีพ
7. มาตรฐานการเรียนรู้
- ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
- ว 1.3 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมสารพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตความหลากหลายทางชีวภาพและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
- ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
- ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจ และธำรงความเป็นไทย
- ง 1.1 เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
- ง 4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยี
เพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
8. ตัวชี้วัด
- ว 1.2 ม.1/7 อธิบายความสำคัญของการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
- ว 1.2 ม.1/8 ตระหนักในคุณค่าของพืชที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยการร่วมกันปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ในโรงเรียนและชุมชน
- ว 1.3 ม.3/10 อธิบายความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพที่มีต่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและต่อมนุษย์
- ว 1.3 ม.3/11 แสดงความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ
- ส 3.1 ม.1/3 อธิบายความเป็นมา หลักการและความสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย
- ส 3.1 ม.2/3 เสนอแนวทางการพัฒนาการผลิตในท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- ส 3.1 ม.3/2 มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- ส 4.3 ม.2/3 ระบุภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยาและธนบุรี และอิทธิพลของภูมิปัญญาดังกล่าว ต่อการพัฒนาชาติไทยในยุคต่อมา
- ง 1.1 ม.1/1 วิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานตามกระบวนการทำงาน
- ง 1.1 ม.2/1 ใช้ทักษะการแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาการทำงาน
- ง 1.1 ม.3/3 อภิปรายการทำงานโดยใช้ทักษะการจัดการ เพื่อการประหยัดพลังงานทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
- ง 4.1 ม.1/2 มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ
- ง 4.1 ม.1/3 เห็นความสำคัญของการสร้างอาชีพ
- ง 4.1 ม.2/3 มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพที่สนใจ
9. องค์ความรู้
ป่าชายเลน เป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญ นอกจากจะเป็นองค์ประกอบในการรักษาสมดุลของธรรมชาติชายฝั่งทะเลแล้ว ยังมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ด้วย ในพื้นที่ป่าชายเลน มีพันธุ์พืชมากกว่า 80 ชนิดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และยังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ ทำให้ป่าชายเลนได้รับการขนานนามว่า เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตที่สำคัญของประมงชายฝั่ง สร้างอาชีพและรายได้ให้ชุมชน

ป่าชายเลน นับว่าเป็นบ้านหลังใหญ่ของสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งหรือในทะเล และยังเป็นแหล่งอาหารสำคัญของคนในชุมชนด้วย เรียกว่าเป็นพื้นที่ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ซึ่งในสภาวะโลกร้อนที่มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทนนั้น ป่าชายเลนจะสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงกว่าป่าบก 4-6 เท่า ดังนั้น การมีส่วนร่วมในการดำเนินการฟื้นฟูป่าชายเลน จึงเป็นทางออกหนึ่งของการรักษาทรัพยากรธรรมชาติของป่าชายเลนที่มีอยู่ให้ยั่งยืนสืบต่อไป
10. ใช้กับระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3
https://www.youtube.com/watch?v=WgSsCIneyTA
เอกสารหลักสูตร
วีดีโอการใช้แหล่งเรียนรู้
https://www.thaieducation.net/v/Jisu4C7Czq

ข้อมูลสถิติ

การเปิดดูข้อมูล   100 ครั้ง
บทเรียนออนไลน์   มี
จำนวนผู้เข้าใช้บทเรียน   200 คน
คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย   4.50

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
Powered By www.chan1.net